svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จับตา 4 เงื่อนไขกระทบตลาดการเงินโลก เมื่อปูตินพร้อมเผชิญหน้าทรัมป์

31 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จับตา 4 เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางการเงินกระทบตลาดการเงินโลกนับจากนี้ไป เมื่อปูตินเผชิญหน้าทรัมป์ประกาศขับไล่เจ้าหน้าที่ด้านการทูตของสหรัฐในรัสเซียจำนวนกว่า 60% ให้ลดลง 755 คนจากจำนวนที่มีมากกว่า 1,200 คน ถือเป็นมาตรการตอบโต้ทันควันจากฝ่ายรัสเซีย หลังคองเกรสสหรัฐโหวตผ่านกฎหมายคว่ำบาตรรัสเซียฉบับใหม่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันว่าจะลงนามในกฎหมายคว่ำบาตรรัสเซียฉบับใหม่นี้ ทำให้ความพยายามฟื้นฟูสัมพันธ์กับรัสเซียกำลังจะจบลงเช่นกัน

ขณะที่ตลาดก็จับตาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปิดฉากสิ้นสุดความสัมพันธ์ 3 ฝ่ายระหว่างโอเปก สหรัฐ และรัสเซีย ในความร่วมมือกันลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีขึ้นมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2016 จะส่งผลต่อทิศทางราคาน้ำมันโลกจากนี้ไปอย่างไร โดยล่าสุดราคาน้ำมัน WTI ยืนเฉียด 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ประเด็นต่อมาต้องจับตาที่ทิศทางของเงินรูเบิลและการรับมมือผลกระทบต่อฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางรัสเซีย การเคลื่อนไหวของราคาทอง ที่มีการเคลื่อนไหวล่าสุดที่ 1,270 ดอลลาร์ต่อออยซ์ และท้ายที่สุดทางการรัสเซียเตรียมรับมือก่อนหน้านี้ หันไปนำร่องทดสอบการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของประเทศในการซื้อขายด้วยสกุลเงินดิจิตัลผ่านช่องทางในระบบของ Blockchain

1.ตลาดและนักวิเคราะห์เริ่มมีการจับตาถึง 4 ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางการเงินโลกที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ประเด็นแรกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปิดฉากสิ้นสุดความสัมพันธ์ 3 ฝ่ายระหว่างโอเปก สหรัฐในยุคของทรัมป์และรัสเซีย ในความร่วมมือกันลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีขึ้นมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2016 จะส่งผลต่อทิศทางราคาน้ำมันโลกจากนี้ไปอย่างไร
โดยที่ความร่วมมือเงกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันขึ้นไปเคลื่อนไหวในระดับ 50-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงต้น ก่อนที่จะชะลอลงเล็กน้อยยืนทรงตัวเหนือระดับ 40 ดอลลาร์ ขณะที่ล่าสุดผลกระทบจากการเตรียมประกาศมาตรการคว่ำบาตรการค้าน้ำมันจากเวเนซูเอลาของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ดันให้ราคานมันในตลาดโลกพุ่งขึ้นโดยที่ WTI ปรับตัวยืนใกล้เคียงระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้ง

2.ประเด็นต่อมาต้องจับตาทิศทางของเงินรูเบิลและการรับมมือผลกระทบต่อฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางรัสเซีย การเคลื่อนไหวของราคาทองหลังจากตลอดช่วงที่ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเงินตั้งแต่ปี 2010 ในสมัยของประธานาธิบดีบารัก โอบามา สืบเนื่องจากกรณีขัดแย้งในวิดฤติแคว้นไครเมียร์ทางตะวันออกของยูเครน ที่ทำให้รัสเซียเผชิญกับวิกฤติเงินรูเบิลตกต่ำลงอย่างหนัก จนทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของรัสเซียถูกกดดันอย่างหนักโดยลดลงอย่างรุนแรงจาก 6 แสนล้านดอลลาร์ในกลางปี 2008 มาอยู่ที่ระดับต่ำสุดที่ 3.8 แสนล้านดอลลาร์ช่วงต้นปี 2009
ก่อนที่ธนาคารกางรัสเซีจะพยายามสร้างเสถียรภาพเงินรูเบิลจนส่งผลให้ทุนสำรองฟื้นกลับที่ 5 แสนล้านดอลลารฺในปี 2011 และไต่ขึ้นมาที่ 5.45 แสนล้านดอลลาร์อีกครั้งในปี 2014 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ดิ่งลงถึง 100% ทำให้ทุนสำรองรัสเซียดิ่งฮวบที่ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ในกลางปี 2015 แต่ล่าสุดยืนอยู่ที่ 4.2 แสนล้านดอลลาร์
แต่ขณะเดียวกันกลับส่งผลให้ทางการรัสเซียมีการสะสมทองคำมากขึ้นที่ระดับ 17% ของจีดีพีรัสเซีย นับว่าเป็นสัดส่วนที่มากกว่าสหรัฐที่มีสำรองทองคำที่ 5.6% ของจีดีพี ถึง 3 เท่าตัว โดยที่ธนาคารกลางรัสเซียไม่เคยขายทองคำออกมาเลย เป็นประเด็นที่สาม ทั้งนี้ราคาทองซื้อขายแถวระดับ 1,270 ดอลลาร์ต่อออนซ์ล่าสุด
ประเด็นท้ายที่สุดทางการรัสเซียเตรียมรับมือก่อนหน้านี้ หันไปนำร่องทดสอบการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของประเทศในการซื้อขายด้วยสกุลเงินดิจิตัลผ่านช่องทางในระบบของ Blockchain โดยอ้างอิงเงินดิจิตัลที่จะเกิดขึ้นมาใหม่นี้ กับปริมาณาการค้าน้ำมันของบริษัทรอสเนฟต์ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทางการรัสเซียเป็นเจ้าของ

