svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

มารู้จัก.. "โทษประหารชีวิต "

06 กรกฎาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แทบทุกครั้งที่เกิดคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญประชาชน อย่างเช่น ทีี่เพิ่งเกิดกรณีีนายชาตรี ร่วมสูงเนิน ก่อเหตุสยองฆ่าข่มขืน โดยใช้มีดปาดคอ น.ส.จุฬารัตน์ โทวรรณา ครูสาว เสียชีวิตในห้องพัก อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ก็ได้มีเสียงเรียกร้องดังกระหึ่ม ให้ลงโทษ " ประหารชีวิต " กับผู้ก่อเหตุ เพื่อจะได้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำขึ้น

ดังนั้น จึงลองมาทำความรู้จักกับ "โทษประหาร" ในประเทศไทยกัน# โทษประหารชีวิต คืออะไรตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายคำว่า " ประหารชีวิต" ว่า ฆ่า,ลงโทษฆ่า# ทำไมต้องประหารชีวิตการลงโทษประหารชีวิตก็เพื่อแก้แค้นผู้กระทำความผิด ให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำ และเป็นการตัดโอกาสที่ผู้กระทำความผิดจะหวนกลับมากระทำความผิดอีก และเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เพราะเมื่อมีการประหารชีวิต คนที่คิดจะทำกระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน ก็ไม่กล้ากระทำ เพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษประหารชีวิตเช่นกันดังนั้น โทษประหารชีวิต ถือเป็นมาตรการลงโทษที่เก่าแก่และรุนแรงที่สุด ซึ่งได้มีการบังคับใช้ในหลายประเทศ มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เป็นการกำจัดผู้กระทำความผิดออกจากสังคมอย่างเด็ดขาด ด้วยวิธีีการ "ฆ่า"# บ้านเรามีโทษประหารหรือไม่ มีมาช้านานแล้วและปัจจุบันก็ยังมีอยู่ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย โทษทางอาญามี 5 สถาน คือ ประหารชีวิต ,จำคุก,กักขัง,ปรับและะริบทรัพย์สิน โดยโทษประหารชีวิต เป็นโทษหนักที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับโทษประหารชีวิต เกือบทุกประเทศไม่ให้นำมาใช้กับผู้กระทำความผิดที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมทั้งประเทศไทย# ความผิดใดบ้างที่มีโทษตามกฎหมายถึงประหารชีวิตความผิดฐานค้ายาเสพติด, ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น, ความผิดฐานฆ่าข่มขืน, ความผิดฐานกบฏ, ,ความผิดฐานก่อการร้าย ,ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย,ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ จะเห็นได้ว่า ความผิดฐานฆ่าข่มขืน มีโทษตามกฎหมายถึงประหารชีวิต อยู่แล้ว# วิธีการประหารโทษประหารในสมัยโบราณที่ใช้กันทั่วไปก็คือ "การฟันคอด้วยดาบ" ต่อมาเพื่อให้ดูทันสมัยมากขึ้น ไม่ให้ชาวตะวันตก มองว่า ป่าเถื่อน จึงเปลี่ยนเป็น "ยิงเป้า" คือ ใช้ปืนยิงให้ตาย โดยใช้มาตั้งแต่ปี 2477 เรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2546 ได้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต จาก"ยิงเป้า" เป็นวิธี"ฉีดยา" ให้ตาย ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน# มีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่24 ส.ค 2552 ทางราชทัณฑ์ได้ทำการประหารชีวิตด้วยการฉีดยานักโทษคดียาเสพติดรายสำคัญ 2 ราย คือ นายบัณฑิต เจริญวานิช และ นายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งถูกจับกุมพร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด จากนั้นก็ไม่มีการประหารชีวิตจริงอีกเลย นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 7 ปีแล้ว# ระยะเวลานานแค่ไหน จึงจะถือว่าประเทศใดไม่มีโทษประหารในทางพฤตินัยหรือในทางปฏิบัติจริง แม้ว่ากฎหมายในประเทศนั้นยังมีโทษประหารอยู่
ตามหลักสากล หากไม่มีการประหารชีวิตจริง เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 10 ปี ถือว่า ไม่มีโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ# ปัจจุบันมีกี่ประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต ประมาณ 22 ประเทศ ที่ยังคงโทษประหารชีวิตหรือคิดเป็น 1 ใน 10 ของประเทศทั่วโลก ในขณะที่มีประมาณ 140 ประเทศ หรือคิดเป็นมากกว่า 2 ใน3 ของประเทศทั่วโลก ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีหลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศที่มีโทษประหารชีวิต เนื่องจาก ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิต เป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก อย่างเช่น 4 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ก็ยังมีโทษประหารชีวิตอยู่# เหตุผลของผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตโทษประหารชีวิต เป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะกำจัดอาชญากรผู้เป็นภัยออกจากสังคมอย่างเด็ดขาด โดยอาชญากรผู้นั้นจะไม่สามารถหวนกลับมาก่อเหตุร้ายได้อีก ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูและทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีความยำเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตและไม่กล้าทำความผิดที่มีลักษณะรุนแรงทำลายล้างต่อชีวิตผู้อื่น อันเป็นการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ
# เหตุผลของผู้คัดค้านโทษประหารชีวิตโทษประหารชีวิต เป็นโทษที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสมอกัน เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้นอกจากนี้ การใช้โทษประหารชีวิตยังมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดโดยอาจถูกนำไปใช้กับ"ผู้บริสุทธิ์" ดังนั้นหากมีการประหารชีวิตไปแล้ว ก็จะไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกประหารชีวิตนั้นเป็น"ผู้บริสุทธิ์"ก็ตามอีกทั้ง โทษประหารชีวิตไม่มีผลในการข่มขู่ ยับยั้ง ที่ทำให้คนเกรงกลัวและไม่กล้าทำผิด เพราะว่า โทษประหารชีวิต จะมีผลต่อการยับยั้งการกระทำผิดของบุคคลทั่วไปซึ่งไม่ทำผิดอยู่แล้ว แต่ไม่มีผลในการยับยั้งผู้ร้ายหรือผู้กระทำผิดที่เป็นอาชญากรอาชีพ ซึ่งมีความชำนาญและตัดสินใจทำผิด เพราะคิดว่าตัวเองหลุดรอดหรือผู้กระทำผิดที่มีความโหดเหี้ยมทารุณ ซึ่งกระทำไปแบบไม่ได้คิดไตร่ตรอง เนื่องจากถูกครอบงำจากสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเสพติด

logoline