svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

รายการ คม ชัด ลึก : เรียกร้องเพิ่มโทษ "ข่มขืนต้องประหาร "?

04 กรกฎาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ คนร้ายฆ่าปาดคอ น.ส.จุฬารัตน์ โทวรรณา หรือครูอิ๋ว อายุ 27 ปี ครูโรงเรียนแสงวิทยา อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เมื่อกลางดึกวันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก่อนจะจับกุมนายชาตรี ร่วมสูงเนิน อายุ 27 ปี ชาว จ.สระบุรี คนร้ายที่ก่อเหตุได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ในเวลาไล่เลี่ยกันยังมีคดีข่มขืนนักศึกษาในห้องน้ำสาธารณะย่านบางนา กทม. ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้เพิ่มโทษในคดีข่มขืนเป็นประหารชีวิตสถานเดียวกลับมาอีกครั้ง

ตัวแทนจากเพจเพิ่มโทษคดีข่มขืนให้ประหารชีวิต กล่าวว่า ตามปกติโทษของการฆ่าคนตายโดยเจตนา ก็คือ ประหารชีวิต แต่ที่พยายามเรียกร้องให้โทษในคดีข่มขืนเท่ากับประหาร เนื่องจากการข่มขืน แม้เหยื่อรอดชีวิต แต่ความรู้สึกของเหยื่อก็เหมือนกับตายทั้งเป็น การฟื้นฟูทางจิตใจให้เหยื่อกลับมาเหมือนเดิมมีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
หากเหยื่อโชคร้ายโดนฆ่า กว่าจะผ่านกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอน สารภาพก็ได้รับการลดโทษ อย่างเช่น กรณีของนายชาตรีที่ก่อเหตุกับครูอิ๋วนั้น เคยก่อเหตุมาแล้วหลังจากรับสารภาพก็ลดโทษ ติดคุกเพียง 2 ปีแล้วก็ออกมา หลังจากนั้นเพียง 10 เดือน ก็ก่อเหตุอีก ไม่อยากให้เป็นวงจรที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะต้องให้มีเหยื่ออีกกี่คน?
จริงแล้วๆ ไม่ได้อยากให้ฆ่าใคร แต่ต้องการให้กฎหมายรุนแรงกว่านี้การประหารชีวิตเป็นเรื่องที่รุนแรง แต่การข่มขืนหลายคนมองว่า โทษไม่เท่ากับประหาร อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่า บทลงโทษตามกฎหมายที่ใช้ขณะนี้ยังเบาอยู่มาก อยากให้มีการขับเคลื่อนกฎหมายรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจจะไม่ต้องประหารก็ได้ แต่อาจจะใช้วิธีฉีดยาให้อวัยวะเพศฝ่อ หรืออะไรที่สาสมพอให้ประชาชน โดยเฉพาะสุภาพสตรีเกิดความรู้สึกปลอดภัย

รายการ คม ชัด ลึก : เรียกร้องเพิ่มโทษ "ข่มขืนต้องประหาร "?


