svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

"จุฬาฯ" ชี้ "ไพโรเจน" มีพิษน้อย

15 มีนาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากเหตุการณ์ปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัยที่อาคารเอสซีบีปาร์กระตุ้นให้สารดับเพลิงแก็สไพโรจเจนทำงาน จนทำให้ออกซิเจนหมดไป ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน วันนี้(15/3/2559) คณะอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาควิชาที่เกี่ยวข้องแถลงข่าว เรื่อง มาตราการการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยจากสารเคมีในอาคาร โดย ผศ.ดร.ศรัณย์ เตชะเสน ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ บอกว่า ไพโรเจนเป็นสารเคมีชนิดใหม่ และมีการโฆษณาว่ามีพิษต่ำ การออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับเวลา และบริเวณแวดล้อม ในกรณีอาคารเอสซีบีปาร์ค เป็นพื้นที่ปิด ส่วนที่มีผู้เสียชีวิต เกิดจากความประมาท และการจัดการรับมือกับระบบป้องกันภัย

ด้าน ศ.ดร.ธีรยุทธ์ วิไลวัลย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้เกี่ยวข้องไม่ทราบว่าการปรับปรุงห้องเก็บเอกสารเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงกระตุ้นการทำงานของระบบดับเพลิงห้องใต้ดินอาคารเอสซีบีปาร์ค และไม่มีระบบบายพาส (by-pass) เมื่อเกิดเหตุ ห้องปิดล็อกไม่สามารถเข้า-ออกได้ ไม่มีเครื่องช่วยหายใจคู่กับระบบป้องกันอัคคีภัยระบบนี้ จึงสันนิฐานได้ว่าเจ้าของอาคารขาดการประเมินและการบริหารจัดการความเสี่ยง และขาดการสื่อสารความเสี่ยงกับผู้รับเหมา และพนักงานของบริษัทขณะที่ นายแพทย์ครองวงศ์ มุสิกถาวร หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยืนยันอีกครั้งว่า สารไพโรเจนมีพิษน้อย และการอยู่ในพื้นที่จำกัดอาจจะได้รับสารพิษอื่นๆ เป็นปัจจัยร่วมทำให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งหาก 1) มีความสามารถที่จะออกมาได้ และ 2)การดูการปฐมพยาบาล ความสูญเสียก็อาจน้อยลงส่วน นายแพทย์ธนดล โรจนศานติกุล หัวหน้าศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บอกถึงวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันว่า ให้ออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ใส่หน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ และการปั้มหัวใจเมื่อหมดสติ อย่างไรก็ตาม รศ.นาวาโทไตรวัฒน์ วิรยศิริ บอกทิ้งท้ายว่า โดยทั่วไปคนไทยมักจะละเลยการวาลแผนเอาใจใส่ความปลอดภัย แม้จะมีกฏหมายควบคุมอาคารแต่ก็ไม่เคยถูกบังคับใช้จริงจัง เหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจึงอยากให้มองเป็นบทเรียนเพื่อเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัย

logoline