svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปัญหาเด็กด้อยโอกาส "เด็กยากจนยังหลุดจากระบบการศึกษา"

15 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันเปิดเทอมใกล้จะมาถึงแล้ว ทองเลื่อน ทองเถื่อน วัย 50 ปี แม่ของลูกชายวัยกำลังเรียน 2 คน ต้องแบกค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งค่าหนังสือ เสื้อผ้า แล้วยังต้องหาค่าขนมให้ลูก ๆ ได้เรียนหนังสือ

ลูกชายคนโตของเธอวัย 20 ปีกำลังศึกษาอยู่ในระดับปวศ. และลูกชายคนเล็กวัย 12 ปีกำลังขึ้นชั้นป.6 ซึ่งทั้ง2คนอยู่ในวัยที่ต้องใช้จ่าย
รายได้ของ ทองเลื่อน และสามี มาจากอาชีพรับจ้างขนของที่ท่าเรื่อคลองเตยซึ่งไม่ค่อยแน่นอนบางวันอาจไม่มีงาน แต่ในวันที่มีงานรับจ้างก็มีรายได้อยู่เพียง 200 400 บาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายประจำเป็นค่าเช่าบ้านล็อก 4 5 6 ย่านคลองเตย เดือนละ 1,500 บาทเพื่อให้รายได้พอกับค่าใช้จ่ายทำให้ทุกคนในบ้านไม่เว้นแม้แต่ลูกชายคนโตที่กำลังเรียนปวส.ก็ต้องทำงานเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ

ปัญหาเด็กด้อยโอกาส  "เด็กยากจนยังหลุดจากระบบการศึกษา"


แต่สำหรับลูกคนเล็กอย่าง เด็กชายศุภโชค ทองเถื่อน วัยเพียง 12 ปียังเด็กเกินไปที่จะทำงานหนักเขาจึงเป็นคนเดียวในบ้านที่ไม่ได้ทำงานในช่วงนี้ ทองเลื่อนบอกว่าแม้ตนเองจะขัดสนอย่างไรแต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องประคับประคองไว้คือส่งลูกเรียนให้จบเท่าที่เขาจะเรียนได้ โดยไม่ยอมให้ลูกเลิกเรียนกลางคันแน่นอน
ต้องอดทนบางทีชักหน้าไม่ถึงหลังก็ต้องไปกู้แขกมาใช้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 20 ก็ต้องยอม ไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนฉันอยากให้ลูกได้เรียนสูงๆจะได้มีอาชีพรายได้ที่ดีเลี้ยงครอบครัวอยากเห็นใบปริญญาของลูก ทองเลื่อนบอก
ไม่ต่างจาก ยายช้วนหญิงชราวัย 60 ปี ในชุมชนแออัดคลองเตยเช่นเดียวกัน ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลานและเหลนวัยกำลังเรียนถึง 4 คน คนแรกเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 6 คนที่สองเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 4 คนที่ 3 เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 3 และคนสุดท้ายอายุ 3 ขวบกำลังจะเข้าโรงเรียน ซึ่งทั้ง 5 ชีวิตต้อใช้จ่ายไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท
ชาวบ้านร้านตลาดย่านนั้นรู้ดีว่าครอบครัวยายช้วนขัดสนเช่นไรจึงเอื้อเฟื้อข้าวราดแกงหรือก๋วยเตี๋ยวให้บ้างในบางครั้ง
ความขัดสนที่ต้องดิ้นรนเพื่อหารายได้ทำให้ครอบครัวยายช้วนมีปัญหา หลานสาววัยเพียง 14ปี ท้องระหว่างเรียนต้องลาออกกลางคัน ทำให้ยายต้องรับภาระเลี้ยงดูทั้งหลานและเหลน
แม้ครอบครัวทองเลื่อนยืนยันให้ลูกเรียนหนังสือถึงจะมีรายได้ไม่มาก แต่ก็มีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ขณะที่ต้องเลิกเรียนกลางคันจากปัญหาความยากจน โดยข้อมูลจากยูเนสโก ออกมาเปิดเผยว่า
มีเด็กไทยที่ไม่ได้รับการศึกษาในชั้นประถม และลาออกกลางคันสูงถึงเกือบ 600,000 คน ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากประเทศฟิลิปปินส์
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ดร.นิโคลัส เบอร์เนต อดีตรองผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ระบุว่าปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาของไทยสร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมสูงถึงปีละ 330,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3% ของผลิตภัณมวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือเทียบได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณด้านการศึกษาของประเทศในแต่ละปี
อีกผลกระทบหนึ่งของการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กไทย ส่งผลให้ความสามารถแข่งขันของไทย (IMD World Competitiveness Yearbook 2012) ถูกลดอันดับการแข่งขันลดลงเป็นอันดับที่ 30 และอันดับด้านการศึกษาก็ลดลงเป็นอันดับที่ 52 จากทั้งหมด 59 ประเทศ โดยพบว่าการศึกษาเป็นตัวฉุดรั้งความสามารถในการแข่งขัน

logoline