svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คุก 4 ปี 4 เดือน"วีระกานต์ - ณัฐวุฒิ - วิภูแถลง -หมอเหวง" บุกบ้านป๋าเปรม

16 กันยายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ห้องพิจารณา 813 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก - 16 ก.ย.58-ศาลอาญา พิพากษาจำคุก " วีระกานต์ - ณัฐวุฒิ - วิภูแถลง -หมอเหวง" 4 แกนนำ นปช. 4 ปี 4 เดือนไม่รอลงอาญา นำเดินทางสนามหลวงปี 50 บุกบ้านป๋าเปรม ประธานองคมนตรี กดดันลาออกจากตำแหน่ง ส่วน "นพรุจ แกนนำพิราบขาว" โดนด้วยจำคุก 2 ปี 8 เดือน ขณะที่ยกฟ้อง 2 แนวร่วมพยานหลักฐานอัยการ ยังไม่ชัด ด้านทนาย ยื่นเงินสดประกันตัวคนละ 5 แสน สู้คดีชั้นอุทธรณ์



เมื่อเวลา 10.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาคดีชุมนุมล้อมบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ปี 2550 คดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายนพรุจหรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 , นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน , นายวันชัย นาพุทธา , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ นพ.เหวง โตจิราการ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เป็นจำเลยที่ 1-7 มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ , ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรค 2 ,215 , 216 , 297 , 298 ประกอบมาตรา 33 , 83 และ 91 กรณีเมื่อวันที่ 22 ก.ค.50 แกนนำ และแนวร่วม นปช. นำขบวนผู้ชุมนุมหลายพันคน จากเวทีปราศรัยเคลื่อนที่ สนามหลวง ไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อเรียกร้องกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ ซึ่งนายนพรุจ จำเลยที่ 1 ได้ใช้ ไม้เสาธง ตีประทุษร้ายร่างกาย ร.ตอ. ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม เป็นเหตุให้กระดูกข้อมือแตกเป็นอันตรายสาหัสวันนี้นายวีระกานต์ อดีต ประธาน นปช. จำเลยที่ 4 ไม่ได้เดินทางมาศาล เนื่องจากมีอาการป่วยเลือดออกในลำไส้ จึงได้มอบให้ ผู้แทน นำใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ มายื่นแสดงต่อศาล เพื่อขอเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปก่อน ศาลสอบถามอัยการโจทก์แล้วไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาเฉพาะของนายวีระกานต์ จำเลยที่ 4 ออกไป ส่วนจำเลยที่ 1-3 , 5-7 ที่เดินทางมาศาลในวันนี้ ศาลได้อ่านคำพิพากษาในส่วนของจำเลยดังกล่าวโดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์ - จำเลย นำสืบหักล้างกันแล้วเห็นว่า โจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่การชุมนุม เป็นพยานเบิกความว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปช.แต่ละครั้งจะมีการแจ้งสถานที่ในการเคลื่อนขบวนล่วงหน้าทุกครั้ง แต่ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 20-22 ก.ค.50 จำเลยที่ 4-7 ได้ปราศรัยชักชวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมมารวมตัวกันวันที่ 22 ก.ค.เพื่อเคลื่อนขบวนการชุมนุมแต่ยังปกปิดสถานที่ โดยเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุม มารวมตัวกัน ที่สนามหลวง จำเลยที่ 4-7 ก็ได้ปราศรัยในทิศทางเดียวกัน ที่ให้กลุ่มผู้ชุมนุม เดินจากสนามหลวง ไปบ้านสี่เสาเทเวศร์
ทั้งนี้ การชุมนุมในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการชุมนุมโดยสงบตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการชุมนุมมีเพียงแก๊สน้ำตา กระบอกและโล่ เมื่อกลุ่มนปช.เดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เจรจาไม่ให้เคลื่อนขบวนเข้าไปที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เนื่องจากเป็นพื้นที่หวงห้าม แต่ปรากฎว่า นายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 5 ได้พูดชักชวนให้กลุ่มผู้ชุมนุม ฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป และให้เอารั้วเหล็กออก แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สั่งให้เลิกแล้ว แต่จำเลยที่ 5 ยังชักชวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่าด่านสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป โดยมีการแย่งรั้วเหล็กกั้น และผลักดันเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ถอยออก แม้จะไม่ใช่การทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เมื่อมีการยื้อแย่งรั้วเหล็ก ก็ถือว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองส่วนจำเลยที่ 4 -7 ต่อสู้อ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยอมให้ผู้ชุมนุมรื้อรั้วกันเอง โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ขัดขวางนั้น จากภาพเหตุการณ์เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจและแกนนำ นปช.