svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

การถือศีลอดของชาวมุสลิม

17 กรกฎาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การถือศีล-อด คือ การงดจากการกิน การดื่มและงดสิ่งต่าง ๆ ตามที่ศาสนาอิสลามกำหนด ในช่วงเวลาตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนกระทั้งถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้ายกตัวอย่าง ความประเสริฐของการถือศีล-อด ดั่งวจนะของศาสดามูฮำหมัดกล่าวว่า คน ๆ หนึ่งที่ถือศีล-อดหนึ่งวันตามแนวทางที่อัลลอฮ์กำหนด พระองค์จะให้เขาห่างไกลจากไฟนรกถึง 70 ปี ด้วยเหตุของการถือศีล-อดในวันนั้น


องค์ประกอบหลักของการถือศีล-อด        การถือศีล-อดจะเป็นการถือศีล-อดที่ถูกต้อง มีองค์ประกอบที่สำคัญ  2  ประการด้วยกัน  คือ
     1.  ต้องมีความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะถือศีล-อด ความตั้งใจนั้นต้องเกิดจากความเชื่อมันและการตั้งมั่นที่จะถือศีล-อด จึงจะเกิดผลบุญที่ประเสริฐ
     2.  ต้องงดจากการกิน การดื่ม ตลอดจนข้อห้ามต่าง ๆ ตามที่ศาสนากำหนดไว้ ในช่วงเวลาตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนกระทั้งถึงดวงอาทิตย์ฟ้า
ผู้ที่ศาสนากำหนดให้ถือศีล-อด 
ผู้ที่ต้องถือศีล-อดนั้น จะต้องเป็นชาวมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ และมีติสัมปชัญญะสมบูรณ์ครบถ้วน 
ประเภทของผู้ที่ได้รับการผ่อนผันการถือศีล-อด          1.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อดและไม่ต้องชดใช้  ได้แก่  คนเสียสติ  และเด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  (ในกรณีที่เป็นเด็กสมควรที่จะให้ผู้ปกครองฝึกฝนการถือศีล-อด ตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อสามารถทำได้เมื่อถึงวัยที่บรรลุศาสนภาวะ) 
     2.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อดและจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ในวันอื่น  ได้แก่
         2.1  ผู้ป่วยที่ไม่ใช่การป่วยแบบเรื้อรัง
         2.2  คนเดินทาง
         2.3  สตรีที่กำลังมีประจำเดือน         2.4  สตรีที่กำลังมีเลือดหลังการคลอดบุตร
     3.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อดและจำเป็นต้องจ่ายฟิตยะห์  ได้แก่
         3.1  คนชรา
         3.2  คนป่วยที่มีอาการเรื้อรังยาวนาน
         3.3  ผู้ใช้แรงงานหนัก
         3.4  หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก         3.5  การจ่ายฟิตยะห์ชดเชยการถือศีล-อดนั้น คือการให้อาหารแก่คนยากจน 1 คน แทนการถือศีล-อด  1  วัน  การปฏิบัติตนในการถือศีล-อด            1. มีความตั้งใจจะทำการถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น     2.  ต้องรับประทานอาหารสะโฮร             -  อาหารสะโฮร จะเป็นสิ่งใดก็ได้ จะรับประทานมากหรือน้อยก็ได้ หรือแม้แต่เพียงดื่มน้ำ ก็ถือได้ว่าเป็นอาหารสะโฮร            -  เวลาของสะโฮรนั้น จะเริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน จนถึงแสงอรุณขึ้น       จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับประทานอาหารสะโฮรตามเวลา เพราะหากไม่รับประทานนั้น จะถือว่าเป็นการทรมาณร่างกายและการถือศีล-อดในวันนั้นจะไม่สมบูรณ์      3.  รีบละศีล-อดเมื่อเข้าเวลามักริบ          เมื่อได้เวลามักริบ ควรรีบละศีล-อดทันทีโดยไม่รอช้า สมควรละ ศีล-อดด้วยอินทผลัมก่อนที่จะรับประทานอาหารอื่น หากสามารถทำได้ ถ้าไม่มีอินทผลัมก็ให้ละศีล-อดด้วยน้ำก่อน  แล้วจึงรับประทานอาหารอื่น ๆ     4.  งดเว้นการกระทำที่ไร้สาระ หรือสิ่งที่สวนทางกับการ ถือศีล-อด              เพราะการถือศีล-อดไม่ใช่เพียงการอดอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ต้องงดเว้นจากสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ด้วย เช่น การพูด การมองเห็น และการกระทำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่สมควร     5.  ส่งเสริมให้แปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากในช่วงถือศีล-อด     6.  อ่านและศึกษาอัลกุรอาน     7.  ขอดุอาอฺ (ขอพรจากพระเจ้า) ให้มากที่สุด     8.  ทำอิบาดะฮ์ (การทำความดี) ให้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน
