svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

คพ.เรียกค่าโง่คลองด่าน

12 มิถุนายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คพ.เรียกค่าโง่คลองด่าน คำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 115/2559 11 พ.ค.2559 เรื่องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีอดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ มีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย

คำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 115/2559 11 พ.ค.2559 เรื่องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณี ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย1.อ้างนิติกรรมเป็มโมฆะ คพ.ต้องชำระเงินตามสัญญา = 2,840,228,600 บาท / 24,470,454 เหรียญ2.อ้างนิติกรรมเป็นโมฆะ สัญญายุติ รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์โครงการ = 15,089,289,431 บาท / 121,343,887 เหรียญนายประพัฒน์ ตั้งกก.ตรวจสอบและเสนอแนะบริหารสัญญา ที่ 9/2546 ไม่มีผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้รับผิดชอบโครงการ จึงขาดความรอบคอบระมัดมะวังนายประพัฒน์ เห็นชอบตามที่ กก.ตรวจสอบ อ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะ ตามหนังสือ ทส.0100/พิเศษ 24 ก.พ.2556 ในวันเดียวกันที่กรรมการเสนอมา การลงเลขรับหนังสือของสำนักงานรัฐมนตรี ภายหลังวันที่ ประพัฒน์ มีข้อสั่งการทั้งที่โครงการมูลค่า 22,949,984,020 และขณะนั้นก่อสร้างไปแล้ว 98% เบิกจ่ายเงินไปแล้ว 17,045,889,431 บาท / 121,343,887 เหรียญ คิดเป็น 90%นายประพัฒน์ รีบเร่งแต่งตั้ง นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ มารักษาการอธิบดี คพ. วันที่ 26 ก.พ.2546 เพื่อมาดำเนินการยกเลิกสัญญาตามคำสั่งของตนเองไม่เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี พิจารณาก่อน คพ.ต้องจ่ายเงินชดใช้ค่าจ้าง ค่าเสียหาย ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดยที่ไม่สามารถใช้โรงบำบัดน้ำเสีย จากค่าจ้างที่ คพ.จ่ายไปแล้วตามสัญญา จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง พฤติกรรม ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ส่วนที่ 1 ความเสียหายที่คพ.จ่ายตามคำพิพากษาศาลปกครอง อันมาจากคำกล่าวอ้างสัญญาเป็นโมฆะ คพ.ต้องชำระเงินตามสัญญาจ้างพร้อมค่าเสียหายจากผิดสัญญา กก.ต้องชดใช้ให้ทางราชการ 30% ของความเสียหาย จำนวน 2,840,228,600 บาท และ 24,470,454 เหรียญ อาศัย มาตรา 12 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ประพัฒน์ ต้องชดใช้เงิน 852,068,580 บาท และ 7,341,136 เหรียญส่วนที่ 2 ความเสียหายจากการกล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะของกรมควบคุมมลพิษ ทำให้การก่อสร้างตามสัญญายุติลง รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์โครงการฯ กก.ต้องชดใช้ให้ทางราชการ 30% ของความเสียหาย จำนวนราชการเสียหาย 15,089,289,431 บาท และ 121,343,887 เหรียญ อาศัย มาตรา 12 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ประพัฒน์ ต้องชดใช้ 4,526,786,829 บาท และ 36,403,166 เหรียญคำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 116/2559 11 พ.ค.2559 คณะกรรมการตรวจสอบและเสนอแนะการบริหารสัญญาโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ตามคำสั่ง ที่ 9/2546 วันที่ 16 ม.ค.25461.นายสุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี หรือ สิริภพ ดวงสอดศรี2.นายธาริต เพ็งดิษฐ์3.นายยงยุทธ ศรีสัตยาชน4.นายเสมอ ลิ้มชูวงศ์5.