ได้มีการเจรจากัน เพื่อขอไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในบริเวณพื้นที่หวงห้ามดังกล่าว พยานหลักฐานจำเลยที่ 4-7 นำสืบมายังมีน้ำหนักน้อย ไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 4-7 ร่วมกันเป็นแกนนำ ชักชวนให้ทำ หรือไม่กระทำการใดๆ มีพฤติการณ์เป็นหัวหน้าสั่งการ ฯ , ก่อให้เกิดความวุ่นวายตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ส่วนจำเลยที่ 1-3 โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า จำเลยได้ร่วมชุมนุมมาตั้งแต่ต้น แม้นายวันชัย จำเลยที่ 3 จะยอมรับว่า ได้ถูกจ้างให้ขับรถปราศรัย ซึ่งก็ทำไปตามหน้าที่ พยานหลักฐานโจทก์ จึงมีเหตุอันควรสงสัยพอสมควรว่า จำเลยที่ 1-3 มีส่วนกับการชุมนุมหรือไม่ จึงยกผลประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย 1-3สำหรับเหตุการณ์ประทุษร้าย เจ้าหน้าที่ตำรวจ รับฟังได้ว่า ภายหลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนตัวไปถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิกนั้น เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้า การที่กลุ่มผู้ชุมนุมขัดขวาง ใช้อิฐตัวหนอน ขว้างปาเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อไม่ให้จับกุมจำเลยที่ 4-7 โดยจำเลยที่ 4-7ยังพูดชักชวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจแม้พวกจำเลย จะนำสืบว่าไม่ได้พูดปลุกระดม แต่เมื่อความวุ่นวายแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ามา กลุ่มผู้ชุมนุมจึงใช้วัสดุที่อยู่ใกล้ตัวมาป้องกันตัวนั้น ศาลเห็นว่าการจับกุมเป็นหน้าที่ของตำรวจสามารถจับกุมได้เมื่อเห็นการกระทำผิดซึ่งหน้า และตามหลักฐานภาพบันทึกเหตุการณ์ พบว่า จำเลยที่ 4-7 พูดปราศรัยขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแกนนำ นปช.โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมใช้เก้าอี้พลาสติกและก้อนอิฐตัวหนอน ขว้างใส่เจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ใช่การป้องกันตัวตามที่จำเลยกล่าวอ้าง
ส่วนที่พวกจำเลย ปราศรัยไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมทำร้ายเจ้าหน้าที่นั้น หากพิจารณาพฤติการณ์ตั้งแต่ต้นเปรียบเทียบกันแล้ว เห็นว่า คำพูดในส่วนนี้พูดปนกับเร้าให้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ได้มีเจตนาห้ามปรามอย่างจริงจัง และแม้จำเลย 4-7 ไม่ได้ลงมือเอง แต่ได้ปราศรัยข้อความชักชวน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 4-7 มีความผิดฐานยุยงให้ผู้อื่นต่อสู้ขัดขวางส่วนนายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีเจ้าพนักงานที่กำลังปฏิบัติการจับกุม เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ใช้อิฐขวางใส่เจ้าหน้าที่และใช้ไม้เสาธงปัดแกว่งไปมา ระหว่างที่ดึงตัวลงจากรถจำเลยที่ 1 ใช้เข่ากระแทกใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจจนมือขวาหัก จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่สำหรับจำเลยที่ 2-3 โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานในส่วนนี้จึงพิพากษาว่า นายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ฯ ให้จำคุก 4 ปีส่วนนายวีระกานต์ , นายณัฐวุฒิ , นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 มห้จำคุกคนละ 3 ปี ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ โดยกระทำความผิดเป็นหัวหน้า โดยให้จำคุกอีกคนละ 2 ปี ฐานเมื่อเจ้าหนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิก แต่ไม่เลิก และจำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน ฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานด้วย รวมจำคุกจำเลยที่ 4-7 คนละ 6 ปี 6 เดือนขณะที่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง เห็นควรลดโทษให้ คนละ 1 ใน 3 คงจำคุกนายนพรุจ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน

