svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

โลกผวา! "วิกฤติอิตาลี" หนี้แบงก์ 3.6 แสนล้านยูโรส่อทำพิษ

29 พฤศจิกายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังผ่านพ้นไป 16 วันที่เงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่องหลังจากการเลือกตั้งปธน.สหรัฐ โดย Dollar Index เริ่มผงกหัวลงแตะระดับ 101.08 ขณะที่นักลงทุนในตลาดค้าเงินในนิวยอร์กเริ่มดัมพ์เทขายดอลลาร์-เยน อย่างหนัก ตรงกันข้ามมีแรงซื้อเงินเยนจำนวนมากส่งผลให้เงินเยนที่ดิ่งลงหนักที่ระดับ 114 เยน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นที่ 111.50 ก่อนรีบาวด์กลับมายืนที่ 112 เยนต่อดอลลาร์ แต่ก็เป็นวันที่ไม่ดีนักสำหรับนักลงทุนที่ถือครองดอลลาร์มากเกินไป

ขณะที่มอร์แกน แสตนเลย์ วาณิชธนกิจชื่อดังของสหรัฐ คาดการณ์ว่าในปี 2017 ภาวะตลาดการเงินจะยังคงตึงตัว ซึ่งต้องเผชิญกับแนวทางของคณะกรรมการเฟดสายเหยี่ยวที่ต้องการให้เงินดอลลาร์แข็งค่าต่อไป โดยมอร์แกน แสตนเลย์ ทบทวนอัตราการเติบโตทางดศรษฐกิจของจีนจะอยู่ในระดับปานกลางที่ 6.4% ส่วนจีดีพีสหรัฐจะขยายตัว 2% ในปี 2017
1.ขณะเดียวก็มีการเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรในตลาดหุ้นสหรัฐทั้ง 3 ตลาดในวันจันทร์ ทำให้ดาวโจนส์ปรับตัวลงปิดต่ำหว่าระดับ 19.100 ที่ 19,097 ลบ 54 จุดหรือลบ 0.28% ด้าน S&P 500 ปิดลบ 0.53% มาอยู่ที่ 2,201 Nasdaq ลดลง 0.56% ที่ 5,368 ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปที่ดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทั้งลอนดอน ปารีส แฟรงค์เฟิร์ต ลดลงถ้วนหน้าโดยเฉลี่ย 1% เพราะความกังวลต่อวิกฤติแบงก์ในอิตาลีมีมากขี้น

2.ความเสี่ยงของวิกฤติแบงก์อิตาลีปะทุอีก เงินฝากจำนวน 4 ล้านล้านยูโรในระบบธนาคารของอิตาลีมีความเสี่ยงที่อาจถูกนำใช้เพื่ออุ้มแบงก์ 8 แห่งที่อยู่ในอาการร่อแร่เนื่องจากมีหนี้ที่มีปัญหาสูงถึง 3.6 แสนล้านยูโร ประกอบกับการลงประชามติที่เกี่ยวกับแผนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยรัฐบาล ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 4 ธ.ค.นี้ กลายมาเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นอาจส่งผลให้นายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี ต้องหลุดจากตำแหน่ง

3. เผยจีนนำเข้าเทองคำในช่วง 9 เดือนแรกปี 2016 จำนวน 905 ตัน จากจำนวนทองที่มีการเบิกถอนจากห้องใต้ดินของ Shanghai Gold Exchange จำนวน 1,406 ตัน ส่วนที่เหลือ 335 ตันมาจากการผลิตของเหมือลทองในจีน และอีก 166 ตันเป็นทองที่มีหมุนเวียนในตลาดซื้อขายทอทองงคำในประเทศ
ขณะที่ราคาทองปรับตัวสูงขึ้นที่ 1,196 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นการปรับลดลง 13% ในช่วงกว่า 2 สัปดาห์จากที่เคยขึ้นปุคง 1,335 ดอลลาร์ เป็นการปรับขึ้นถึง 24% ตั้งแต่ต้นปี เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินดอลลาร์ และเพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวน โดยราคาทองต้นปีนี้อยู่ที่ 1,060 ดอลลาร์

4.ค่าเงินเวเนซูเอลาดิงลง 15% ในวันเดียวส่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyper-Inflation) จากการที่ค่าเงิน Bolivars ร่วงลงอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ตกต่ำลงมาแล้วกว่า60% นับจากต้นปี โดยมีระดับอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 2,972 ต่อเอลลาร์ ขณะที่ตลาดมืดล่าสุดดิ่งลงที่ 3,480 Bolivars
ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงถึง 17 เท่าจากที่เคยมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 200 Bolivars เมื่อกลางปี 2014 โดยที่อัตราเงินเฟ้อของเวเนฯจากรายงานของไอเอ็มเอฟอาจพุ่งทะลุเกิน 700% ในปีนี้เทียบกับ 141% ในปี 2015

5. OECD ปรับคาดการณ์ใหม่จีดีพีสหรัฐภายใต้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและผลักดันเงินเฟ้อสูขึ้นในปี 2017 อยู่ที่ 2.3% จาก 1.9% ส่วนปี 2018 อยู่ที่ 3.0% จาก 2.2% นอกจากนี้ยังมีการปรับคาดการณ์จีดีพีโลกขยับดีขึ้นด้วยเช่นกัน จาก 3.2% เป็น 3.3% ในปี 2017 และจาก 3.3% เป็น 3.6% ในปี 2018

logoline