svasdssvasds
เนชั่นทีวี

กีฬา

เบื้องหลัง "ตบสาวไทย" พ่ายญี่ปุ่น

19 พฤษภาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปรีชาชาญ วิริยานุภาพพงศ์ บรรณาธิการข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ซึ่งเดินทางไปเกาะติดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง คัดเลือกโอลิมปิก ที่ประเทศญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เนชั่นทีวีว่า นอกจากทางผู้จัดการทีมชาติไทยได้ไปยื่นหนังสืออุทธรณ์แล้ว ขณะที่โค้ชอ๊อต" เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร มองว่าไม่สมควรได้ใบแดงอย่างยิ่ง เขาเพียงเข้าไปสอบถามถึงระบบแท็บเล็ตที่ในการเปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอชาเล้นจ์ดูภาพการแข่งขันบางช่วง ซึ่งระบบแท็บเล็ตไม่เวิร์ค

บรรณาธิการข่าวกีฬา นสพ.เดอะเนชั่น กล่าวถึงโอกาสของทีมไทยในการเข้าไปเล่นโอลิมปิก หลังจากลงสนาม 4 นัด ชนะ 1 แพ้ 3 เกม ว่า บอกตามตรงว่ามีโอกาส แม้จะริบหรี่ แต่จะต้องชนะ 3 แมทช์ที่เหลือทั้งหมด และเก็บให้ได้ 3 คะแนน ทุกนัด และรอลุ้นให้ทีมอื่นไปตัดคะแนนกันเอง แต่ค่อนข้างยาก ทาง เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร โค้ชวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ได้บอกไว้ว่าจะทำให้เต็มที่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้ง 3 แมทช์จริงๆ เมื่อคืน(18 พ.ค.) ผู้จัดการทีมได้ทำร่างหนังสือส่งอุทธรณ์ไปยัง FIVB รวมทั้งฝ่ายการแข่งขันว่ามีการตัดสินที่ไม่เหมาะสมในเซ็ตที่ 5 ในเวลาที่ชี้เป็นชี้ตาย แล้วมาให้ใบแดงถึง 2 ใบ ซึ่งต้องมีเหตุผลที่สมควร แต่เท่าที่สัมภาษณ์นักกีฬาว่าเกิดอะไร กรรมการถึงให้ใบแดงเรา เขาให้เหตุผลว่าเรากำลังถ่วงเวลา แต่จริงๆไม่ใช่ โดยเรื่้องนี้โค้ชอ๊อตกล่าวว่า ไปถามเจ้าหน้าที่ว่าทำไมการเปลี่ยนตัวผู้เล่น หรือ การขอชาเลนจ์ แต่เขาไม่ให้คำตอบเรา และกรรมการก็ให้ใบแดงเรา ซึ่งมันไม่แฟร์
บรรณาธิการข่าวกีฬา นสพ.เดอะเนชั่น เปิดเผยว่า มีการรู้ภายหลังว่าความจริง เจ้าหน้าที่ควบคุมแท็บเล็ตเป็นชาวอีตาลี แต่ช่วง 2-3 วันนี้เขาไม่อยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่รายนี้จะต้องผลัดกันประจำการกับคนควบคุมมอนิเตอร์ชาวญี่ปุ่นอยู่ชั้น 2 อีกที ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะเป็นคนส่งสัญญาณขอชาเลนจ์เข้ามาได้หรือไม่ เป็นข้อสงสัยของแฟนคลับชาวไทยตรงนี้ และตอนที่มีนักกีฬาญี่ปุ่นไปทับเส้นอยู่ ไทยเราคิดว่าได้คะแนนแน่นอนจึงขอชาเลนจ์ แต่มันไม่มีปุ่มขึ้นให้ชาเลนจ์ ซึ่งโค้ชยะ ที่ถือแท็บเล็ตอยู่ก็แจ้งว่า กดหลายครั้งแล้วแต่ไม่ขึ้นไม่รู้ทำไม โค้ชอ๊อดจึงเดินไปแจ้งว่ามันไม่เวิร์คแล้วแท็บเล็ต แต่กรรมการให้ใบแดงเราเฉย

เบื้องหลัง "ตบสาวไทย" พ่ายญี่ปุ่น


ทั้งนี้ ชาเลนจ์ คือการท้าทายคำตัดสินของผู้ตัดสิน เช่น เรามองต่างกับผู้ตัดสินว่ามันทัชบ้าง อะไรบ้าง หากสัญญาณขึ้นว่าให้ชาเลนจ์ ผู้ตัดสินก็จะโอเคให้ดูภาพซ้ำ ถ้าได้คะแนนก็ได้ไป ถ้าไม่ ก็เป็นไปตามที่ตัดสิน
"ผู้ตัดสินสามารถเนียนให้คะแนนอีกฝ่ายได้ หากคิดว่าคนดูหรือผู้อื่นไม่รู้ แต่คนดูเกมถ้าดูออกว่าโกงก็จะรู้ เช่นเกมเมื่อวานที่ให้ใบแดงเรา 2 ใบ และเมื่อโดนใบแดง 1 ใบ เราก็จะต้องเพิ่มคะแนนให้กับทีมตรงข้าม 1 แต้ม โดยครั้งแรกที่เราโดนใบแดงคือโค้ชยะ ที่ไม่มีปุ่มกดชาเลนจ์ ครั้งที่ 2 คือโค้ชอ๊อด ตัวนักกีฬาเข้าใจว่าเราไปขอแย้ง แต่กรรมการกลับมองว่าถ่วงเวลา นักกีฬาก็เลยงงว่าเรายังไม่ได้ทำอะไรเลย" ปรีชาชาญ กล่าว
ก่อนหน้านี้ก็มีปัญหามาตั้งแต่แรก โดยโค้ชอ๊อดก็ไปแจ้งแล้วว่าแท็บเล็ตอันนี้มันใช้ไม่ได้ เราควรหาวิธีใช้แบบเดิมคือชูป้าย แล้วเปลี่ยนจะสะดวกกว่า แต่รายงานไป 3 วันกลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เขาไม่ยอมรับว่ามันไม่ปกติ ไม่เสถียร และยิ่งหัวหน้าชาวอีตาลีไม่อยู่ด้วย ทุกอย่างก็เลยไปอยู่กับชาวญี่ปุ่นทั้งหมด
บรรณาธิการข่าวกีฬา นสพ.เดอะเนชั่น กล่าวต่อว่า นัดที่แข่งกับโดมินิกันก็มีปัญหาเช่นนี้ คือ ปุ่มชาเลนจ์กดไม่ได้ ก็เกิดปัญหาทันที ซึ่งทางโค๊ชบอกว่าเราไม่ควรเอามาใช้กับโอลิมปิกเช่นนี้ ควรเอาไปใช้กับพวกเวิล์ดกรังด์ปรีซ์ หรือรายการเล็กๆ แม้จะมีมาก่อนหน้านี้ แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกของทีมไทยที่เคยใช้ และไม่ได้ระบุวิธีใช้มาด้วยว่าใช้อย่างไร มาวันแรกก็บอกให้ใช้โดยศึกษาเอาเอง

logoline