svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

นักวิชาการเตือน "คุมตัวผู้ต้องหาป่วยหนักฝากขัง" อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน

19 มีนาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559 ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน เปิดเผยกรณีการควบคุมตัวนายเจนภพ วีรพร ผู้ต้องหาคดีขับชนรถเก๋งฟอร์ด เฟียสต้า บนถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา ไปขออำนาจศาลฝากขังผัดแรกที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซี่งภายหลังศาลอนุญาตให้ประกันตัวด้วยวงเงิน 2 แสนบาท โดยให้ไปรักษาตัวต่อที่ รพ.สมิติเวช และห้ามขับรถ รวมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ว่า หากมองในมุมของสิทธิมนุษยชน ภาพที่ปรากฎออกมา นายเจนภพยังคงนอนอยู่บนเตียงพยาบาล ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ในฐานะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่กลับถูกพรากออกไปจากแพทย์ผู้ดูแล ซึ่งดูจากสภาพแล้วน่าจะไม่ได้อยู่ในฐานะและเจตนาจะหลบหนี ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของบิดานายเจนภพ ก็ยืนยันว่าไม่ได้หลบหนี

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559 ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน เปิดเผยกรณีการควบคุมตัวนายเจนภพ วีรพร ผู้ต้องหาคดีขับชนรถเก๋งฟอร์ด เฟียสต้า บนถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา ไปขออำนาจศาลฝากขังผัดแรกที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซี่งภายหลังศาลอนุญาตให้ประกันตัวด้วยวงเงิน 2 แสนบาท โดยให้ไปรักษาตัวต่อที่ รพ.สมิติเวช และห้ามขับรถ รวมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ว่า หากมองในมุมของสิทธิมนุษยชนภาพที่ปรากฎออกมาว่า นายเจนภพยังคงนอนอยู่บนเตียงพยาบาล ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ในฐานะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่กลับถูกพรากออกไปจากแพทย์ผู้ดูแล ซึ่งดูจากสภาพแล้วน่าจะไม่ได้อยู่ในฐานะและเจตนาจะหลบหนี ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของบิดานายเจนภพ ก็ยืนยันว่าไม่ได้หลบหนี
ทั้งนี้ ตามหลักสิทธิมนุษยชน ผู้ต้องหาที่เป็นผู้ที่ได้รับความเจ็บป่วย มีสิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เมื่อตำรวจจะดำเนินสิ่งใด เป็นอำนาจการตัดสินและดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลว่าผู้ป่วยรายนี้มีความพร้อมที่จะถูกควบคุมตัวไปดำเนินการใดๆหรือไม่ ส่วนการขออำนาจศาลฝากขังหากผู้ต้องหายังไม่พร้อมทางร่างกายตามดุลพินิจของแพทย์ เจ้าหน้าที่ก็สามารถยื่นเรื่องเพื่อยืดระยะเวลาออกไปได้

นักวิชาการเตือน "คุมตัวผู้ต้องหาป่วยหนักฝากขัง"
อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน


สำหรับกรณีการฟ้องร้องเอาผิดพนักงานสอบสวนจะสามารถทำได้หรือไม่ ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า จะสามารถฟ้องร้องได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานพิสูจน์ว่า การควบคุมตัวออกมาทำให้อาการเจ็บป่วยของผู้ต้องหาร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากเช่นกัน
"มันมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือ หลักสิทธิมนุษยชนผู้ต้องหาที่บาดเจ็บมีสิทธิได้รับการดูแลจากแพทย์ แม้ว่าการกระทำของเขาจะมีความผิดร้ายแรง แต่เขาอยู่ในสภาพช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็ต้องคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ป่วยด้วย ส่วนที่ 2. ตามหลักเมตาธรรม ก็ต้องคิดว่า แม้ว่าเขาจะมีความผิดร้ายแรง แต่ยังอยู่ในสภาพเจ็บป่วย ก็ต้องให้ความเมตา การควบคุมตัวออกมาต้องอยู่ในดุถลพินิจของแพทย์ เพราะอาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยมากขึ้น หรือสูญเสีย ถ้าพิสูจน์ว่าเขาไม่ได้หลบหนี ไม่มีการหลีกเหลี่ยงรกระบวนการยุติธรรมก็ควร อดทน ให้โอกาส รักษาจนอยู่ในสภาพที่พร้อมก่อน เพราะถ้ามีอาการรุนเรงเพิ่มขึ้น ก็จะต้องมีผู้รับผิดชอบ ดังนั้น ตำรวจควรต้องต้องวินิจฉัยว่าผู้ต้องหาอยู่ในสภาพอย่างไร และควรต้องฟังความเห็นจากแพทย์ ถ้าออกมาแล้วไม่ปลอดภัยพนักงานสอบสวนก็ต้องรับผิดชอบ"ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าว

logoline