svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ชาวสวนปรับตัว รับราคายางตก

10 พฤศจิกายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในช่วงที่ราคายางตกต่ำเหลือแค่กิโลกรัมละ 30 ถึง 35 บาท ทำให้ชาวสวนยางต้องปรับตัวทดลองปลูกพืชชนิดอื่นๆไปติดตามกับผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย ลงไปสำรวจชีวิตชาวสวนครั้งนี้

ช่วงเวลาที่กรีดยางได้ดีที่สุดคือช่วงตี 2 ยาวไปจนถึง 7 โมงเช้า ป้าชุบ แท่นทอง ที่แม้จะอยู่ในวัย 66 ปีแล้ว แต่ยังมีวีถีชีวิตแบบสวนยางคนอื่นๆ ที่ต้องตื่นตั้งแต่เช้ามืด
เดิมทีที่ดิน สปก.จำนวน 18 ไร่ในตำบลบางสน อำปะทิว จังหวัดชุมพร ของป้าชุบผืนนี้เป็นสวนมะพร้าวทั้งหมด ก่อนจะเปลี่ยนมาปลูกยางพารา เมื่อปี 2535 ราคายางเคยสูงสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 107 บาท ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากยังสามารถส่งออกไปขายในต่างประเทศได้
แต่ปัจจุบันราคายางลดลงไปมาก อยู่ที่กิโลกรัม ละ 30 ถึง 35 บาทเนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านก็ปลูกยางพาราด้วย เช่นเดียวกัน ราคายางที่ตกต่ำกำลังส่งผลกระทบต่อปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง
ป้าชุบลดต้นทุนด้วยการเลิกจ้างคนกรีดยาง และกำลังทดลองปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น สัปรด ถั่วลิสง เผือก แตงโม และมะนาว เพื่อรองรับสิ่งที่ไม่คาดคิด ก็คือราคายางอาจจะตกลงไปมากกว่านี้ แต่การปลูกพืชต้นเล็ก ก็เป็นเพียงการปลูกเสริม ส่วนพืชที่จะปลูกเป็นรายได้หลักนอกจากยาง อาจเปลียนไปปลูกปาล์ม แต่ก็มีราคาที่ต่ำพอๆ กัน
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน คณะรัฐมนตรีมีมติ ช่วยเหลือชาวสวนยาง ด้วยการชดเชยต้นทุนการผลิต 1500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 15 ไร่ ซึ่งแบ่งให้เจ้าของสวนยาง 900 บาทต่อไร่ และ คนกรีดยาง 600 บาท ต่อไร่ คิดเป็นสัดส่วน 60:40 โดยจะชดเชยให้เกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 8 แสน 5 หมื่นครัวเรือน
นอกจากนี้ ยังอนุมัต 4 โครงการ สนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศ ได้แก่โครงการปูพื้นสนามฟุตซอลโรงเรียนเทศบาล 240 แห่ง // บล็อกยางปูพื้นนอกอาคารโรงเรียน 450 แห่ง บล็อกยางปูพื้นคอกปศุสัตว์ 80 แห่ง และใช้สร้าง-ซ่อมถนน 2.3 หมื่นตัน

logoline