svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ประธานเฟดถูกมองว่ากำลังถอดปลั๊กออกจากตลาดหุ้นสหรัฐ นักลงทุนเฝ้าดูคำแถลงนโยบายครึ่งปีต่อสภาพุธนี้

11 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินสหรัฐว่า กำลังถอดปลั๊กออกจากตลาดหุ้น เป็นการส่งสัญญาณว่าจะเกิดวิกฤติครั้งที่ 3 และเป็นภาวะเลวร้ายที่สุดในรอบ 20 ปี โดยที่เฟดประกาศดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขี้น หรือการใช้มาตรการ QT (Quantitative Tightening) เนื่องจากเหตุผลจากแรงกดดันของมูลค่าราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นรุนแรง ประกอบกับความพยายามที่จะลดภาระในงบดุลจากการอัดฉีดเงินผ่าน QE ที่มีการดำเนินการมานับตั้งแต่วิกฤติการเงินสหรัฐเมื่อปี 2008

ขณะที่นักลงทุนเฝ้ารอฟังคำแถลงนโยบายรอบครึ่งปีของประธานเฟด ที่จะมีต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังปีนี้ ส่งผลต่อปฏิกิรอยาของตลาดโดยที่เงินดอลลาร์แข็งค่า 0.2% เทียบเยน สู่ระดับ 114.14 เยน ส่วนยูโรอ่อนค่าลง 0.1% อยูที่ 1.1391 ดอลลาร์
ท่ามกลางภาวะที่เฟดกำลังแตะเบรกตลาดหุ้นสหรัฐ ซี่งส่งผลต่อสภาพคล่องที่แผ่วลง ขณะที่ดัชนีราคาหุ้นยังคงผันผวนนั้น ทั้งนี้ มีการคาดการณ์แนวโน้มที่เลวร้ายที่สุดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะปรับตัวลดลงได้ถึง 10% หากว่าสัญญาณถดถอยเกิดความชีดเจนมากขึ้น แต่ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นจีนกลับเคลื่อนไหวสวนทาง หลังจากที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ค่อยปรับตัวยืนเหนือระดับ 3,200 ในขณะนี้ ส่งผลให้บรรดาเฮดจ์ฟันด์ของจีนสามารถทำกำไรราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 13% ในช่วงครึ่งแรกปี 2017 หลังจากที่ขาดทุนในปีที่ผ่านมา

1.ผู้เชี่ยวชาญการเงินและการลงทุนของสหรัฐกำลังจับตานโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขี้นตามที่เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เรียกว่า Quantitative Tightening หรือ QT ซึ่งสวนทางการกับการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณแบบสุดโต่งที่เรียกว่า QE หรือ Quantitative Easing นับตั้งแต่การเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐครั้งล่าสุดเมื่อปี 2007-2008 เป็นต้นมาเป็นจำนวนปริมาณเงินสูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ 
ทำให้เจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ถูกตั้งคำถามและตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินสหรัฐว่า กำลังถอดปลั๊กออกจากตลาดหุ้น เป็นการส่งสัญญาณว่าจะเกิดวิกฤติครั้งที่ 3 และเป็นภาวะเลวร้ายที่สุดในรอบ 20 ปี หลังจากที่เฟดประกาศดำเนินนโยบายการเงินที่ใช้มาตรการ QT ที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 มาอยู่ที่ระดับ 1.25% เพื่อเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยที่เป็นปกติหรือ Normalization ที่ระดับ 3% ภายในปี 2018-2019 
โดย Quantitative Tightening ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุผลที่เป็นแรงกดดันของมูลค่าราคาหุ้น (Valuation Pressures) ในตลาดที่พุ่งขึ้นรุนแรงมาเป็นเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับเป็น Game Changer ในความพยายามของเฟดที่จะลดภาระในงบดุลสู่ภาวะที่เป็น Nornalization ซึ่งจะเป็นการดูดซับสภาพคล่องกลับคืนโดยตี่งเป้าว่าจะลดงบดุลลงสู่ระดับ 2-2.5 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าเฟดจะเริ่มทยอยขายบอนด์และสินทรัพย์ทางการเงินที่ถืออยู่ออกมาในเดือนกันยายน 2017 นี้ 

