svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กสร.เตรียมเอาผิดโรงงานพลุสุพรรณ หลายข้อหา

06 พฤษภาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กสร.ตรวจสอบเหตุโรงงงานทำพลุสุพรรณบุรี เตรียมเอาผิดเจ้าของโรงงาน หากพบไม่แจ้งครอบครองสารเคมีอันตราย ไม่แจ้งอันตราย ไม่อบรมลูกจ้าง จะเอาผิดตามกฎหมายความปลอดภัย เผยตรวจเบื้องต้นพบแรงงานเมียนมาร์ 6 คนที่เสียชีวิตมีเอกสารประจำตัวทุกคน กำชับตรวจสอบเข้ม 3 กลุ่มทั้งก่อสร้าง เสี่ยงอัคคีภัยและสารเคมีอันตราย

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน น.ส.พรรณี ศรียุทธศักดิ์ บอกกรณีโรงงานทำพลุระเบิดที่ ต.พลับพลาชัย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ช่วงเช้าวันนี้ (6พ.ค.) เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วและได้รายงานว่า โรงงานทำพลุแห่งนี้ไม่มีบ้านเลขที่ มีแรงงานเมียนมาร์เสียชีวิต 6 คนเป็นชาย 2 คนและหญิง 4 คน
โดยทุกคนมีเอกสารประจำตัวคือ1. Mr.thet Paitun ถือหนังสือเดินทางหมดอายุ 25 มิ.ย.2558 2.นางเต็ง เต็ง ยี ถือบัตรบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือบัตรชมพูหมดอายุ 31 มี.ค 25593.นายโซ ถือบัตรชมพูหมดอายุ 31 มี.ค 2559 4. หญิงไม่ทราบชื่อ(ภาษาพม่า) ถือบัตรประจำตัวที่ทางการเมียนมาออกให้ 5.นางเมน่วยโซ และ6.นางมีหน่วยซู โดยทั้งสองคนนี้ถือบัตรแสดงตนบุคคลต่างด้าว เพื่อใช้แรงงานภาคการเกษตร แต่ไม่ทราบหน่วยงานที่ออกบัตร

กสร.เตรียมเอาผิดโรงงานพลุสุพรรณ หลายข้อหา


อธิบดีก สร. บอกอีกว่า ขณะเดียวกันได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ กสร.ด้วยว่า บ้านและที่ดินเกิดเหตุเป็นของนายทหารนอกราชการนายหนึ่ง ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าผู้ใดเป็นคนนำแรงงานต่างด้าวทั้ง 6 ราย เข้ามาพักอาศัยและทำงานอยู่ในบ้านหลังที่เกิดเหตุ ซึ่งพนักงานสอบสวนจะสอบสวนผู้กระทำผิด และติดตามเจ้าของโรงงานทำพลุมาสอบสวนต่อไป
ส่วนสาเหตุการระเบิดนั้น เจ้าหน้าที่คาดว่าแรงงานเมียนมาผลิตพลุโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะที่สารเคมีที่ใช้ทำพลุเป็นสารโปรแตสเซียมไนเตรทซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กำหนดให้ผู้ครอบครองสารเคมีอันตรายต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ กสร.ในพื้นที่ จะตรวจสอบว่าได้แจ้งหรือไหม่ หากไม่แจ้งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ กสร.จะตรวจสอบตามมาตรา 14 พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ กรณีไม่แจ้งอันตรายให้ลูกจ้างทราบ โทษปรับ 50,000 บาท มาตรา 16 กรณีไม่มีการอบรม โทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 34 ถ้านายจ้างไม่แจ้งการเกิดอุบัติเหตุและรายงานอุบัติเหตุ ภายใน 7 วัน มีโทษปรับ 50,000 บาท หากไม่ดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ก็จะเอาผิดตามกฎหมาย

ก่อนหน้านี้ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ กสร.ทุกพื้นที่เฝ้าระวังและตรวจสอบสถานประกอบการ 3 กลุ่มคือ กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มเสี่ยงเกิดอัคคีภัยและกลุ่มสารเคมีอันตราย เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาทั้งสถานประกอบการ 3 กลุ่มนี้มีสถิติประสบอันตรายสูง





logoline