svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

Top 5 ข่าวการเงินโลก 10 พ.ย. 2559

10 พฤศจิกายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Top 5 ข่าวการเงินโลก ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2559 โดย วัชรา จรูญสันติกุล บก.อาวุโส เครือเนชั่น

1. ตลาดหุ้นวหรัฐดีดตัวขึ้นทั้ง 3 ตลาดอย่างพลิกความคาดหมายหลังรับรู้ผลการเลือกตั้งที่ Donald Trump ได้รับชัยชนะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 โดยดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นมากกว่า 256 จุดหรือบวก 1.4% มาปิดที่ 18,589 ส่วนดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้น 1.1% ทั้ง 2 ตลาด แตกต่างอย่างหน้ามือเป็นหลังมือจากตลาดหุ้นล่วงหน้าที่เทรดกันท่ามกลางการนับคะแนนเลือกตั้งที่มีการต่อสู้กันอย่างเข้มข้นและมีความไม่แน่นอน ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สส่งมอบเดือนธ.ค.ดิ่งลงถึง 800 จุด หนือมากกว่า 4% ขณะที่ S&P 500 และ Nasdaq ฟิวเจอร์สดิ่งลงมากกว่า 5% จนต้องระงับการซื้อขายในบางช่วงขณะ

2. หุ้นเอเชียที่ดิ่งลงมากที่สุดคงเป็นนิคเคอิ 225 ดิ่งลงกว่า 900 จุดหรือมากหว่า 5% ในทิศทางเดียวกับเงินเยนที่อ่อนค่าแตะ 105.69 ต่อดอลลาร์เทียบกับค้นสัปดาห์ซึ่งยืนอยู่ที่ 102 เยน โดยเช้าวันนี้นิคเคอิดีดกลับตามหุ้นสหรัฐบวก 968 จุดหรือ 5.96%

3. หุ้นยุโรปเปิดตลาดลบแดงเถือกก่อนที่ดีดตัวปิดบวกใน 3 ตลาดหลักทั้งตลาดหุ้นลอนดอนบวก 1% ตลาดหุ้นฝรั่งเศสและเยอรมันบวกเพิ่มขึ้น 1.5% ทั้ง 2 ตลาด ส่วนเงินยูโร่วงลงแตะ 1.09 ดอลลาร์ และปอนด๋แตะที่ 1.24 ดอลลาร์ หลังจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับทุกสกุลเงินโลกอยู่ที่ระดับ 98.47 ส่งผลเงินบาทเช้านี้อ่อนค่าลงที่ 35.10 ต่อดอลลาร์ จากวานนี้เงินบาทแข็งค่าที่ 34.91

4. สำหรับราคาทองคำทรงตัวที่ 1,278 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังยืนเหนือ 1,308 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งปธน.สหรัฐเมื่อวันที่ 8 พ.ย. อย่างไรก็ตามมีการจับตามองว่าราคาทองน่าจะแข็งค่าขึ้นในอนาคต เพราะโดยนโยบายของ Trump จะต้องมีการปรับระบบการเงินสหรัฐเสียใหม่ โดยหันมาอิงค่าเงินดอลลาร์กับทองคำมากขึ้น แทนนโยบายปัจจุบันที่พิมพ์ดอลลาร์ได้โดยไม่มีสินทรัพย์ทางการเงินใดๆหนุนหลังเป็นทุนสำรอง แน่นอนว่าทิศทางเงินดอลลาร์จะมีความผีนผวนมากขึ้น จากภาวะฟองสบู่ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐทุกวันนี้

5. Trump ขึ้นมาเป็นปธน.สหรัฐคนใหม่ ถูกมองว่าเป็นคลื่น Brexit2 ที่จะส่งผลต่อความไม่แน่นอนต่อระบบการเงินโลกต่อไป จนกว่าจะดำเนินการให้ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Federal Reserve กลับมายึดกรอบการดำเนินนโยบายที่อยู่ในภาวะเป็นปกติ หรือ Normalized คือสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้เมื่อมีความจำเป็นต้องปรับจัวขึ้น แทนการใช้นโยบายการเงินสุดโต่งทั้งกดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมรา 0% ต่อไป หรือการปั๊มเงิน QE vpjkไม่อั้นจำนวนมากกว่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์เพื่ออุ้มธุรกิจและธนาคารขนาดใหญ่เหมือนเมื่อครั้งวิกฤติเศรษฐกิจ การเงินในสหรัฐครั้งล่าสุดเมื่อปี 2008

logoline