3.ทั้งนี้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศว่า รัสเซียจะลดจำนวนเจ้าหน้าที่ด้านการทูตของสหรัฐที่ประจำการอยู่ในรัสเซียลง 755 คน ให้เหลือเพียง 455 คน เพื่อให้มีจำนวนเท่ากับเจ้าหน้าที่ด้านการทูตของรัสเซียที่ประจำการอยู่ในสหรัฐ ซึ่งการปรับลดลงดังกล่าวเป็นสัดส่วนถึง 60% จากจำนวนที่มีมากกว่า 1,200 คน
โดยถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของรัสเซีย ซึ่งประธานาธิบดีปูตินได้ประณามรัฐบาลสหรัฐที่ยกระดับการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย พร้อมประกาศว่าถึงเวลาแล้วที่รัสเซียจะไม่ปล่อยให้เรื่องต่างๆ ผ่านไปโดยไม่มีคำตอบ จากที่รอยคอยด้วยความคาดหวังว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่กลับดูเหมือนว่าสถานการณ์ในอนาคตจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
โดยที่ฝ่ายประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันว่าจะลงนามในกฎหมายคว่ำบาตรรัสเซียฉบับใหม่นี้ ทำให้ความพยายามฟื้นฟูสัมพันธ์กับรัสเซียกำลังจะจบลงเช่นกัน หลังจากเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา วุฒิสภาสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 98 ต่อ 2 ผ่านร่างกฎหมายการคว่ำบาตรในระดับที่รุนแรงขึ้นต่อรัสเซีย ซึ่งมีเป้าหมายที่เจ้าหน้าที่รัสเซียที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีที่แล้ว
ซึ่งทำเนียบขาวออกมาระบุว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ได้อ่านร่างกฎหมายเบื้องต้น และมีการเจรจาต่อรองในส่วนที่มีความสำคัญ ขณะนี้กำลังมีการพิจารณาร่างสุดท้าย ซึ่งตะมัการแสดงความเห็นชอบว่าจะลงนามในร่างกฎหมายนี้ให้ใช้บังคับต่อไป ซึ่งจะทำการคว่ำบาตรต่ออิหร่านและเกาหลีเหนือต่อกรณีพัฒนาระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์

4.สัญญาณราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้นเช้าวันจันทร์นี้ หลังจากที่คณะทำงานของประธานาธิบดีทรัมป์ กำลังพิจารณาเรื่องการคว่ำบาตรอุตสาหกรรมน้ำมันของเวเนซุเอลา เพื่อตอบโต้รัฐบาลเวเนซุเอลาภายใต้การนำของนิโคลัส มาดูโร ที่เดินหน้าจัดการเลือกตั้งสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการชุมนุมประท้วงของชาวเวเนซูลาที่มีต่อเนื่องมานาน 3 เดือน ส่งผลเป็นความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 100 คน
ทั้งนี้ คาดว่าทางการสหรัฐจะประกาศคว่ำบาตรอุตสาหกรรมน้ำมันของเวเนซุเอลา ซึ่งจะรวมถึงการระงับนำเข้าน้ำมันจากเวเนซุเอลาโดยที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 0.3% แตะที่ 49.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

5.ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดของมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐกำลังเตรียมการที่มีดำเนินการทั้งต่อรัสเซียที่จะกระทบทางเศรษฐกิจของยุโรปในกรื่องการวางท่อส่งก๊าซจากรัสเซียสู่ยุโรป ซึ่งยุโรปออกมาแสดงการคัดค้านว่าเป็นการทำให้ความมั่นคงด้านการใช้พลังงานของยุโรปถูกสั่นคลอน รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรที่จะเกิดขึ้นกับเกาหลีเหนือที่กระทบไปยังจีน
แต่ผลกระทบทางตลาดการเงินกลับพบว่า เงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับวกุลหลักสำคัญ 10 สกุลของโลก โดยเฉพาะกับเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นมามากกว่า 12% นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานี้ โดยเงินยูโรแข็งค่าขึ้นไปแตะที่ 1.1760 ดอลลาร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรากฏว่ารายงานของ OECD ชี้ว่า ผลของค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขุเนทุก 10% จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิของยุโรป อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เบี่ยงเบนไปจากเดิม
โดย OECD พบเบื้องต้นว่า จีดีพีของกลุ่มยูโรโซนจะถูกกระทบเชิงลบตั้งแต่ในปีแรกโดยเติบโตลดลง 0.2% ปีที่สองลดลง 0.4% ปีที่สามลดลง 0.6% ปีที่สี่และปีที่ห้าลดลง 0.7% ต่อปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อก็จะลดลงเช่นเดียวกันในระดับที่เป็นเงินเฟ้อติดลบถึง 0.1% ในปีแรก ปีที่สองเงินเฟ้อติดลบ 0.2% และตั้งแต่ปีที่สามถึงปีที่ห้าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อติดลบอย่างต่อเนื่องถึง 0.3% ต่อปี

logoline