svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โรงเรือนนกกระทาลอยน้ำ นวัตกรรมรองรับน้ำท่วม

12 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากสถานการร์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 แม้จะสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินอย่างมหาศาล ทำให้หลายคนได้ตระหนักถึงอนาคตว่า ไม่มีอะไรแน่นอน และหากเหตุการณ์เช่นนี้ย้อนกลับอีกครั้ง จะตั้งหลักรับสถานการณ์อย่างไร

น้ำท่วมใหญ่ครั้งนั้น ทำให้เด็กหนุ่มวัยเพียง 20 ปี "พยุงศักดิ์ สีเขียวสด" ทายาทฟาร์มนกกระทา ที่มีผลผลิตทั้งไข่ และเนื้อนกกระทา ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
"เอนกฟาร์มนกกระทา" แห่ง อ.เมือง จ.อ่างทอง เก็บความทรงจำเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในครอบครัว ที่สร้างความเสียหายอย่างยับเยิน พยุงศักดิ์ จึงมีแนวคิดเอาชนะธรรมชาติ
ด้วยการ "สร้างโรงเรือนนกกระทาลอยน้ำขึ้นมา" เพื่อรองรับมหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต และมองไกลถึงน้ำท่วมโลก จะทำอย่างไรที่จะให้ภาคเกษตรผลิตอาหารได้อย่าปกติ

โรงเรือนนกกระทาลอยน้ำ
นวัตกรรมรองรับน้ำท่วม


พยุงศักดิ์ คลุกคลีกับฟาร์มนกกระทาของครอบครัว ตั้งแต่ยังเรียนชั้นมัธยม โดยใช้เวลาว่างรับจ้างจากคุณพ่อ "เอนก สีเขียสด" กรรมการผู้จัดการบริษัท เอนกฟาร์มนกกระทา จำกัด ในราคาค่าแรงเหมือนลูกจ้างทั่วไปวันละ 300 บาท
โดยเขาให้เหตุผลว่า วันหนึ่ง ถ้าเขาเป็นเจ้าของฟาร์ม หากไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวการเลี้ยงนกกระทา การดูแลจัดการฟาร์ม ก็จะยากต่อการสั่งลูกน้องให้ทำงานอย่างถูกวิธี"ผมคิดว่า ถ้าลูกไม่สานต่อใครจะทำ คุณพ่ออายุมากขึ้นทุกวัน ขณะที่บริษัทโตขึ้นทั้งการขยายตลาดของไข่นกกระทา ที่ส่งในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในตะวันนออกกลาง การที่ลูกจะทำ ถ้าลูกไม่ความรู้จะบริหารอย่างไร"

โรงเรือนนกกระทาลอยน้ำ
นวัตกรรมรองรับน้ำท่วม


พยุงศักดิ์ บอกว่า เป็นลูกจ้างคุณพ่อกว่า 2 ปี ทำหน้าที่เหมือนคนงานทั่วไป คุณพ่อเห็นว่าผมสนใจในเรื่องนี้ เลยถามว่าอยากทำเองหรือไม่ จะให้เช่าโรงเรือน ไม่ได้ให้ฟรี คุยกับพี่ชายเลยให้ลองทำไปก่อน 1 โรงเรือน เลี้ยง 5 หมื่นตัว รายได้ขยายขึ้นเรือยๆ ผมอายุ 19 ปี ผมมีรายได้เป็นแสน เลี้ยงนกด้วย ไปเรียนที่มหาวิทยารังสิตไปด้วย
กระนั้น เขายังตราตรึงในความคิดเสมอว่า หากเกิดน้ำท่วมอีก ลูกฟาร์มจะทำอย่างไร ในส่วนของเอนกฟาร์มคงไม่มีปัญหา เพราะหลังวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ได้ทำการยกฟาร์มสูงขึ้น แต่เกษตรรายอื่นที่มีทุนน้อยจะทำอย่างไร เลยนึกถึงโรงเรือนลอยน้ำขึ้นมา และสร้างทันที
"ผมคิดว่าหากวันหนึ่งน้ำท่วมอีก สิ่งที่ตอบโจทย์ได้ สำหรับวงการปศุสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์ปีกในโรงเรือนได้ โดยเฉพาะการเลี้ยงนกกระทา คือโรงเรือนลอยน้ำ ต้องใช้วิธีป้องกัน เพราะที่ผ่านมา การทำเกษตร ในบ้านเราหากมีปัญหาจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างแน่นอน"

โรงเรือนนกกระทาลอยน้ำ
นวัตกรรมรองรับน้ำท่วม


ทางออกเราต้องหาแนวทางในการป้องกัน ถ้าเราป้องกันได้ นั่นหมายถึงความเสียหายจะไม่เกิดขึ้น บางครั้งผมจินตนาการไปถึงน้ำท่วมโลก จะทำอย่างไรที่จะให้มีอาหารการกิน ผมอยู่วงการเลี้ยงนกกระทา ผมคิดเฉพาะนกกระทา คือถ้าน้ำท่วมฟาร์มเราต้องไม่จม เพราะโรงเรือนของเราลอยน้ำได้ เพราะภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเร็วเกินความคาดหมายสำหรับโรงเรือนลอยน้ำ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย เพียงเอาวัสดุใกล้ตัวมาใช้ คือถึงน้ำมันเก่าขนาด 200 ลิตร สำหรับเป็นฐานมาเรียงขวางตามความกว้างของโรงเรือน ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แถวห่างกันราว 1 เมตรต่อ 1 แถว แต่ถ่าขนาดใหญ่ให้ถังชิดกันตั้งแต่หัวจนถึงปลายสุดของโรงเรือน
จากนั้นใชวัสดุเบาที่หาได้ทำโครงสร้างของโรงเรือนตั้งบนถัง เหมือนโรงเรือนทั่วไป เมื่อคำนวน ต้นทุนพบต่ำกว่าโรงเรือนทั่วไปอีกด้วย เหมาะจำหรับผู้ที่จะเลี้ยงนกกระทาในสระ ในแม่น้ำ แม้แต่บนบกที่มีน้ำท่วม หากสถานการณ์ปกติ โรงเรือนอยู่บนพื้น แต่พอน้ำท่วมโรงเรือนก็ลอยน้ำได้ ไม่เสียหายแน่นอน

โรงเรือนนกกระทาลอยน้ำ
นวัตกรรมรองรับน้ำท่วม


"ใครมีพื้นที่น้อย ขุดสระเลี้ยงปลา ในสระทำโรงเรือนเลี้ยงนกกระทา มีรายได้สองต่อหรือใครอยู่ริมแม่น้ำ ริมเขื่อนไม่มีที่ทำกิน ก็สร้างโรงเรือนลอยน้ำสามารถเลี้ยงนกกระทาได้ครับ ราคาถูกด้วย อย่างของผม แรกๆ เห็นโรงเรือนที่ตลาด ลองมาประยุกต์ทำเป็นโรงเรือนลอยน้ำได้เช่นกัน"
โรงเรือนลอยน้ำ นับเป็นนวัตกรรมง่ายๆ ที่บางคนอาจมองข้าม หากแต่ความเป็นจริง มีประโยชน์อย่างมหาศาล ไม่เพียงป้องกันน้ำท่วม แต่ยังเหมาะสำหรับ การเลี้ยงปลา ผสมกับการเลี้ยงนกกระทา หรือสัตว์อื่นได้อีกด้วย

logoline