svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จับตาคำทำนาย Phoenix จะกลายเป็นเงินสกุลโลกเกิดใหม่ในปี 2018 หรือไม่?

10 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เกาะติดคำทำนาย Phoenix จะเป็นเงินตราของโลกที่จะมีการแจ้งเกิดใหม่ในปี 2018 หรือไม่? หลังจากรายงานของ The Economist แมกกาซีนรายสัปดาห์ที่ทรงอิทธิพลของอังกฤษที่เขียนบทวิเคราะห์ไว้เมื่อ 30 ปีก่อนว่า ในปี 2018 จะไม่มีการกำหนดราคาในตลาดไม่ว่าจะเป็นเงินตราสกุลใดๆ ทั้งเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่น หรือเงินดอยช์มาร์กเยอรมนี (หนึ่งในสกุลหลักของโลกก่อนที่เงินยูโรจะเข้ามามีบทบาทในยุโรป)

แต่เงินสกุลใหม่นี้จะมีชื่อว่า Phoenix เพราะจะเป็สกุลเงินที่ประเทศต่างๆ จะให้การยอมรับว่ามีความสะดวกในการใช้จ่ายทั้งจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า รวมทั้งผู้ซื้อสินค้าในตลาดโลก
อยางไรก็ตาม ตลาดการเงินโลกปัจจุบันยังคงมีอิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะเป็นสกุลเงินกลางที่ใช้อ้างอิงในการโควตราคาในปัจจัยต่างๆ มากกว่า 80% แต่หลายคนที่เป็นนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางการเงินกลัเชื่อว่าบทบาทของดอลลาร์กำลังลดลงในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการใหม่ๆ ของตลาดการเงินโลกที่ครั้งหนึ่งเคยถูกครอบงำด้วยผลิตภัณฑ์ตราสารการเงินใหม่ๆ ที่มีสหรัฐเป็นผู้นำหลัก แต่แนวโน้มนับจากนี้ไปกลับจะเป็นโลกของระบบดิจิตัลซึ่งแม้สหรัฐเป็นผู้นำ แต่ก็มีความหลากหลายจากรูปแบบการแข่งขันใหม่ๆ จากยุโรปและเอเชียที่มีทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย หรือแม้แต่พัฒนาการใหม่ในรูปของ Cryptocurrency ที่มีการซื้อขายผ่าน Bitcoin เป็นเชิงสัญลักษณ์ในปัจจุบันกำลังถูกผลักดันให้เป็นอีกหนึ่งสกุลสคัฐในอนาคต ซึ่งมีธนาคารกลางหลายประเทศให้การยอมรับมากขึ้น อย่างเช่น ธนาคากลางญี่ปุ่น ธนาคากลางรัสเซีย และธนาคากลางจีน

1. เมื่อ 29 ปีก่อนมีคำทำนายเรื่อง Phoenix จะเป็นเงินตราของโลกที่จะมีการแจ้งเกิดใหม่ในปี 2018 จากรายงานเรื่อง Get Ready for the Phoenix ฉบับตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 1988 ใน The Economist แมกกาซีนรายสัปดาห์ที่ทรงอิทธิพลของอังกฤษที่เขียนบทวิเคราะห์ไว้ ว่า ภายใน 30 ปีคือปี 2018 จะไม่มีการกำหนดราคาในตลาดไม่ว่าจะเป็นเงินตราสกุลใดๆ ทั้งเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่น หรือเงินดอยช์มาร์กเยอรมนี (หนึ่งในสกุลหลักของโลกก่อนที่เงินยูโรจะเข้ามามีบทบาทในยุโรป)
แต่เงินสกุลใหม่นี้จะมีชื่อว่า Phoenix เพราะจะเป็สกุลเงินที่ประเทศต่างๆ จะให้การยอมรับว่ามีความสะดวกในการใช้จ่ายทั้งจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า รวมทั้งผู้ซื้อสินค้าในตลาดโลก ขณะที่ตลาดการเงินโลกจะเกิดการล่มสลาย รวมถึงความร่วมมือของธนาคารกลางทั่วโลกที่ประสบความล้มเหลว หลังจากที่ระบบการเงินโลกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อปี 1970 ซึ่งทำให้เกิดระบบเงินตราที่เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกแทนที่สินค้าและบริการแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ตลาดการเงินโลกหลอมรวมเป็นตลาดเดียวกัน
Phoenix เป็นนกในยุคโบราณที่ปรากฏในชื่อของหลาย ๆ ชนชาติ นับตั้งแต่ยุคโรมันโบราณ ยุคกรีกโบราณ นอกจากนี้ Phoenix ยังเป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตเป็นอมตะ การฟื้นคืนชีพ และเกี่ยวข้องกับเทพแห่งดวงอาทิตย์ 
2. ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และเกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุนไหลเข้าและไหลออกจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดความปั่นป่วนต่อระบบเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่สร้างปัญหาท่กขึ้น ในท้ายที่สุดนำไปสู่บทสรุปที่ว่า One world, one money จะเกิดขึ้นภายใน 30 ปี ซึ่งจะครบตามกำหนดเวลาคำทำนายในปี 2018
ภาพสะท้อนที่มองเห็นในปีนี้ หลังจากที่บรรดาธนาคารกลางของโลกทั้งธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารยุโรป (อีซีบี) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ที่อัดฉีดเงินผ่าน QE (Quantitative Easing) จำนวนมากกว่า 11 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2008 เพื่อกอบกู้วิกฤติการเงินในสหรัฐ และวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปมาตั้งแต่ปี 2009 ทำให้บรรดาธนาคารกลางดังกล่าวกดดอกเบี้ยในอัตราต่ำๆ ตั้งแต่ 0% ไปจนถึงอัตราดอกเบี้ยติดลบ เพื่อกดเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงเวลาดังกล่าว กำลังเป็นผลสะท้อนว่าเม็ดเงินจำนวนมหศาล กำลังจะผลักดันให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นในอนาคต จนอาจจะกระทบเศรษฐกิจจนเกิดภาวะถดถอยอีกนั้น
ทำให้หลายๆ ธนาคารกลางกกำลังทบทวนที่จะลดภาระการอัดฉีดเงินที่ค้างยู่ในงบดุล อย่าเช่นเฟดต้องหันมาใช้นโยบานการเงินเข้มงวดมากขึ้น หรือใช้นโยบาย QT (Quantitative Tightening) ด้วยการขึ้นดอกเบี้ย และเตรียมการลดภาระงบดุลในเดือนกันยายนนี้ กดดันให้ทั้งอีซีบี บีโอเจ และบีโออี ต้องหันมาทบทวนนโยบายใหม่ที่จะทำให้สิ้นสุดยุคการเงินที่หาง่ายและดอกเบี้ยต่ำ 

