svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"

07 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ดริ๊งเซฟ" แอปพลิเคชันตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ และเสนอทางออกในการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของ 2 หนุ่มรั้วแม่โดม


      เพียง "เป่าลมหายใจ 5 วิ" เข้าไปที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที พร้อมระบุช่วงเวลาที่ผู้ใช้จะสร่างเมาในทุกๆ ชั่วโมง รวมถึงช่วงเวลาที่สามารถขับขี่รถยนต์กลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที
รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"



      นี่เป็น 1 ขั้นตอนการใช้งานง่ายๆ ของ"ดริ๊งเซฟ" แอปพลิเคชันตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ และเสนอทางออกในการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานของ 2 นักศึกษา ได้แก่ นายธรณัส กฤตยานวัช และนายสิรวุฒิ วิรัตนพรกุล สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที
รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"


       แอปฯ "ดริ๊งเซฟ" นอกจากการใช้งานง่ายเพียง 1 ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถเลือกขอความช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการขับขี่ได้ใน 2 ช่องทาง คือ ติดต่อเพื่อน และ เรียกแท็กซี่


      ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ประเทศไทย ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย โดยที่สาเหตุหลักมาจากการเมาแล้วขับ อันเห็นได้จากตัวเลขการเมาแล้วขับที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในช่วงอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ 2560 มีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าวสูงถึง 4,128 และ 478 ราย โดยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 17.7%และ 25.7% ตามลำดับ (ที่มา : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน)




เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที
รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"

ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช

       ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยภาครัฐลดสถิติจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากกรณีดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. จึงได้พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชัน ดริ๊งเซฟ (Drink Safe) แอปฯ วัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ที่มาพร้อมกับเซนเซอร์ชนิดพกพา ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพื่อแยกแยะความสามารถการขับขี่ใน 2 ระดับ คือ ขับรถได้ (ไม่เกิน 50mg%) และห้ามขับรถ (เกิน 50 mg%) ได้อย่างแม่นยำ ให้ผลเทียบเท่ากับการวัดจากเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ของตำรวจ นอกจากนี้ ยังสามารถเสนอทางเลือกในการหลีกเลี่ยงการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที
รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"



      ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแอปฯ ดริ๊งเซฟ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์เสริมที่เป็นเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์ (Sensor) เชื่อมต่อกับระบบประมวลผล  Arduino โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ใน 1 ขั้นตอน เพียง "เป่าลมหายใจ เป็นเวลา 5 วินาที" เข้าไปที่เครื่องวัดแอลกอฮล์ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที ว่าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ที่เกินมาตรฐานกฎหมายกำหนดหรือไม่ (โดยต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%)) ซึ่งในขณะเดียวกัน แอปฯ ยังคำนวณอัตราการลดระดับของแอลกอฮล์ในทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงระยะเวลาที่ตนจะสร่างเมา และสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น หากเป่าลมหายใจ แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 62 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในเวลา2.52 น. จะพร้อมขับขี่ได้ในเวลา 6.52 น. เป็นต้น

เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที
รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"


       ทั้งนี้ แอปฯ ดังกล่าว ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาร่วม 4-5 เดือน และมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 2,000 บาท โดยเวลาการพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ในการทดลอง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระดับแอลกอฮอล์กับค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานคือ การใช้เซ็นเซอร์ที่มีราคาไม่สูง แต่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในการทดลอง เพื่อหาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลอ่านจากเซ็นเซอร์กับระดับแอลกอฮอล์ในเลือด

เป่า 5 วิ ประมวลผล 2 นาที
รู้เวลาสร่างเมา แอปฯ "ดริ้งเซฟ"




      ปัจจุบันแอปฯ ดังกล่าวได้พัฒนาสำเร็จและสามารถตรวจแยกแยะระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ระดับต่ำกว่า 50มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ได้แม่นยำ โดยได้ทำการทดลองเทียบกับเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของตำรวจ พร้อมแสดงผลได้ในทันที (Real Time)
      สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ 02-986-9156 และ 089-476-0105  หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564- 4440-59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

logoline