คุก 4 ปี 4 เดือน"วีระกานต์ - ณัฐวุฒิ - วิภูแถลง -หมอเหวง" บุกบ้านป๋าเปรม


ส่วนนายวีระกานต์ , นายณัฐวุฒิ , นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 เหลือจำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน โดยให้ยกฟ้องนายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยที่ 2-3 และให้ริบของกลางทั้งหมด
ทั้งนี้สำหรับนายวีระกานต์ อดีตประธาน นปช. จำเลยที่ 4 นั้น ศาลนัดให้มาฟังคำพิพากษาคดีนี้อีกครั้ง ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เวลา 09.00 น.

คุก 4 ปี 4 เดือน"วีระกานต์ - ณัฐวุฒิ - วิภูแถลง -หมอเหวง" บุกบ้านป๋าเปรม


ภายหลังฟังคำพิพากษา นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมทนายความ กล่าวว่า ขณะนี้ จำเลยทั้งสี่ ได้ยื่นเงินสด คนละ 500,000 บาทขอประกันตัวจำสู้คดีชั้นอุทธรณ์แล้ว ส่วนนายวีระกานต์ รอออกจากการรักษาตัวที่ รพ.แล้ว ค่อยมาศาลตามนัดฟังคำพิพากษาแล้วยื่นประกันสู้คดีต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับคดีชุมนุมปิดล้อมบ้านพักประธานองคมนตรีนั้นพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ยังได้ยื่นฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และนายศราวุธ หลงเส็ง ผู้ร่วมชุมนุม เป็นจำเลยที่ 1-2 ต่อศาลอาญา เมื่อปี 2557 ในคดีหมายเลขดำ อ.2799/2557 ในความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรค 2 , 215 , 216 ด้วย ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ระหว่างการนัดตรวจพยานหลักฐาน

คุก 4 ปี 4 เดือน"วีระกานต์ - ณัฐวุฒิ - วิภูแถลง -หมอเหวง" บุกบ้านป๋าเปรม


โดยคดี ยังมีผู้ต้องหาอีก 4 ราย ที่อัยการรอตัว มายื่นฟ้อง ประกอบด้วย นายจรัล ดิษฐาอภิชัย , นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ , นายบรรธง สมคำ และม.ล.วีระยุทธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา หรือนายวิชิต เพียโคตรส่วน พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัยอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ต้องหาร่วมได้เสียชีวิตแล้ว และนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาร่วมอีกรายขณะนี้ได้หลบหนีไปต่างประเทศจึงยังไม่ได้ดำเนินคดี

คุก 4 ปี 4 เดือน"วีระกานต์ - ณัฐวุฒิ - วิภูแถลง -หมอเหวง" บุกบ้านป๋าเปรม


ส่วนที่พวกจำเลย ปราศรัยไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมทำร้ายเจ้าหน้าที่นั้น หากพิจารณาพฤติการณ์ตั้งแต่ต้นเปรียบเทียบกันแล้ว เห็นว่า คำพูดในส่วนนี้พูดปนกับเร้าให้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ได้มีเจตนาห้ามปรามอย่างจริงจัง และแม้จำเลย 4-7 ไม่ได้ลงมือเอง แต่ได้ปราศรัยข้อความชักชวน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 4-7 มีความผิดฐานยุยงให้ผู้อื่นต่อสู้ขัดขวางส่วนนายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีเจ้าพนักงานที่กำลังปฏิบัติการจับกุม เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ใช้อิฐขวางใส่เจ้าหน้าที่และใช้ไม้เสาธงปัดแกว่งไปมา ระหว่างที่ดึงตัวลงจากรถจำเลยที่ 1 ใช้เข่ากระแทกใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจจนมือขวาหัก จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่สำหรับจำเลยที่ 2-3 โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานในส่วนนี้จึงพิพากษาว่า นายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ฯ ให้จำคุก 4 ปีส่วนนายวีระกานต์ , นายณัฐวุฒิ , นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 มห้จำคุกคนละ 3 ปี ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ โดยกระทำความผิดเป็นหัวหน้า โดยให้จำคุกอีกคนละ 2 ปี ฐานเมื่อเจ้าหนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิก แต่ไม่เลิก และจำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน ฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานด้วย รวมจำคุกจำเลยที่ 4-7 คนละ 6 ปี 6 เดือนขณะที่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง เห็นควรลดโทษให้ คนละ 1 ใน 3 คงจำคุกนายนพรุจ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนส่วนนายวีระกานต์ , นายณัฐวุฒิ , นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 เหลือจำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน โดยให้ยกฟ้องนายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยที่ 2-3 และให้ริบของกลางทั้งหมด
ทั้งนี้สำหรับนายวีระกานต์ อดีตประธาน นปช. จำเลยที่ 4 นั้น ศาลนัดให้มาฟังคำพิพากษาคดีนี้อีกครั้ง ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เวลา 09.00 น.ภายหลังฟังคำพิพากษา นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมทนายความ กล่าวว่า ขณะนี้ จำเลยทั้งสี่ ได้ยื่นเงินสด คนละ 500,000 บาทขอประกันตัวจำสู้คดีชั้นอุทธรณ์แล้ว ส่วนนายวีระกานต์ รอออกจากการรักษาตัวที่ รพ.แล้ว ค่อยมาศาลตามนัดฟังคำพิพากษาแล้วยื่นประกันสู้คดีต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับคดีชุมนุมปิดล้อมบ้านพักประธานองคมนตรีนั้นพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ยังได้ยื่นฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และนายศราวุธ หลงเส็ง ผู้ร่วมชุมนุม เป็นจำเลยที่ 1-2 ต่อศาลอาญา เมื่อปี 2557 ในคดีหมายเลขดำ อ.2799/2557 ในความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรค 2 , 215 , 216 ด้วย ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ระหว่างการนัดตรวจพยานหลักฐานโดยคดี ยังมีผู้ต้องหาอีก 4 ราย ที่อัยการรอตัว มายื่นฟ้อง ประกอบด้วย นายจรัล ดิษฐาอภิชัย , นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ , นายบรรธง สมคำ และม.ล.วีระยุทธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา หรือนายวิชิต เพียโคตรส่วน พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัยอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ต้องหาร่วมได้เสียชีวิตแล้ว และนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาร่วมอีกรายขณะนี้ได้หลบหนีไปต่างประเทศจึงยังไม่ได้ดำเนินคดี

logoline