svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สรุปภาพรวม 7 วันยกร่าง รธน.

20 กรกฎาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การปิดห้องประชุมของกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อปรับปรุงเนื้อหา เป็นความคืบหน้าสำคัญในขบวนการยกร่าง ที่เข้าใกล้ ร่างฉบับสมบูณ์ ที่จะก้าวไปสู่การขอมติรับรองจาก สปช. ติดตามรายละเอียดเรื่องนี้ กับคุณกลกร เวียงดอนก่อ

ตลอด 7 วันของการประชุมนอกสถานที่ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ถือป็น 7 วันสำคัญในการสรุป ทบทวนร่างรัฐธรรมนูญที่เริ่มร่างมานานกว่า 8 เดือน นับตั้งแต่ประชุมนัดแรก เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 มีการปรับแก้ถ้อยคำ ตัดลดไปกว่า 20 มาตรา จากทั้งหมด 315 มาตรา โดยเฉพาะรายละเอียดของการปฏิรูปประเทศ ซึ่งกรรมาธิการจะนำไปไว้ในกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ประธานกรรมาธิการฯ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ยืนยัน แม้มีการปรับลดเนื้อหา แต่ไม่กระทบหลักการสำคัญตาม 4 เจตนารมย์ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน กรอบเวลาที่กระชั้นชิด และเงื่อนไขตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 สำหรับเขาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับในฝัน
เลขาธิการกรรมาธิการยกร่างฯ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ซึ่งผ่านประสบการณ์ร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญมาหลายครั้ง บอกว่า ยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยากที่สุด เพราะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญท่ามกลางความขัดแย้งและแรงกดดันรอบด้าน
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจน ว่า กรรมาธิการฯ จะขยายเวลาออกไป 30 วัน ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ แต่กรรมาธิการบางคน อยากให้ขยายเวลาออกไป เพื่อให้มีเวลาได้ทบทวนร่างอย่างละเอียด และ สปช. มีเวลาจัดทำแผนปฏิรูปมากขึ้น ซึ่งหากขยายเวลา 30 วัน กรรมาธิการฯต้องส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ให้ สปช. ภายใน 23 สิงหาคม จากนั้น สปช.จะใช้เวลา 15 วัน ก่อนลงมติรับหรือไม่รับร่างฯ ประมาณวันที่ 5-7 กันยายน และหาก สปช.เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ แต่หากกรรมาธิการ มีมติไม่ขยายเวลา วันที่ 23 กรกฎาคม ร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายนี้จะต้องถึงมือของ สปช. และการลงมติก็จะเกิดขึ้นราว วันที่ 5-6 สิงหาคมที่จะถึงนี้
ซึ่งเหตุผลสำคัญ ที่กรรมาธิการอาจลงมติขยายเวลาออกไป นอกจากเพื่อต่อลมหายใจให้ สปช.ทำงานต่อ คือ การให้โอกาสผู้ยื่นคำขอแก้ไขมารับฟังคำชี้แจง เพื่อตอกย้ำว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้เปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายจริงๆ

logoline