3. อยางไรก็ตาม ตลาดการเงินโลกปัจจุบันยังคงมีอิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะเป็นสกุลเงินกลางที่ใช้อ้างอิงในการโควตราคาในปัจจัยต่างๆ มากกว่า 80% แต่หลายคนที่เป็นนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางการเงินกลัเชื่อว่าบทบาทของดอลลาร์กำลังลดลงในอนาคต

ด้วยปัจจัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทั้งจากมหาอำนาจในระบบเศรษฐกิจโลกที่ไม่ได้มีขั้วอำนาจเดียวของสหรัฐที่ผูกพันธมิตรกับอังกฤษและสหภาพยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่น แต่กำลังมีการท้าทายจากขั้วอำนาจใหม่ที่มีจีนเป็นผู้นำผนึกกำลังกับรัสเซีย และอิหร่านที่แตกตัวออกมาจากลุ่มประเทศตะวันกลาง รวมทั้งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
4. นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการใหม่ๆ ของตลาดการเงินโลกที่ครั้งหนึ่งเคยถูกครอบงำด้วยผลิตภัณฑ์ตราสารการเงินใหม่ๆ ที่มีสหรัฐเป็นผู้นำหลัก แต่แนวโน้มนับจากนี้ไปกลับจะเป็นโลกของระบบดิจิตัลซึ่งแม้สหรัฐเป็นผู้นำ แต่ก็มีความหลากหลายจากรูปแบบการแข่งขันใหม่ๆ จากยุโรปและเอเชียที่มีทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย
แม้แต่พัฒนาการใหม่ในรูปของ Cryptocurrency ที่มีการซื้อขายผ่าน Bitcoin เป็นเชิงสัญลักษณ์ในปัจจุบันกำลังถูกผลักดันให้เป็นอีกหนึ่งสกุลสำคัญของโลกในอนาคต ถึงแม้ว่าในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเกิดความผันผวนอย่างรุนแรงขของราคา Bitcoin หลังจากราคาที่พุ่งขึ้น 3,000% จนราคาพุ่งถึงระดับสูงสุดที่ 3,000 ดอลลาร์เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ต่อมากลับดิ้งตัวลงต่ำสุดที่ 1,850 ดอลลาร์ ก่อนที่จะเคลื่อนไหวที่ 2,500-2,700 ดอลลาร์ในปัจจุบัน
5. Bitcoin เป็น 1 ใน 30 สกุลเงินดิจิตัลหรือที่เรียกว่า Cryptocurrency ที่นักลงทุนให้ความนิยมซื้อขายนั้น เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือในปี 2009 จนกระทั่งมีราคาซื้อขายพุ่งขึ้นรุนแรง แต่ยังคงมีขนาดเล็กมีมาร์เก็ตแคปเพียง 1 แสนล้านดอลลาร์ เทียบกับตลาดซื้อขายเงินตราทั่วโลกที่มีดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลหลักที่มีมากถึงวันละ 50 ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ Cryptocurrency ที่มีการซื้อขายมากกว่า 70% เกิดขึ้นในสองสกุลที่คุ้นเคยในชื่อของ Bitcoin จำนวน 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และ Ethereum จำนวน 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อสิ้นเดิอนมิถุนายน 2017

logoline