svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวบ้านขุดดินปลูกกล้วย เจอกระดูกฟอสซิลโบราณ

20 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวบ้านขุดหลุมปลูกกล้วยเจอกระดูกฟอสซิลโบราณส่วนกระดูกปากของสัตว์กินพืชคาดเป็นสัตว์จำพวกตระกูลช้างเบื้องต้นแจ้งกรมศิลปกรขุดสำรวจ

20 พ.ค.60 นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมคณะลงพื้นที่บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านเนินโพธิ์ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร หลังที่ชาวบ้านปรับพื้นที่ขุดหลุม ทำการปลูกกล้วยน้ำว้า กลับขุดไปเจอ กระดูกฟอสซิลที่อยู่ในพื้นดินจำนวน 2 ชิ้น โดยพบเป็นลักษณะของกระดูกฟอสซิลของช่องปาก และมีร่องรอยฟันเล็กๆ ของสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ และเมื่อขุดลงไปยังพบชิ้นส่วนของกระดูกฝังอยู่ในดิน ในความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร อีกหลายชิ้น
นายเนี้ยว แก้วคำ อายุ 61 ปี ชาวบ้านที่ขุดเจอ เล่าว่า ได้ปรับที่และทำการขุดหลุมเพื่อจะนำกล้วยน้ำว้าลงปลูก ในระหว่างที่ขุดหลุม เจอชิ้นส่วนกระดูกจึงขุดขึ้นมา แต่ลองขุดลงไปกับเจออีกจึงนำขึ้นมาดู และน่าจะเป็นซากกระดูกโบราณ จึงแจ้งไปยังผู้นำหมู่บ้านเข้าตรวจสอบ ซึ่งตั้งแต่เกิดมา 60 ปี ยังไม่เคยเจอ และเชื่อว่าน่าจะเป็นกระดูกของสัตว์โบราณ

สัตว์, กรมศิลปกร, ชาวบ้าน, ขุด, ดิน, ปลูก, กล้วย, เจอ, กระดูก, ฟอสซิล, โบราณ


ทางด้าน นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ระบุว่า ในเบื้องต้น จากเกษตรกรที่ขุดพบเจอถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญของจังหวัดพิจิตร ซึ่งทางจังหวัดพิจิตร ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปกรที่ 6 จังหวัดสุโขทัย เข้าตรวจสอบ คาดว่าน่าจะเป็นซากฟอสซิลของสัตว์จำพวกตระกูลช้าง เนื่องจากกระดูกที่พบเจอเป็นกรามของฟันของสัตว์กินพืช และมีลักษณะคล้ายช้าง และจะนำเอากระดูกฟอสซิลที่พบเจอ ไปตรวจพิสูจน์ หาอายุ และ ประเภทของสัตว์ ที่รัฐฟอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้ระยะเวลา 3 เดือน และ ทางกรมศิลปกรที่ 6 จังหวัดสุโขทัย จะทำการขุดหาเพิ่มเติม หลังหมดฤดูฝน ซึ่งการขุดค้นพบ ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่สำคัญ ครั้งแรกของจังหวัดพิจิตร และกระดูกฟอสซิลค่อนข้างสมบูรณ์
เบื้องต้น ทางจังหวัดพิจิตรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทำการควบคุมพื้นที่ี่ที่ขุดพบเพื่อป้องกันการเสียหาย และ ทำการกลบพื้นดิน ที่มีการขุดเจอ เพื่อรอให้ทางกรมศิลปกรที่ 6 จังหวัดสุโขทัย จะทำการขุดเพิ่มเติม หลังหมดฤดูฝน เนื่องจากพื้นดินที่ขุดเจอ ค่อนข้างอ่อนตัวและจะมีผลต่อการขุดสำรวจ เพื่อป้องกันความเสียหายของซากฟอสซิลกระดูกโบราณที่พบ

logoline