svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ทางรอดชาวนา

13 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัจจุบันเกษตกรส่วนใหญ่ไม่เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว แต่ใช้วิธีการซื้อเมล็ดพันธุ์แทนทำให้ต้นทุนในการทำนาเพิ่มขึ้นเพราะต้องใช้ยา และ ปุ๋ยมากขึ้น จนมีปัญหาหนี้สิน ทำให้มีความพยายามให้ชาวบ้านกลับไปใช้พันธุ์เมืองไปติดตาม "กับคุญ ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย

ยุ้งฉานของนางกนกพร ดิษฐ์กระจันทร์ ชาวนาในต.เจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ยังคงมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหายากเก็บเอาไว้หลายสายพันธุ์ หนึ่งในนั้นคือพันธุ์ข้าวหอมนิล
สิบปีก่อน กนกพร มีวิถีชีวิตแบบชาวนาส่วนใหญ่ ที่ใช้วิธีการซื้อพันธุ์ข้าว 2-3 ปีครั้ง บางคนรับเมล็ดพันธุ์ข้าวจากกรมการข้าว ที่เรียกว่าข้าว กข. บางคนก็เข้าระบบเกษตรพันธะสัญญากับบริษัทอาหารรายใหญ่ แต่ปัญหาก็คือ เมล็ดพันธุ์ข้าวเหล่านั้น กลับถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อปุ๋ย และยา ทำให้ชาวนาต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต
แต่ เกษตรกรส่วนใหญ่ ก็ยังคงมีวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงสารเคมี เพราะข้อท้ายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคือเหมาะที่จะปลูกเป็นนาปี และให้ผลิตผลผลิตน้อยกว่า ทั้งยังไม่เป็นที่รู้จักของตลาดข้าวมากนักปัจจุบันมีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ไม่ถึง 1% ซึ่งสอดคล้องกับสภาพจริงในพื้นที่ แปลงนาจำนวน 5 แปลงผืนนี้ของพี่กนกพร เป็นแปลงนาแบบเกษตรอินทรีย์ ที่ถูกรอบล้อม ไปด้วยแปลงนาของชาวบ้านคนอื่นๆ อีกหลายร้อยไร่ ที่ยังคงใช้สารเคมีอยู่
ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ อาจารย์เดชา ศิริภัทร มีความพยายามที่จะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ให้มีผลผลิตมาก ทนแล้งและแมลง โดยไม่ต้องใช้สารเคมี
นี่คือแปลงกล้านา ข้าวพันธุ์เหลืออ่อน ที่อาจารย์เดชาพัฒนาพันธุ์ได้สำเร็จ ออกรวงมาก ต้นเตี้ยไม่ล้ม และทนแมลงไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ซึ่งข้าวพันธุ์นี้ชาวนาจังหวัดพิจิตรได้ขอนำไปปลูกในฤดูกาลนี้ด้วย
อาจารย์เดชาบอกว่า หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตระหว่างข้าว กข. กับข้าวพันธุ์พื้นเมือง พบว่า ข้าวกข. มีต้นการผลิตอยู่ที่ 8,700 บาท ต่อตัน ขายได้ตันละ 7,000 บาทซึ่งขาดทุน ต้องนำเข้าโครงการจำนำข้าว
ส่วนข้าวพันธุ์พื้นเมืองอย่างข้าวเหลืองอ่อน มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3,000 บาทต่อตัน ขายได้ตันละ 10,000 บาท อีกพันธุ์คือเข้าหอมนิลต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3,000 บาท ขายได้ต้นละว่า 18,000 บาท ซึ่งได้กำไรมากกว่า
ดังนั้นแล้ว เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จึงน่าจะเป็นทางออกของปัญหาหนี้สินชาวนาไทย

logoline