svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เรียกร้องปลดสัญญาณดาวเทียม ติดตามตัวพะยูน

21 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตรัง - 3 องค์กร ประกอบด้วย สภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดตรัง ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง และมูลนิธิอันดามัน เรียกร้องให้สวทช.-กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรียกร้องให้ปล่อยพะยูนทั้ง 3 ตัว เป็นอิสระ จากการติดสัญญาณดาวเทียมและให้ยุติโครงการวิจัย อ้างข้อมูลของวิชาการ ลักษณะการจับเป็นอันตราย และไม่เกิดประโยชน์กับงานวิจัย


(21 พฤษภาคม 2560) ที่มูลนิธิอันดามัน ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง ได้มีตัวแทนจาก 3 องค์กรหลัก คือ ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดตรัง ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดและมูลนิธิอันดามัน ร่วมกันเปิดแถลงข่าวเรียกร้องไปยังสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เรียกร้องให้ปล่อยพะยูนทั้ง 3 ตัว ให้เป็นอิสระจากการติดสัญญาณดาวเทียมติดตามตัวพะยูน บริเวณส่วนหางของพะยูนยาวประมาณ 3 เมตร ตั้งแต่ประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยอ้างข้อมูลผู้เชี่ยวชาญจาก DTGCMS DUQONQ MOU ตั้งแต่การจับด้วยอวน และใช้คนจับจำนวนมากจับ การติดตั้งที่ใช้เวลานาน รวมถึงความยาวและทุ่นสัญญาณที่ใช้ และระยะเวลาที่ยาวนานอย่างน้อย 3 เดือน ล้วนก่อให้เกิดอันตราย และเสี่ยงต่อการตายของพะยูนจากการติดเครื่องมือประมง ข้อมูลที่ได้มาก็บอกเฉพาะวิถีชีวิตของพะยูนเฉพาะตัวที่ติดสัญญาณเท่านั้น ไม่มีนัยยะที่สำคัญต่อความรู้เกี่ยวพะยูนตัวอื่นในทะเลตรัง เช่นเดียวกับการเก็บตัวอย่างพันธุกรรมของพะยูนทั้ง 3 ตัว ก็เป็นจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างพันธุกรรมพะยูนที่มีมากกว่า 200 ตัว ที่เก็บจากซากพะยูน โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ภูเก็ต)
นอกจากนั้นในการบินสำรวจพะยูนในทะเลตรังของนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ฯประมาณ 10 ปีต่อเนื่อง พบข้อมูลว่าช่วงปี 2540 2544 บริเวณเกาะมุกด์กับหาดหยงหลำ ซึ่งเป็นบริเวณที่จับพะยูนติดสัญญาณและเป็นพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ชาวบ้านชุมชนชายฝั่งและชาวประมงพื้นบ้านได้ร่วมกันจัดทำเขตอนุรักษ์ "เขตเลสี่บ้าน" เพื่ออนุรักษ์พะยูน และเต่าทะเลมาตั้งแต่ปี 2550 จนแหล่งหญ้าทะเลเพิ่มมากขึ้นจาก 7 พันไร่ เป็นกว่า 9 พันไร่ มีประชากรพะยูนประมาณ 30 40 ตัว แต่การบินสำรวจในปี2555 2560 จำนวนพะยูนลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือประมาณ 10 20 ตัว สันนิษฐานว่าพะยูนได้ย้ายไปอยู่ที่รอบเกาะลิบง การบินสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมาก็พบพะยูนที่เกาะลิบงเพิ่มขึ้น ประกอบกับการจัดทำงานวิจัยติดสัญญาณดาวเทียมดังกล่าวขาดไม่มีการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ และชาวบ้านชุมชนชายฝั่งไม่ได้มีส่วนร่วม จึงขอเรียกร้องให้ สวทช.และกรมอุทยาน ฯ ทำการปลดสัญญาณดาวเทียมจากตัวพะยูนทันที และให้ยุติโครงการดังกล่าว และประกาศจะยุติความร่วมมือทุกประการกับโครงการนี้ จนกว่าจะมีการแก้ไข

logoline