svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ช่วยช้างป่า สารเคมีราดตัว เจ็บสาหัส บาดแผลผุพอง เน้นรักษาด้วยสัญชาตญาณบำบัด

23 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีมี ช้างพัง อายุประมาณ 25-30 ปี ได้รับบาดเจ็บค่อนข้างสาหัส บริเวณหัว งวง ใบหู ถึงลำคอ เดินออกจากป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ป่าแก่งหางแมว จ.จันทบุรี เหมือนจะมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ภัทรพล หมอล็อต มณีอ่อน ซึ่งเป็นของ นายสัตวแพทย์(นสพ.)ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุืพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ออกมาโพสต์ต่อประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า  
Lotter:  "แน่นอนแน่วแน่ในแนวนี้"
ถ้าใครจำได้ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาช้างป่าตัวหนึ่ง ที่เอาสารเคมีมาราดตัว จนเกิดบาดแผลผุพอง ซึ่งเราได้วางแนวทางการรักษาโดยใช้ "สัญชาตญาณบำบัด" ควบคู่กับการส่งเสริมปัจจัยในการรักษา คือทำบ่อน้ำและเกลือโป่ง ซึ่งคือห้องรักษาพยาบาลดีดีนี่เองง
คืนนี้น้องหมอรายงานและขอคำปรึกษาว่าจะเอาไงต่อดี มีคนถามมาเยอะ ผลการพิจารณา ตามนี้ครับ
- จากสภาพแผลโดยรวม มีอาการดีขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อน ส่วนที่เป็นเนื้อตายหลุดออก และเห็นแผลมีสีอมชมพู ซึ่งบ่งบอกว่า แผลมีแนวโน้มในทางที่ดี ไม่พบคราบหนองแสดงให้เห็นว่าบาดแผลไม่มีการติดเชื้อ         - เนื่องจากแผลที่ผิวหนังในลักษณะนี้ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าแผลจะดีขึ้น จากการสอบถามข้อมูล พบว่า แม้แต่ในช้างบ้านที่มีบาดแผลไฟคลอก ได้รับการทายาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังและดูแลแผลทุกวัน ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนในการรักษา         - ประกอบกับสภาพอากาศในช่วงนี้ เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการชะล้างบาดแผลตามธรรมชาติได้ดีในระดับหนึ่ง หากช้างป่ายังคงกินได้ดี มีพฤติกรรมตามปกติ ในระยะนี้ควรปล่อยให้มีการบำบัดรักษาตามธรรมชาติไปก่อน โดยให้มีเจ้าหน้าที่คอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป
ปล. ช้างป่า เกิดบาดแผลที่ไหนก็ได้ ถ้างวงแตะถึง พ่นน้ำ พ่นดินโป่งถึง โอกาสหายของแผลจะมีมากกว่าบาดแผลที่งวงไปแตะไม่ถึง เคสนี้เห็นได้ชัด"
ขอบคุณเฟซบุ๊ก ภัทรพล หมอล็อต มณีอ่อน

logoline