สิ่งที่อนุโลมให้กระทำได้ในขณะถือศีล-อด              1.  อาบน้ำ แช่น้ำ หรือดำน้ำ       2.  เขียนตา  หยอดตา       3.  การจูบที่ยังสามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้       4.  ฉีดยา       5.  กรอกเลือด       6.  การกลั้วคอ และการสูดน้ำเข้าจมูก  (แต่ต้องระวังให้มาก )       7.  สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ฝุ่น ควัน  กลิ่น       8.  การสูดดมสิ่งที่มีกลิ่นหอม เช่น ดมดอกไม้  น้ำหอม       9.  การทาครีมที่ผิวหนังของร่างกาย
สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ       1.  สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ด้วย ได้แก่              -  กินหรือดื่มโดยเจตนา (หากเกิดจากการลืมไม่ทำให้เสียศีล-อด)              -  การทำให้อาเจียนโดยเจตนา  (หากอาเจียนเองไม่ต้องถือศีล-อดชดใช้)              -  การมีเลือดประจำเดือน หรือเลือดหลังการคลอดบุตร             -  การทำให้เกิดการหลั่งอสุจิโดยเจตนา  (หากไม่เกิดจากการเจตนา ถือว่าไม่เสียศีล-อด เช่น นอนหลับฝันร่วมประเวณี)              -  การกลืนกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารลงสู่ลำคอ        2.  สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อดและจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ พร้อมจ่ายกัฟฟาเราะฮฺด้วย คือ  การร่วมประเวณีในเวลากลางวันของเดือนรอมฎอนกัฟฟาเราะฮฺ  คือ  การปล่อยทาส 1 คน  หากไม่สามารถทำได้ ก็ให้ถือศีล-อด  2 เดือนติดต่อกัน  หากไม่สามารถทำได้ ก็ให้เลี้ยงอาหารคนยากจน 60 คนสิ่งประเสริฐในดือนรอมฎอนที่มุสลิมต่างแสวงหา คือ คืนอัลก็อดรฺ       คืนอัลก็อดรฺ หรือที่เรียกกันว่า คืนลัยละตุ้ลก๊อด เป็นค่ำคืนที่มีความประเสริฐมากกว่าคืนอื่น ๆ ทั่วไป  ในอัลกุรอานระบุว่า คืนอัลก็อดนั้น มีความประเสริฐมากกว่าคืนอื่น ๆ ธรรมดาทั่วไป ถึง  1,000  เดือน  ดังนั้น จึงสมควรที่จะแสวงหาและทำความดีในค่ำคืนนั้น เช่น การละหมาด การขอดุอาอฺ เป็นต้น
ซะกาตุ้ลฟิตริ (เป็นส่วนชดเชยเพื่อความสมบูรณ์แบบของผลบุญ)
ซะกาตุ้ลฟิตริ หรือที่เรียกกันว่า ซะกาตฟิตเราะฮฺ หมายถึง ซะกาตที่มุสลิมทุกคนที่มีความสามารถจ่ายได้จะต้องจ่ายออกไปก่อนการละหมาดอีด อีดิ้ลฟิตริ
เป้าหมายของซะกาตุ้ลฟิตริ
1. เพื่อให้ผู้ถือศีล-อดมีความบริสุทธิ์จากข้อตำหนิ หรือข้อบกพร่องต่าง ๆในช่วงการถือศีล-อด2. เพื่อเป็นสิ่งช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ยากจน
สิ่งที่กำหนดให้จ่ายเป็นซะกาตุ้ลฟิตริ       ตามตัวบทฮะดีษที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้ คือ ข้าวสาลี , ข้าวฟ่าง , อินทผาลัม , องุ่นแห้ง (ลูกเกด) , นมตากแห้ง     จากสิ่งที่กำหนดมาดังกล่าวนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่จะจ่ายเป็นซะกาตุ้ลฟิตร คือ สิ่งที่เป็นอาหารหลักของผู้คนทั้งหลาย ดังนั้น จึงสามารถใช้หลักการกิยาส (เทียบเคียง) จึงสามารถจ่ายซะกาตุ้ลฟิตริด้วยสิ่งที่เป็นอาหารหลักของแต่ละท้องถิ่นได้ เช่น ข้าวสาร ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เป็นต้น

ชาวมุสลิม กับการละหมาด www.nationtv.tv/main/content/lifestyle/378464163/

logoline