svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เทคโนโลยี 4G ที่รอคอย

11 พฤศจิกายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การประมูล 4จี ในวันนี้ สำหรับคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz วันที่ 15 ธันวาคม ที่คาดว่า การประมูลน่าจะมีสีสัน และมีการแข่งขันที่น่าสนใจ ถ้าเรียบร้อยตามแผน คนไทยจะได้เห็นความหวือหวาจากเทคโนโลยี 4G อย่างไร ติดตามจากคุณวุฒินันท์ นาฮิม

การรอคอยยาวนานหลายปีของคนไทย จะได้มีส่วนร่วมสัมผัสและใช้ประโยชน์จากคลื่นโทรคมนาคม 4 จี กำลังจะสิ้นสุดลง และเริ่มต้นยุคใหม่เสียที  เพราะค่อนข้างล้าหลังชาติอื่นๆ  นับตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน เกาหลีใต้เริ่มทดลองให้ 4G ก่อนชาติอื่นๆ จนกระทั่งมีกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งชาติอาเซียนที่เป็นเพื่อนบ้าน (ยกเว้นเมียนมาร์)
ความนิยมของ 4G รุนแรงมาก จนกระทั่งอุปกรณ์พกพาและสมาร์ทโฟนทั่วโลกรุ่นใหม่ล่าสุด ได้ออกแบบมารองรับ  4G กันอย่างแพร่หลาย ในขณะที่อุปกรณ์ที่เคยใช้  3G กลายเป็นสินค้าตกรุ่นใช้การไม่ได้หลายประเทศ          เทคโนโลยี 4 จี คือคำตอบสำหรับการแก้โจทย์ใหญ่สุดของธุรกิจโทรคมนาคม นั่นคือ การเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงของอุปสงค์ในตลาดผู้ใช้ที่เคลื่อนย้ายโครงสร้างจากพฤติกรรมการใช้เสียงไปสู่ไม่ใช้เสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ผู้ให้บริการหรือโอเปอเรเตอร์ยังไม่สามารถสนองตอบความต้องการเปลี่ยนโครงสร้างนี้ได้ดีเพียงพอ
โจทย์สำคัญของธุรกิจนี้คือ เน้นหนักที่ ความเร็วต้องได้ และ คุณภาพต้องเสถียร  ความเร็วต้องได้ ก็คือ เมื่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคตเคลื่อนจากการสนทนาด้วยเสียง ไปสู่การสนทนาด้วยเสียง พร้อมภาพ และข้อความ เสมือนกับวิดีโอทอล์ก ผู้ให้บริการมีภารกิจต้องสรรหาคลื่นความถี่ และบริการที่สนองตอบ ตามที่ผู้บริโภคต้องการให้ได้ เพราะเทคโนโลยีเดิมคือ เทคโนโลยีระยะเปลี่ยนผ่านที่เรียกว่า 3G +LTE ไม่สามารถตอบสนองได้ดีเพียงพอ
4G+LTE สามารถสนองตอบการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลทั้ง  voice  และ non-voice ได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ เพราะการสื่อสารผ่าน non-voice จะเป็นการสื่อสารหลัก โดยมี voice เป็นช่องทางรอง เปรียบได้ง่ายคือ 4 จี คือ ซุปเปอร์ไฮเวย์ ในขณะที่ 3 จีคือ ทางหลวงชนบท ส่วน 2 จีคือ ถนนลูกรัง
จุดเด่นของเทคโนโลยี 4G+LTE อยู่ที่มีพัฒนาการที่สำคัญมากกว่า 3G ในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ นอกเหนือจากยกระดับการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 1 Gbps จากต้นทาง และ 100 Mbps ที่ปลายทางทุกหนแห่งภายในเครือข่าย ซึ่งรวดเร็วประมาณ 5-10 เท่าของปัจจุบัน ทำให้รองรับการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เรื่องเสียงเป็นรอง โดยที่ในการใช้งานของเครื่องลูกข่าย แทบจะไม่มีสะดุด  ปัจจุบันพัฒนาการของระบบสำรองข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Cloud Computing ซึ่ง เติบโตปีละมากกว่า 100% จะยิ่งทำให้การนำ 4G+LTE มาใช้ ขยายตัวรวดเร็วยิ่งขึ้น

logoline