svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

50 ปียุค New Hollywood เหลียวหลังสีสัน "วัฒนธรรมป๊อป"

26 มกราคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หนังยุคใหม่ถือเอาว่า ทศวรรษที่ 70 คือยุคของฮอลลีวู้ดที่ก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ มีคนทำหนังรุ่นใหม่ มีการขายโฆษณา มีการทำแฟรนไชส์ มีการทำหนังภาคต่ออย่างจริงจัง และวิธีมองคนดูของธุรกิจหนัง ไม่เหมือนคนยุค 60 หรือก่อนหน้านั้น

ถ้านับเอาแถวๆ ทศวรรษ 70 เป็นหลักไมล์ของพวก new hollywood ที่เติบโตเข้าวัยหนุ่มสาว (มี คอปโปล่า, สปีลเบิร์ก, ลูคัส, สกอร์เซซี เป็นหัวหอก) แล้วล่ะก้อ นี่ก็ถือว่าพวกฮอลลีวู้ดยุคใหม่ เข้าสู่วัยกลางคนที่ 50 ปีแล้ว

50 ปียุค New Hollywood
เหลียวหลังสีสัน "วัฒนธรรมป๊อป"



ลองมองเข้ากลับไปดูสิว่า ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์อะไรบ้างที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหนัง และได้รับการจดจำ ยกย่อง จากผู้คนในวงการ ซึ่งแน่นอนว่า รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ด้วย
1.การปลดเปลื้อง American Dream
ในหนัง Raging Bull (1979) Scorsese ทำการปลดเปลื้อง American dream โดยให้นักมวยแชมป์โลกกลายเป็นผู้สร้างความบันเทิงในไนท์คลับถูกๆ นี่คือหนังอัตชีวประวัติของ LaMotta นักมวยมิดเดิลเวท ที่ทำลายตัวเองและชอบความรุนแรงเรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์หลายคนว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของ New Hollywood

50 ปียุค New Hollywood
เหลียวหลังสีสัน "วัฒนธรรมป๊อป"



2.อารมณ์ขันของ วู้ดดี้ อัลเลน
ใน Annie Hall นี่คือหนังเรื่องแรกๆของ Woody Allen ที่เล่นกับแก่นเรื่องความรักที่ล้มเหลวในสังคมเมืองใหญ่อย่างตลกขบขัน การพูดโดยตรงกับผู้ชม การให้คำบรรยายใต้ภาพเพื่อเผยว่าจริงๆแล้วเกิดอะไรขึ้น และการใช้เทคนิคในการทำหนังสารคดีเมื่อ flachback สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทำให้เกิดการเสียดสีในลักษณะของหนังยุโรป เพื่อต่อต้าน Hollywood (สัญญะหนึ่งตอนนั้นก็คือ เขาไม่ขึ้นรับออสการ์ตัวแรกของเขา)

50 ปียุค New Hollywood
เหลียวหลังสีสัน "วัฒนธรรมป๊อป"



3.แก่นสารของ New Hollywood
แก่นเรื่องที่เป็นที่นิยมของ New Hollywood นั้น ถ้าคุณผู้อ่านมองให้ลึกจะพบว่า มันคือการค้นหา "อดีตของอเมริกา" ผ่านทางหนัง ซึ่งแสดงให้เห็นใน "งานตกแต่งของยุค 40 และ 50W เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ "หวนคิดถึงอดีตอันรุ่งโรจน์" ที่ผู้คนยังคงไปดูภาพยนตร์ หนึ่งในหนังที่สะท้อนแง่มุมนี้ได้ดีก็คือ ฉากจาก Back to the Future ของ Robert Zemeckis ซึ่งกลายเป็นหนังชุดไตรภาคทำเงินมากที่สุดในยุค 80

4.การมาถึงของ Multiplex consumer temples
จู่ๆ หลังจากการซาลงของตลาดวิดีโอ อาวุธใหม่ที่พ่อค้าเทคโนโลยีหนังเอามาขายคนดูก็คือโรงภาพยนตร์หลายโรง (Multiplex consumer temples) ที่สร้างด้วย "โลหะ" และ "แก้ว" กลายเป็นศูนย์รวมความบันเทิง
มันกลายเป็นสถานที่ ที่สามารถให้ผู้ชมมากกว่า "การชมภาพยนตร์" โดยมีอย่างน้อย 7 โรง (มีที่นั่งอย่างน้อย 1,700 ที่นั่ง ในตอนเปิดตัว) ให้ความสะดวกสบายโดยพื้นที่โรงเป็นแบบ arena จอภาพโค้ง คุณภาพเสียงและภาพมีความคมชัดสมบูรณ์แบบ และยังมีกิจกรรมอื่นๆให้ทำ เช่น การทานอาหารและการซื้อของ รวมทั้งการเล่นรักของคู่รักบางคู่