2.ขณะที่นักลงทุนเฝ้ารอฟังคำแถลงนโยบายรอบครึ่งปีของประธานเฟด ที่จะมีต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังปีนี้จากระดบ 1.25% เป็น 1.5% ส่งผลต่อปฏิกิรอยาของตลาดโดยที่เงินดอลลาร์แข็งค่า 0.2% เทียบเยน สู่ระดับ 114.14 เยน ส่วนยูโรอ่อนค่าลง 0.1% อยูที่ 1.1391 ดอลลาร์
หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนมิถุนายนถึง 222,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 174,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานกลับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.4% จาก 4.3% ในเดือนพฤษภาคม ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ทั้งนี้ ประธานเฟดจะแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันพุธ และจากนั้นจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินของวุฒิสภาในวันพฤหัสบดีนี้ โดยชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวในระดับปานกลาง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป โดยจะอยู่ในลักษณะการปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนการปรับลดงบดุลให้กลับสู่ภาวะปกตินั้น จะเริ่มดำเนินการในปีนี้


3.เฟดคาดการณ์ว่าจะปรับลดงบดุลของเฟด จะส่งผลให้เฟดลดการถือครองพันธบัตร และหลักทรัพย์ที่เป็รอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ที่เฟดได้เข้าซื้อในตลาดในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในเบื้องต้นเฟดจะจำกัดเพดานการลดวงเงินการถือครองพันธบัตรรัฐบาลที่ระดับ 6 พันล้านดอลลาร์/เดือน ก่อนที่จะขยายเพดานการลดการถือครองพันธบัตรอีก 6 พันล้านดอลลาร์ในทุกๆ ไตรมาสในช่วงระยะเวลา 12 เดือน จนกระทั่งแตะระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน
ส่วนตราสารหนี้ของหน่วยงานของรัฐ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) นั้น ในเบื้องต้นเฟดจะจำกัดเพดานการลดวงเงินการถือครองที่ระดับ 4 พันล้านดอลลาร์/เดือน ก่อนที่จะขยายเพดานการลดการถือครองอีก 4 พันล้านดอลลาร์ในทุกๆ ไตรมาสในช่วงระยะเวลา 12 เดือน จนกระทั่งแตะระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน มาตรการทั้งหมดนี้ จะส่งผลให้เฟดลดการถือครองสินทรัพย์ในอัตรา 5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน 


4.      อย่างไรก็ตาม เฟดสาขาแอตแลนตา เปิดเผยล่าสุดเกี่ยวกับแบบจำลองการคาดการณ์ GDP ชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 2.7% ในไตรมาส 2 อยู่ในระดับต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 3.0% 
จากสาเหตุที่ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 0.8% ในเดือนพฤษภาคม และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 0.5% หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนเมษายน เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายปี ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่มขึ้น 4.8% ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาวุธและเครื่องบิน ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนพฤษถาคม หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ยอดสั่งซื้อดังกล่าวเป็นที่สนใจของนักลงทุนเพราะเป็นปัจจัยวัดความเชื่อมั่น และแผนการใช้จ่ายในภาคธุรกิจ
ก่อนหน้านี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2017 สู่ระดับ 2.2% จากเดิมที่ 2.1% ส่วนปี 2018 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.1% ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ และปี 2019 จะอยู่ที่ 1.9% ขณะที่แรงผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับ 2% ในปี 2018


5.ท่ามกลางภาวะที่เฟดกำลังแตะเบรกตลาดหุ้นสหรัฐ ซี่งส่งผลต่อสภาพคล่องที่แผ่วลง ขณะที่ดัชนีราคาหุ้นยังคงผันผวนนั้น โดยเฉพาะการคาดการณ์ของหลาสำนักวสณิชธนกิจทั้ง Goldman Sachs, Citigroup, Morgan Stanley รวมทั้ง Baok of America มองว่าสัญญาณการถดถอยกำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐภายในระยะ 2 ปีนี้ 
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์แนวโน้มที่เลวร้ายที่สุดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะปรับตัวลดลงได้ถึง 10% หากว่าสัญญาณถดถอยเกิดความชีดเจนมากขึ้น
แต่ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นจีนกลับเคลื่อนไหวสวนทาง หลังจากที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ค่อยปรับตัวยืนเหนือระดับ 3,200 ในขณะนี้ หลังจากที่ร่วงลงไปต่ำที่ 2,700 ในปี 2016 จากที่เคยขึ้นไปพีคสูงสุดที่ 5,200 เมื่อกลางปี 2015 ส่งผลให้บรรดาเฮดจ์ฟันด์ของจีนสามารถทำกำไรราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 13% ในช่วงครึ่งแรกปี 2017 หลังจากที่ขาดทุนในปีที่ผ่านมา

logoline