svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

มหาสารคาม - จัดพิธีวางเสาเอก ใหญ่ที่สุดในประเทศ

20 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วัดป่าวังน้ำเย็น ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ลงเสาเอกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ พัฒนาเป็นแหล่งท่อเที่ยวเชิงพุทธมุ่งสู่อาเซียน


ที่วัดพุทธวราราม หรือ วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคามพระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม และพระอาจารย์สุริยันตร์ โฆสปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวังน้ำเย็น พร้อมด้วยนายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามพ่อค้า ประชาชนจากหลายจังหวัด ร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างพระอุโบสถไม้ตะเคียนทอง ซึ่งเมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จจะมีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง และเป็นอุโบสถไม้ตะเคียนทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเนื่องจากจังหดมหาสารคามเป็นเมืองพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งม่องเที่ยงเชิงพุทธ
 โดยตั้งแต่ช่วงเช้า มีประชาชนทยอยเดินทางมาร่วมชื่นชมไม้ตะเคียนทองทั้ง 4 ต้น ที่จะใช้เป็นเสาเอก ขนาดความยาว 10 เมตรกว้าง 1 เมตร 50 เซนติเมตรพร้อมทั้งมาแสวงหาโชคลาภจากไม้ตะเคียน เช่น พยายามสังเกตสิ่งที่เป็นตัวเลข เขียนชื่อและขอพรที่อยากได้ลงบนเสาตะเคียนทอง พร้อมทั้งร่วมกันทำบุญ บริจาคสมทบทุนสร้างอุโบสถ และเข้ากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปทรงเครื่องปางจักรพรรดิ ขนาดความกว้างหน้าตัก 99 นิ้ว สร้างและแกะสลักจากไม้ตะเคียนทองทั้งองค์เช่นกัน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จะนำมาประดิษฐานไว้ภายในอุโอสถไม้ตะเคียนทองที่กำลังเริ่มก่อสร้างดังกล่าว
 สำหรับพิธีพราหมณ์ บวงสรวงเทวา อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นสักขีพยาน ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00 น. และทำพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ ต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 11.09 น. ซึ่งเป็นฤกษ์ในการยกเสาเอกไม้ตะเคียนทองทั้ง 4 ต้น ท่ามกลางประชาชนที่มารอชื่นชมกันนับพันคน
 นายออมสิน จริงแล้ว นายช่างไม้ชาวจังหวัดแพร่ ทำหน้าที่ดูแลควบคุมการก่อสร้างพระอุโบสถไม้ตะเคียนทองเปิดเผยว่า อุโบสถหลังนี้จะสร้างด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งหลัง โดยเสาไม้จะเป็นไม้ตะเคียนทอง จำนวน 32 ต้น แบ่งเป็นขนาดความยาว 11.80 เมตร จำนวน 10 ต้น และขนาดความยาว 10 เมตร จำนวน 22 ต้น แต่ละต้นจะมีความกว้างสูงสุดเมื่อวัดช่วงโคนต้น ประมาณ 1 เมตร 50 เซนติเมตร เล็กสุดขนาด 1 เมตร 10 เซนติเมตร ส่วนความกว้างเมื่อโอบรอบต้นช่วงโคน มีขนาดประมาณ 400 เซนติเมตร หรือ 4 เมตรเป็นไม้ที่จัดหามาจากประเทศลาว เป็นไม้ที่ตายยืนต้น ดำเนินการจัดหาผ่านขั้นตอนและได้รับการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อก่อสร้างเสร็จ อุโบสถหลังนี้จะมีความกว้าง 30 เมตร ยาว 56 เมตร ยกพื้นสูง 4 เมตร หลังคา 6 ชั้น ความสูงรวมกว่า 20 เมตร ถือเป็นพระอุโบสถที่สร้างด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งหลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
 ใช้งบประมาณจากการประเมินเบื้องต้นเกินหลักร้อยล้านบาทขึ้นไป ซึ่งการก่อสร้างจะให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพตามมาตรฐานงานวิศวกรรมก่อสร้างที่มีความแข็งแรงคงทน เช่น ตอกเสาเข็ม 4 ต้น ต่อการใช้เสาไม้ 1 ต้น คัดเลือกเฉพาะช่างผู้เชี่ยวชาญงานไม้ประมาณ 20 คน คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง เพราะจะมีรูปแบบที่ประณีตสวยงามในแบบงานแกะสลักด้วย

logoline