svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

วิบากกรรมจำนำข้าว อายัดทรัพย์ "ยิ่งลักษณ์"

22 สิงหาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผลพวงจากโครงการจำนำข้าว ใช่ว่า จะมีแต่ข้อกล่าวหาทางอาญาเท่านั้น แต่ "อดีตนายกฯหญิง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ต้องรับมือกับคำสั่งทางปกครองของกระทรวงการคลัง ที่ให้กรมบังคับคดี เริ่มมาตรการยึดอายัดทรัพย์ เพื่อนำมาชดใช้ความเสียหาย จากโครงการรับจำนำข้าว

หลังจากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด มีมติว่า "อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์"จงใจกระทำละเมิด เป็นผลให้กระทรวงการคลัง ได้รับความเสียหายจากการโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 และปี 2556/57 เป็นเงินกว่า1 แสน 7 หมื่น 8 พัน 5 ร้อยล้านบาทจึงให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 20 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นเงิน 35,717.27 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
เป็นอีกคดีที่ "อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์"ต้องต่อสู้ ทุกกระบวนการขั้นตอน ตั้งแต่ ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โต้แย้งคำสั่งกระทรวงการคลัง ยกเหตุผลความรับผิดชอบทางการเมือง ที่ต้องดำเนินนโยบายจำนำข้าว ตามที่แถลงไว้ต่อสภาฯ รวมถึง การโต้แย้ง ว่า หลักปฏิบัติ เมื่อคดีอาญา เรื่อง การปล่อยปละละเลยไม่ยับยั้งโครงการจำนำข้าว ยังไม่ถึงที่สุด กระบวนการชดใช้ค่าเสียหาย ยังทำไม่ได้ แต่ข้อโต้แย้ง "อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์" ไม่เป็นผล
เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา แต่เมื่อรู้ตัว ว่า กระทรวงคลังในฐานะเจ้าหนี้ เแจ้งแหล่งทรัพย์สิน ให้กรมบังคับคดี อายัดบัญชีเงินฝากในธนาคาร 7 บัญชี ไม่ให้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน และจะไม่สามารถใช้เงินในบัญชีได้ อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ จึงยื่นคำขอทุเลาต่อศาลปกครองกลาง เมื่อ 19 ก.ค.
คดีจำนำข้าว คือ ต้นทางของการถูกอายัดทรัพย์ แต่หาก 25 สิงหาคมนี้ ศาลฎีกาคดีอาญานักการเมือง เกิดพิพากษายกฟ้อง ข้อหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ก็ยังไม่ใช่ การการันตี ว่า คดีทางปกครอง ซึ่งเป็นคดีทางแพ่ง และการยึด- อายัดทรัพย์ จะต้องยุติลง หากเหตุผล ที่ศาลพิจารณายกฟ้อง มีความเกี่ยวข้องกับคดีปกครองศาลปกครอง ก็อาจยกมาพิจารณาได้
แต่โดยหลัก คดีอาญากับคดีทางแพ่งเป็นคนละเรื่องกัน คดีอาญาเป็นเรื่องของเจตนา ถ้าศาลยกฟ้อง เพราะเห็นว่า อดีตนายกฯ ไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ แต่คดีทางปกครองหรือคดีแพ่ง ในการยึด-อายัดทรัพย์ ยังดำเนินการต่อ หากความเสียหาย เกิดจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

logoline