5.รายได้แบบไทอินผสมแฟรนไชส์
หนัง Batman (1988) ของ Tim Burton ใช้ทุนในการสร้างแค่ 85 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำรายได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญใน box office, อีก 300 ล้านเหรียญจากการขายวิดีโอ และยังไม่พอ อีก18 ล้านเหรียญจากการฉายทางโทรทัศน์ แถมยังมีรายได้เพิ่มเติมจากการขายเพลงประกอบภาพยนตร์ หนังสือ การ์ตูน และค่าลิขสิทธิ์ในการขายเสื้อยืด และตุ๊กตาแบทแมน ซึ่งสร้างกระแสให้กับกลุ่มผู้ชมมากกว่าที่ตัวหนังเองทำเสียอีก ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้ ก่อให้เกิดวัฒนธรรม "กินเป็นซีรีส์" ของฮอลลีวู้ดยุคใหม่ ที่เมื่อออกสินค้าอะไร ต้องคิดยาวถึงสุดทางการหากิน

50 ปียุค New Hollywood
เหลียวหลังสีสัน "วัฒนธรรมป๊อป"


6.ศัตรูของโรงหนัง คือ "วิดีโอ" (dvd)
ตอนการมาถึงของยุค 80 กลายเป็นเวลาที่คนทำหนังวิตกจริต เพราะวิดีโอทำลายโรงหนังมากมาย วิดีโอ คือ กระบวนการสร้างภาพที่แยกสัญญาณภาพออกเป็นสัญญาณไฟฟ้าและบันทึกลงบนแผ่นแม่เหล็ก มีลักษณะคล้ายกับการบันทึกเสียงลงเทป เช่นเดียวกับเทปคาสเซท วิดีโอเทปสามารถทำซ้ำ เล่นซ้ำ หรือลบได้
ในตอนนั้นมันถูกนำไปใช้ทั้งในการถ่ายภาพยนตร์และการเผยแพร่รายการโทรทัศน์ มีการทดลองการเก็บภาพด้วยแม่เหล็กในยุค 20 และในวงการโทรทัศน์ เครื่องบันทึกภาพเป็นที่รู้จักในปี 1956 ภาพสั้นๆ จากมิวสิควิดีโอมีลิขสิทธิ์ในตัวมันเอง ผู้อำนวยการบันทึกภาพมิวสิควิดีโอไม่คิดเงินเมื่อเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ เช่น ช่อง MTV ที่มีรายการเพลงยอดนิยมมากมาย โดยแรกเริ่มแล้ว มิวสิควิดีโอเป็นเพียงการโฆษณาเพลงเท่านั้น
แต่ภาพสั้นๆ จากมิวสิควิดีโอเหล่านี้ได้พัฒนาภาษาในการถ่ายวิดีโอเสียใหม่ ซึ่งผู้กำกับภาพยนตร์ดังๆ หลายคนนำไปใช้ในการสร้างภาพยนตร์ของตน ในช่วงต้นยุค 70 มีความพยายามที่จะขยายเทคโนโลยีวิดีโอจากการใช้ในสตูดิโอดังๆ ไปสู่การใช้ส่วนตัวของผู้บริโภคทั่วไป ตลาดไม่สามารถรองรับกระบวนการบันทึกภาพที่แตกต่างกันกว่า 50 วิธีได้
ดังนั้นก่อนยุค 70 บริษัทอิเลคโทรนิคของญี่ปุ่นและยุโรป เช่น Philips และ Sony ได้ผลิตเครื่องบันทึกภาพที่ใช้ตามบ้านและจำหน่ายในราคาไม่แพง เป็นเวลานานที่ผู้คนไม่สามารถทำธุรกิจใดๆได้โดยขาดวิดีโอเทป และบริษัทสร้างภาพยนตร์หวาดกลัวว่ารายได้ของตนจะตก การค้าขายวิดีโอเจริญรุ่งเรืองที่สุดในปลายยุค 70 เมื่อนักแสดง Hollywood ตกอับคนหนึ่งได้ประกาศโฆษณาเล็กๆในหนังสือพิมพ์ Los Angeles Times ว่าจะให้เช่าภาพยนตร์ที่ตนเองมีในตอนแรกภาพยนตร์ชั้นสามเข้าสู่ตลาดวิดีโอเช่า
แต่ในปัจจุบันรายได้ส่วนใหญ่จะได้จากภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในการฉายโรง ในเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีร้านเช่าวิดีโอทั่วทุกหัวระแหง แต่ธุรกิจวิดีโอก็กำลังตกลงเมื่อตลาดซื้อขายวิดีโอเทปกำลังเจริญ ในปัจจุบันมีเทปราคาถูกขายตามเคาวน์เตอร์คิดเงินในซุปเปอร์มาร์เกต

7. ทัศนศิลป์ของ กรีนอะเวย์
จอมยุทธ์ Peter Greenaway เป็นหนึ่งในผู้กำกับจำนวนน้อยแห่งยุค 80 ที่เล่าเรื่องของเขาด้วยภาพและสีสันมากมาย ในการออกแบบฉาก เขาใช้ทัศนศิลป์ (visual art) สร้างฉากตามองค์ประกอบของโรงภาพยนตร์เรื่องราวของเขามักนำเสนอในลักษณะของชุดภาพที่งงงวย แหวกออกจากข้อห้ามร้ายแรงทางสังคม ซึ่งสร้างกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูงจากกลุ่มคนทั่วไปและนักวิจารณ์ นี่คือฉากจาก The Cook, the Thief, His Wife, and Her

logoline