svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เทคนิคภาพเชิงซ้อน แกะรอยคนร้าย

01 ตุลาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตำรวจนำเทคนิคการเปรียบเทียบภาพเชิงซ้อน 3 มิติบนใบหน้า มาใช้กับคนร้ายลอบวางระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทร แม้ผลจะยังไม่ออกมาเป็นทางการ แต่การตรวจพิสูจน์นี้สามารถสนับสนุนพยานหลักฐานให้ชัดเจนมากขึ้น ไปติดตามรายงานนี้จากคุณพรรณทิพา จิตราวุฒิพร

ภาพถ่ายบุคคลต้องสงสัยในหลายคดีถูกนำมาผ่านเทคโนดลยีภาพเชิงซ้อน หรือ "ไบโอเมทริก" ซึ่งเป็นนิติวิทยาศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้หาเบาะแสคนร้าย
อาเดม คาราดัก หรือบิลลา เติร์ก มูฮัมหมัด และไมไรลี ยูซูฟู สองผู้ต้องหาคดีระเบิดราชประสงค์ ถูกถ่ายภาพและนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบภาพเชิงซ้อนเช่นกัน โดยตรวจเทียบกับภาพถ่ายชายเสื้อเหลืองและเสื้อม่วงที่กล้องวงจรปิดบันทึกภาพไว้ได้ ซึ่งจะเป็นหลักฐานยืนยันตัวคนร้าย เช่นเดียวกับรอยลายพิมพ์นิ้วมือและดีเอ็นเอ
อดีตที่ปรึกษาสัญญาบัตร 10 ยืนยันเทคนิคการเปรียบเทียบใบหน้า สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ แต่ยังไม่ถือเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล ซึ่งวิธีการจะกำหนดจุดสมมุติหลายจุดไว้บนภาพใบหน้า รวมทั้งส่วนของอวัยวะที่อยู่บนศรีษะ ก่อนจะนำจุดสมมุติเหล่านี้มาประมวลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบการทำงานในการวัดเปรียบเทียบ
เทคนิคการเปรียบเทียบใบหน้าเชิงซ้อน เคยถูกนำมาใช้คลี่คลายคดีเหตุระเบิด 3 จุดในพื้นที่สน.คลองตัน เมื่อต้นปี 2555 โดยกล้องวงจรปิดสามารถจับภาพคนร้ายซึ่งเป็นชายต่างชาติ /ตำรวจได้ตรวจสอบภาพบุคคลต้องสงสัยรายแรกที่มีลักษณะคล้ายผู้ต้องหา ก่อนนำมาเปรียบเทียบกับภาพเชิงซ้อน 3 มิติ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วกลับไม่สอดคล้องกัน
ตำรวจสืบสวนใหม่อีกครั้งโดยนำภาพผู้ต้องสงสัยที่ลักษณะใกล้เคียงกับผู้ต้องหา จากการผ่านด่านตรวจของตม.ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ปรากฎว่า การเปรียบเทียบภาพเชิงซ้อนสอดคล้องกัน ซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลได้นำมาสู่การออกหมายจับคนร้าย
(เทคนิคการเปรียบเทียบใบหน้าเป็นหนึ่งในเทคนิคทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ตำรวจนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบหน้าของคนร้ายว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่ โดยต้องดูที่ความสอดคล้อง ส่วนสำคัญของเทคนิคนี้จะเป็นการคัดแยกผู้บริสุทธิ์ออกจากข้อกล่าวหา และเป็นการสนับสนุนพยานหลักฐานให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น)

logoline