svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สนช.ผ่านร่าง พรบ.กรรมการการเลือกตั้ง

13 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้ จะมีความพยายามจาก กกต. ที่เสนอประเด็นโต้แย้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ///แต่ที่สุดแล้ว วันนี้ สนช.ก็ได้มีมติเห็นชอบกับร่างฉบับนี้ ทำให้ข้อโต้แย้งของ กกต.ตกไป ติดตาม จากคุณอนุพรรณ จันทนะ รายงานสด จากรัฐสภา

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลังมีการตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายขึ้นมาพิจารณาความเห็นต่าง ของ กกต. 6 ประเด็น
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลังจากคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย คือ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 5 คน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 1 คน และ สนช. 5 คน มีมติยืนยันว่า ร่าง พรป.กกต.ไม่ขัด หรือ แย้งต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ตามที่ กกต.มีข้อโต้แย้ง 6 ประเด็น โดยได้มีการนำร่าง พรป.ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม เพื่อพิจารณาว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งสมาชิก สนช. ได้เข้าประชุม 201 คน ลงมติ เห็นชอบ 194 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง และงดออกเสียง 7 เสียง
โดยการลงมติ หากเห็นชอบ ต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือ 126 เสียงขึ้นไป แต่หากคะแนนเสียงไม่เห็นชอบเกิน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ หรือ 167 คนขึ้นไป ก็จะมีผลให้ร่างนั้นตกไป
ส่วนขั้นตอนการพิจารณาในวันนี้ ประธาน กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย ได้สรุปรายงานการพิจารณา โดย กมธ.ร่วมไม่มีการแก้ไข ซึ่งยืนยันตามร่างเดิมที่ สนช.เคยให้ความเห็นชอบก่อนหน้านี้ พร้อมเปิดโอกาสให้ประธาน กกต.ที่สงวนความเห็น ได้ชี้แจงข้อโต้แย้ง 6 ประเด็นให้ที่ประชุม สนช.รับทราบ ก่อนที่จะลงมติ ซึ่งประธานกรรมาธิการ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ได้แถลงว่า ร่างพรป.กกต. ที่ประชุมเสียงข้างมาก เห็นว่า ตรงตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญแล้ว จึงไม่มีการแก้ไข
ขณะที่ ประธาน กกต. ศุภชัย สมเจริญ ในนามกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ก็ได้พยายามชี้แจงข้อโต้แย้งที่เห็นต่างใน 6 ประเด็น ที่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สำหรับ 6 ประเด็น ที่ กกต.เห็นว่า ร่างพ.ร.ป.กกต.มีบทบัญญัติที่ไม่ตรงกับรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 1. ที่กำหนดเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการสรรหา กกต. ซึ่งได้เขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด ที่ระบุว่า ให้คัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความเป็นกลาง ซื่อสัตย์สุจริต มีความเข้าใจในภารกิจของกกต. และไม่มีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใดๆ ซึ่งประเด็นนี้ รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนบัญญัติไว้ และรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุให้ดูคุณสมบัติของกฎหมายลูกประกอบด้วย
2. ที่กำหนดเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกกต.ที่ระบุว่า ไม่มีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ในอาณัติของพรรคการเมืองใดๆ รวมตลอดทั้งมีทัศคติที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลสำเร็จ ซึ่งบัญญัติเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด
3.ระบุอำนาจหน้าที่ของกกต.แต่ละคนในการสั่งระงับ เมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริตในบางหน่วย ให้เสนอต่อที่ประชุมกกต.เพื่อวินิจฉัย ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของ กกต.เพียงคนเดียว สามารถสั่งระงับยับยั้งหรือสั่งเลือกตั้งใหม่ได้เมื่อพบเหตุทุจริตเลือกตั้ง
4.ให้ กกต.เพียงควบคุมดูแลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้กกต. มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง
5. ที่บัญญัติให้ กกต.มอบอำนาจให้เลขาธิการ กกต.หรือ พนักงานของสำนักงาน มีอำนาจสืบสวนสอบสวน และไต่สวนได้ ซึ่งบัญญัติเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด ให้อำนาจกกต.สืบสวนสอบสวนได้เลย
6. ที่บัญญัติให้ กกต.ชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยกกต.เห็นว่า มาตราดังกล่าวขัดหลักนิติธรรมและนิติประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ไม่ตรงตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ส่งให้นายกรัฐมนตรี ทำตามรัฐธรรมนูญต่อไป

logoline