svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จับตา!!! "ทรัมป์" ไม่สานต่อ TPP ของ "โอบามา"

21 พฤศจิกายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Top 5 ข่าวการเงินโลก ประจำวันจันทร์ 21 พฤศจิกายน 2559 โดย วัชรา จรูญสันติกุล บรรณาธิการอาวุโส เครือเนชั่น

เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ตลาดบอนด์ทั่วโลกเกิดความปั่นป่วนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะการเกิดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดบอนด์ขนาดใหญ่โดยที่มีปริมาณการซื้อขายสูงถึงวันละ 100 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากที่ในช่วงสองสัปดาห์นับจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งปธน.สหรัฐขณะที่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ปธน.สี จิ้นผิง ของจีน ช่วงชิงบทบาทเป็นผู้นำในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกที่ประเทศเปรู ยืนยันว่าจีนจะมีบทบาทมากขึ้นและร่วมมือกับสสมาชิกเปิดประตูการค้าเสรีและการลงทุนในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยการันตีว่าจะผลักดันจีดีพีของภูมิภาคนี้ให้มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นและมีความยั่งยืน หลังจากเล็งเห็นว่าข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ TPP (Transpacific Partnership) ที่สหรัฐพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นและมีการเซ็นสัญญาเบื้องต้นกับ 12 ชาติ อาจต้องปิดฉากเนื่องจากทรัมป์จะไม่สานต่อการริเริ่มในยุคสมัยของ ปธน.บารัค โอบามา
1.นักลงทุนทำการเทขายบอนด์อย่างหนักส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกมากกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่ราคาดำดิ่งลง สวนทาางผลตอบแทนหรือบอนด์ยีลดผท์ที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จนล่าสุดมาอยู่ที่ 2.35% จากช่วงก่อนเลือกตั้งที่ระดับ 1.78% สำนักข่าวบลูมบิร์กรายงานว่าอาจจะได้เห็นบอนด์ยีลด์อายุ 10 ปีของบอนด์รัฐบาลสหรัฐพุ่งระดับ 3% ขณะที่สัปดาห์ที่แล้วโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจชื่อดังของสหรัฐคาดว่าจะได้เห็นบอนด์ยีลด์พุ่งถึง 2.5% ใน 12 เดือนข้างหน้า ส่วนในระยะยาวบอนด์ยีลด์อาจจะปรับตัวสูงถึง 3.25%
อย่างไรก็ตาม กลับส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องของพันธบัตร หรือบอนด์สกุลเงินดอลลาร์ และขาดทุนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในช่วงเวลาผ่านมาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่กว่าช่วง Brexit เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. หลังจากการลงประชามติของชาวอังกฤษให้ถอดถอนการเป็นสมาชิกจากสหภาพยุโรป และยังส่งผลให้ขนาดของการเทรดในตลาดลอนด์ลดลงจากปริมาณ 100 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยตลาดบอนด์ทั่วโลกอยู่ในภาวะที่เรียกว่า Oversold ที่มีการขายมากเกินไปนับจากปี 2000 เรียกว่าย่ำแย่ที่สุดในรอบ 15 ปี
แม้แต่ตลาดบอนด์ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ก็ตกต่ำลงอยู่ในภาวะ Oversold นับจากปี 2014

2.ท่ามกลางดัชนีดาวโจนส์ที่พุ่งขึ้นอย่างมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2011 โดยปิดที่ 18,867 เมื่อวันศุกร์ ขณะที่ S&P 500 ก็พุ่งมากที่สุดนับจากปี 2014 ปิดที่ 2,181 Nasdaq ทะลุระดับ 5,300 โดยมีแรงหนุนจากเม็ดเงินไหลเข้าและการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ Dollar Index พุ่งขึ้นยืนเหนือระดับ 101.31 และอยู่ในภาวะที่เป็น Overbought ซื้อมากเกินไปนับจากปี 2014 ส่งผลเงินยูโรดิ่งลงนับตั้งแต่ปี 2008 อยู่ที่ 1.05 ดอลลาร์ รวมถึงเงินเยนที่ร่วงลงแตะ 111 และเงินหยวนที่อ่อนค่าลงยวบที่ 6.9031 ต่อดอลลาร์ ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าแตะ 35.60 ก่อนขยับแข็งค่าเล็กน้อยปิดที่ 35.51 บาทต่อดอลลาร์


3.ตลาดทองก็ตกต่ำมาหที่สุดนับจากปี 2013 มีการเทขายทองคำมากกว่า 1.93 ล้านออนซ์ ส่งผลราคาดิ่งลงแตะระดับ 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากที่ได้ทะยานขึ้น 20% เพียงช่วงไม่กี่สัปดาห์ซึ่งพุ่งสูงถึง 1,335 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 8 พ.ย. และมาปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,208 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์คาดว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ให้เติบโตสูงขึ้นอีก 0.5-0.7% เหนือระดับ 2% ต่อปีในช่วงปี 2018-2019 จะผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นที่ 2.15-3.0% จะส่งผลให้ราคาทองปรับตัวเพิ่มขึ้น

4. ทั้งนี้มีรายงานว่าผลจากเงินทุนไหลออกจากประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่เข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนส่งผลให้ตลาดบอนด์ขาดสภาพคล่อง ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐขาดแคลนในตลาดการเงินโลกมาถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์ ได้ทำให้ธนาคารหลางในหลายประเทศสูญเสียความสามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินของตัวเอง ทั้งธนาคารกลางสวิส ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารลางจีน จนส่งผลฝห้ค่าเงินอ่อนตัวลงรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

5. จับตาการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกที่ประเทศเปรูเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสำนักข่าวซินหัวรายงานถึงการให้คำมั่นของ ปธน.สี จิ้นผิง ในการที่จีนจะเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งจีนจะเพิ่มการนำเข้าเป็นมูลค่าภึง 8 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
พรัอมกับเรียกร้องให้มีการเปิดกว้างทางการค้าเสรี โดยผลักดันให้รื้อฟื้นข้อตกลงหุ้นส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ระหว่าง 10 ชาติอาเซียน กับ 6 ประเทศคู่เจรจาการค้าคือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยไม่มีสหรัฐ ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่เขตการค้าเสรีในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Free Trade Area of The Asia-Pacific (FTAAP) ที่รวม 21 ประเทศ และอาจเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีปริมาณการค้ามากกว่า TPP ถึง 3 เท่า

logoline