ต่อคำถามที่ว่า คนร้ายที่ก่อเหตุข่มขืน จะต้องรับโทษประหารชีวิตสถานเดียวใช่หรือไม่นั้น ตรงนี้ขอให้ดูเป็นกรณีเป็นรายๆ ไป เช่น ถ้าเหยื่อโดนหนักที่สุดแล้วถึงขั้นตาย เขาก็ควรที่จะรับโทษประหาร
เคยมีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นในเพจว่า เขาสมควรตาย แต่ในความเป็นมนุษย์เราไม่ได้อยากฆ่าใคร แค่อยากให้รู้สึกว่า การที่ไปทำร้ายใครแบบนั้น มันมีโทษนะ ไม่ใช่แค่เวรกรรมเท่านั้น
จากที่หลายคนมองหากมีการเพิ่มโทษรุนแรง จากที่คนร้ายข่มขืนเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ฆ่าเหยื่อ จะทำให้คนร้ายจะฆ่าเหยื่อด้วยนั้น โดยส่วนตัวเห็นว่า หากคนร้ายรู้ว่า โทษรุนแรง โทษหนัก ทำไมไม่แก้ที่ต้นเหตุ คือ ตัวเองต้องคิด ต้องมีความยับยั้งชั่งใจตัวเอง
ธกร อำพันธ์เปรม ผู้เรียกร้องเพิ่มโทษคดีข่มขืนให้ประหารชีวิต กล่าวว่า ขอถามว่ากี่ศพแล้ว ศพแล้วศพเล่า ทำไมกฎหมายไทยถึงไม่แก้ ?ผมทราบดีครับว่า การฆ่าข่มขืนมีโทษประหาร แต่พอคนร้ายรับสารภาพ ก็ได้รับการลดโทษ ซึ่งผมเห็นว่าไม่ได้ทำให้คนร้ายลดความรุนแรงในพฤติกรรม จากการได้รับการลดโทษ กลับลงมือรุนแรง โหดเหี้ยมกว่าเดิม การถูกจองจำไม่ได้ทำให้เขาเกิดความหลาบจำเลย
กระบวนการยุติธรรมควรจะแก้ไขอะไรบ้างหรือยัง ? ทำไมเราต้องมาพูดกันหลังจากเกิดเหตุ
โดยส่วนตัวเชื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพิ่มโทษให้หนักขึ้น สังคมยอมรับได้

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม ม.มหิดล กล่าวว่า กระแสเรียกร้องให้ประหารชีวิตในคดีข่มขืนมีมานานแล้ว
ในการพิจารณาคดีนั้น มีประเด็นที่เกี่ยวข้องเข้ามาเช่น ในเรื่องปรัชญา การลงโทษก็คือ การแก้แค้น ทดแทน แต่ก็ไม่ได้ใช้กับทุกคดี

รายการ คม ชัด ลึก : เรียกร้องเพิ่มโทษ "ข่มขืนต้องประหาร "?


คดีข่มขืน ร้อยละ 75 เป็นคนใกล้ตัว อีกร้อยละ 25 เป็นการดักฉุด ซึ่งพฤติกรรมของคนร้ายจะข่มขู่ กรณีนี้เหยื่อรอดชีวิต หากกำหนดโทษถึงประหารชีวิต คนร้ายหลังก่อเหตุก็อาจจะฆ่าเหยื่อ
กรณีข่มขืนแล้วโทษประหารชีวิตสถานเดียว คนร้ายจะพยายามสุดชีวิตให้ตัวเองรอด อาจจะด้วยการติดสินบนเจ้าพนักงาน
กรณีหลังก่อเหตุถูกนำมาข่มขู่เรียกค่าเสียหาย โดยเหยื่อผู้หญิงเป็นผู้นำมาใช้กับผู้ก่อเหตุ เพราะการข่มขืนธรรมดา ยอมความได้

รายการ คม ชัด ลึก : เรียกร้องเพิ่มโทษ "ข่มขืนต้องประหาร "?


กรณีกระบวนการยุติธรรมไม่สมบูรณ์แบบ เกิดความผิดพลาด มีข้อสงสัย หากประหารไปแล้ว ใครจะรับผิดชอบ เอาความสะใจไม่ได้
กฎหมายในปัจจุบัน เหมาะสมแล้ว ต้นเหตุที่รุนแรงมาจากปัญหาทางสังคมมากกว่า กระบวนการกฎหมายเป็นปลายเหตุ ในหลายประเทศใช้วิธีป้องกันที่ต้นเหตุ เช่นปรับปรุงสภาพแวดล้อม ติดกล้องวงจรปิด หรือบางประเทศจะมีแท็กซี่สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ คนขับก็เป็นผู้หญิง สำหรับในบ้านเราที่มีอยู่ก็จะเป็นที่จอดรถสำหรับผู้หญิง หรือที่เรียกว่า พิงค์ปาร์ค

logoline