นายมนู ทองศรี หรือ นายธิติ กนกทวีฐากรเหตุผลรายงานผลตรวจสอบและเสนอแนะการบริหารสัญญา (ครั้งที่ 1) พร้อมข้อเสนอแนะต่อนายประพัฒน์ เสนอให้กรมควบคุมมลพิษ กล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นการนำเสนอโดยมิได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือแม้แต่คู่กรณีตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง รวมถึงเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ความเห็นหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเมื่อพิจารณาจากรายงาน ไม่ตรวจสอบสัญญาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเงื่อนไขผู้ยื่นประมูลในลักษณะกิจการร่วมค้า ต้องกำหนดตัวหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งมีอำนาจทำการแทน ในการก่อความรับผิดและรับเงิน รวมทั้งยังต้องผูกพันตามข้อเสนอที่ยื่นและจะเสนอยกเลิกเพิกถอนข้อเสนอกลางคลันไม่ได้ แต่ได้นำหลักฐานที่ไม่ครบถ้วนมาใช้ในการตรวจสอบและสนับสนุนความเห็นเพื่อให้เชิ่อว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ ถือว่าคณะกรรมการฯ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539การเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุให้ คพ.ได้รับเสียหายหาย ต้องจ่ายเงินชดใช้ค่าจ้าง ค่าเสียหาย ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดยที่ไม่สามารถใช้โรงบำบัดน้ำเสีย จากค่าจ้างที่ คพ.จ่ายไปแล้วตามสัญญา จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง พฤติกรรม ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการ ตามนัยมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด พ.ศ.2539กรรมการต้องรับผิด ส่วนที่ 1 ความเสียหายที่ คพ.จ่ายตามคำพิพากษาศาลปกครอง อันมาจากคำกล่าวอ้างสัญญาเป็นโมฆะ กรรมการฯ ทั้ง 5 คน ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหาย โดยรับผิดคนละส่วนเท่า ๆ กัน เป็นเงินคนละ 113,609,144 บาท และ 978,818 เหรียญส่วนที่ 2 ความเสียหายจากการกล่าวอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะของกรมควบคุมมลพิษ ทำให้การก่อสร้างตามสัญญายุติลง รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์โครงการฯ กก.ต้องชดใช้ให้ทางราชการ 20% โดยให้รับผิดคนละส่วนเท่า ๆ กัน คนละ 603,571,577 บาท และ 4,853,755 เหรียญ ให้กรรมการทั้ง 5 คนจ่ายเงิน ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง หากพ้นกำหนด คพ.จะบังคับทางปกครอง แต่สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15วัน และฟ้องศาลปกครอง ภายใน 90 วันคำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 117/2559 11 พ.ค.2559 กรณีนายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะผู้ว่าจ้างตามสัญญาเลขที่ 75/2550 20ส.ค.2540 มีหน้าที่บริหารสัญญาให้เป็นไปตามเงื่อนไข นายอภิชัย มีหนังสือกรมควบคุมมลพิษ ที่ ทส.0300/1330 ลงวันที่ 28 ก.พ.2556 แจ้งกิจการร่วมค้าให้ยุติการก่อสร้าง เพราะสัญญาเป็นโมฆะ กรมควบคุมมลพิษ ไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานใดเสนอความเห็นข้อเท็จจริงมีเพียง กรรมการตรวจสอบฯ 3 คน คือ นายสุรเชษฐ์ นายธาริต และนายเสมอ ประชุมเมื่อวันที่ 27 ก.พ.2546 ร่วมกับนายอภิชัย ร่างหนังสือบอกกล่าวนิติกรรมเป็นโมฆะ ภายในวันที่ 28 ก.พ.2546 ในวันที่ วันที่ 7 มี.ค.2546 นายอภิชัย ยังแจ้งยกเลิกวิศวกรรมที่ปรึกษาต่อมากิจการร่วมค้าทำหนังสือ 3 ฉบับ ยืนยันสัญญาเลขที่ 75/2546 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2540 ยังมีผลตามกฎ

logoline