svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ย้อนรอยการต่อสู้ ของชาวบ้านเหมืองทอง

10 พฤษภาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นับเป็นชัยชนะของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ หลังครม.มีมติยกเลิกการทำเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ ที่ผ่านมาต้องต่อสู้กับบริษัทเหมืองแร่มาอย่างยาวนาน กับผลกระทบที่ยากจะฟื้นฟู ติดตาม กับคุณธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย

เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่ชาวบ้านรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร เดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อร้องเรียนผลกระทบ /// วันนี้ ธัญญารัศมิ์ สินทรธรรมทัช แกนนำเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำเหมืองทองคำ จ.พิจิตร บอกเล่าความรู้สึก หลังรัฐบาลตัดสินใจปิดเหมืองทอง
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2544 บริษัท อัครา รีซอเซส จำกัด (มหาชน) สัญญชาติออสเตรเลีย เริ่มถลุงแร่และประกอบโลหะกรรม โดยได้รับใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับสากล ในการดำเนินการทุกขั้นตอน

ย้อนรอยการต่อสู้ ของชาวบ้านเหมืองทอง

ปัจจุบันบริษัทอัครา มีกำลังการผลิตสินแร่ 6.2 ล้านตันต่อปี จำนวนนี้นำไปผลิตเป็นโลหะทองคำ จำนวน130,000 ออนซ์ ต่อปี และ ผลิตโลหะเงิน ได้เป็นจำนวน 1,000,000 ออนซ์ต่อปี
เนื้อที่ที่ได้รับใบประทานบัตรทำเหมือง เป็นแหล่งแร่ทองคำที่เรียกว่า ชาตรี มีจำนวนทั้งหมด 9 แปลง คลอบคลุ่มพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวม 3,900 ไร่ ใบประทานบัตรเหมืองชาตรีเหนือจะหมดอายุใน พ.ศ. 2571 ส่วนใบประทานบัตรเหมืองชาตรีใต้ จะหมดลง พ.ศ. 2563

ย้อนรอยการต่อสู้ ของชาวบ้านเหมืองทอง


แต่การคัดค้านของชาวบ้านรอบเหมืองเริ่มต้นราวปี 2553 มีการฟ้องศาลปกครองให้ระงับใบประทานบัตรของบริษัทอัครา เนื่องจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เหมืองเริ่มได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ปัญหาน้ำกินนำใช้เป็นปัญหาที่ลงผลกระทบต่อชีวิตมากที่สุด เกิดผืนคันในชาวบ้านหลายคน มีคนตายบ่อยขึ้นชาวบ้านหมู่ที่ 9 ตำบลเขาหม้อ เริ่มทยอยขายที่ดินให้เหมือง และอพยพย้ายออก นี่คือโรงเรียนทับคล้อในปัจจุบัน โรงแห่งนี้อยู่ใกล้ข้างเหมืองทองคำมากที่สุด ผู้ปกครองพาเด็กๆย้ายออก กลายเป็นโรงเรียนร้าง

มกราคม ปี 2558 สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เปิดเผยผลตรวจเลือดชาวบ้านรอบเหมืองแห่งนี้ พบว่า จากตัวอย่าง 731 ราย มี 483 รายที่มีโลหะหนัก สารหนูและแมงกานีสในร่างกายสูงเกินค่ามาตรฐาน

ย้อนรอยการต่อสู้ ของชาวบ้านเหมืองทอง

ข้อมูลจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า มีคำขออาชบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ ค้างอยู่ 177 แปลง ในพื้นที่ที่สายแร่ทองคำพาดผ่าน ทั้ง จ.เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล รวมพื้นที่ 1 ล้าน 6 แสนไร่ บริษัทที่ยื่นคำขอส่วนใหญ่ เป็นบริษัทลูก ของบริษัทอัครา รีซอเซส จำกัด (มหาชน)

ย้อนรอยการต่อสู้ ของชาวบ้านเหมืองทอง


logoline