svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นักลงทุนตีความเชิงบวกถ้อยแถลงประธานเฟด หนุนดาวโจนส์พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

13 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักลงทุนกลับเข้าลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากตีความคำแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีของเจเน็ต เยลเลน ต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เป็นเชิงบวกที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยและการลดภาระในงบดุลอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ดาวโจนส์พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ปิดที่ 21,532 ขณะที่ประธานเฟดย้ำว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินตามเป้าหมายที่ประกาศไว้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยที่เฟดจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง และปรับลดงบดุลที่เป็นภาระอยู่สูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ ถึงแม้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ตราบใดที่เศรษฐกิจยังคงมีการขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้

โดยที่ประธานเฟดให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องในระดับปานกลาง ถึงแม้ว่า จะชะลอตัวในไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ระดับ 1.5% แต่จะปรับตัวดีขึ้นในเตรมาสสองนี้ เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโถคที่ปรับตัวสูงขึ้น 1.4% จากช่วง 12 เดือนก่อนในเดือนพฤษภาคม ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย 2% 
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐมีการปรับตัวขึ้นทั้ง 3 ตลาดเมื่อวันพุธ นำโดยดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 21,532.14 พุ่งขึ้น 123.07 จุด หรือ 0.57% ขณะ S&P500 ปิดที่ 2,443.25 เพิ่มขึ้น 0.73% และ Nasdaq ปิดที่ 6,261.17 เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 1.1% 
1."ถ้าคุณกระพริบตา คุณก็พลาดได้..." เรียกได้ว่าข้อความดังกล่าวนี้ ทำให้เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คือผู้ทรงอิทธิพลที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามากที่สุด ในระหว่างที่มีการแถลงนโยบายการเงินช่วงกลางปีของเฟดต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา
ทั้งนี้นักลงทุนได้กลับเข้าลงทุนในตลาดหุ้น โดยประเมินคำแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีของเจเน็ต เยลเลน ต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เป็นเชิงบวกที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยและการลดภาระในงบดุลอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ดาวโจนส์พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 21,532.14 พุ่งขึ้น 123.07 จุด หรือ 0.57% ขณะ S&P500 ปิดที่ 2,443.25 เพิ่มขึ้น 0.73% และ Nasdaq ปิดที่ 6,261.17 เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 1.1% 
 ขณะเดียวกันประธานเฟดย้ำว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินตามเป้าหมายที่ประกาศไว้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยที่เฟดจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง และปรับลดงบดุลที่เป็นภาระอยู่สูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ ถึงแม้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ตราบใดที่เศรษฐกิจยังคงมีการขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้
ประธานเฟดยังกล่าวถึงคำถามที่ว่า เหตุใดเฟดจึงยังคงมีความยึดมั่นในการปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติที่เรียกว่า Normalization แม้ว่าแรงกดดันจากราคาและค่าจ้างยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่เฟดได้ตระหนักถึงความอ่อนแอของข้อมูลเศรษฐกิจ และจะดำเนินการ หากมีความจำเป็น

2.ประธานเฟดให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องในระดับปานกลาง โดยย่นยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่อไปในช่วงหลายปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ถึงแม้ว่า จะชะลอตัวในไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ระดับ 1.5% แต่จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสองนี้ 
เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโถคที่ปรับตัวสูงขึ้น 1.4% จากช่วง 12 เดือนก่อนในเดือนพฤษภาคม ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ขณะที่อัตราการจ้างงานเข้าสู่ระบบมีจำนวน 180,000 คนต่อเดือนในปี 2016 จนส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาที่ระดับ 4.4% เมื่อเดือนพฤษภาคม นับเป็นความแข็งแกร่ง นับตั้งแต่ปี 2010 ที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 5.5% 

ประธานเฟดยืนยันว่าไม่ได้พิจารณาที่จะปรับเปลี่ยนเป้าหมายเงินเฟ้อซึ่งอยู่ที่ระดับ 2% โดยเฟดพร้อมที่จะใช้เครื่องมือทางการเงินทุกอย่างเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายในการขึ้นดอกเบี้ยและลดภาระในงบดุล แต่จะไม่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฟดอาจจะชะลอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ และแนวโน้มเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม เจเน็ต เยลเลน ไม่ได้ระบุแน่ชัดถึงกำหนดเวลาที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในปีนี้ หลังจากที่ปรับขึ้นไปแล้ว 2 ครั้งในเดือนมีนาคม และมิถุนายน มาอยู่ที่ระดับ 1.25%

3.      ประธานเฟดย้ำว่า เฟดยังคงจับตาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ แต่ก็ยังคงคาดว่า เฟดจะเริ่มทำการปรับลดงบดุลวงเงิน 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งการปรับลดงบดุลของเฟด จะส่งผลให้เฟดลดการถือครองพันธบัตร และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) จากที่ได้เข้าซื้อในตลาดการเงินสหรัฐในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ งบดุลของเฟดจะยังคงอยู่สูงกว่าระดับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินในปี 2008 ที่มีอยู่ 9 แสนล้านดอลลาร์ในขณะนั้น โดยที่เฟดมีแนวโน้มคงวงเงินในงบดุลตามเป้าหมายที่ 2-2.5 ล้านล้านดอลลาร์ 

4.ประธานเฟดยังระบุว่า หากเฟดสามารถดำเนินการลดงบดุลได้โดยเข้าสู่ภาวะที่เป็นปกติอย่างเห็นผลแล้ว เฟดอาจจะลดดอกเบี้ยระยะสั้น หรือ Fed Fund Rate ซึ่งเป็นเครื่องมือนโยบายการเงินหลัก แต่เฟดก็ยังคงเปิดกว้างต่อการใช้เครื่องมืออื่นๆ โดยเฟดจะทำการเพิ่มวงเงินในงบดุลอีกครั้งหนึ่ง โดยปลับเข้ามาลงทุนในการถือครองบินด์และตราสารการเงินต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง หากเศรษฐกิจประสบภาวะตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่เฟดดำเนินนโยบายการเงินเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ประกาศไว้นั้น เศรษฐกิจของสหรัฐอาจจะมีทั้งการปรับตัวดีขึ้นและการปรับตัวที่สดลง
ขณะที่นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญประจำเดือนมิถุนายนในสัปดาห์นี้ ทั้งตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยอดค้าปลีก ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมของมหาวิทยาลัยมิชิแกน

5.ท้ายที่สุด เจเน็ต เยลเลน กล่าวเตือนการดำเนินโยบายการคลังของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยสร้างความไม่แน่นอนในอนาคต เนื่องจากอาจะเกิดวิกฤติทางการคลังได้ หากการใช้งบประมาณและการปฏิรูปภาษี ส่งผลต่อการขาดดุลที่เพิ่มมากขึ้นและทำให้ต้องก่อหนี้มากขึ้น 
เนื่องจากในปี 2017 นี้ รัฐบาลสหรัฐมีการขาดดุลงบประมาณถึง 3% ของจีดีพี จากการใช้จ่ายที่เกินตัว หากไม่ระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินงบประมาณอาจจะขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 9.8% ของจีดีพีในปี 2047 รวมทั้งภาระหนี้ของรัฐบที่มีอยู่ 91% ในปัจจุบัน อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 150% จนถึงปี 2047 ในที่สุด

logoline