svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ย้อนรอย 25 ปีสัญญาสัมปทาน เอไอเอส

01 ตุลาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ที่ลงนามโดยนายไพบูลย์ ลิมปพยอม ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย กับ คุณหญิงพจมาน ณ ป้องเพรช ซึ่งขณะนั้นยังมีสถานะเป็น นางพจมาน ชินวัตร ในฐานะกรรมการผู้จัดการเอไอเอส

ผ่านไป 25 ปี สัญญาฉบับนี้ได้กลับมาสร้างวิบากกรรมให้กับเอไอเอสอีกครั้ง
โดยเฉพาะการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 6 เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2544 และ การแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ปี 2545 ในช่วง ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นการแก้ไขสัญญาที่เอื้อประโยชน์ให้กับ ทักษิณ ชินวัตร จนมีคำสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ 4 หมื่น 6 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553
ภายหลังคำพิพากษาศาลฎีกา รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งให้กระทรวงไอซีทีเรียกค่าเสียหายจากเอไอเอส กว่า 88,359 ล้านบาทแต่เอไอเอสปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายก้อนนี้ โดยให้เหตุผลว่า การแก้ไขสัญญาเป็นไปโดยความสมัครใจ ผ่านขั้นตอนการพิจารณา และเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกรรมการทีโอทีแล้ว จึงมีผลผูกพันที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติ พร้อมยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาไม่ได้ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ในทางตรงกันข้าม กลับทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มจากผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นปัญหานี้ยืดเยื้อมาหลายปี กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ได้มีหนังสือให้ทีโอที เร่งรัดและเรียกร้องผลประโยชน์ที่เสียไปจากเอไอเอส แต่เรื่องก็ไปค้างอยู่ที่บอร์ดทีโอทีการประชุมครม.เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงสั่งการให้ รัฐมนตรีไอซีที อุตตม สาวนายน เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาฯ และข้อเสนอของ ป.ป.ช.แม้ว่าในวันนี้สัญญาสัมปทานระหว่างเอไอเอสกับทีโอทีจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่เอไอเอสยังจะต้องเผชิญกับการถูกฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายจากทีโอที กรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานเป็นเงินกว่า 7 หมื่น 2 พันล้านบาท

logoline