svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หอเชียงใหม่แฉ "เผาซังข้าวโพด" ต้นตอปัญหาหมอกควันภาคเหนือ

21 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline


เชียงใหม่ - หอการค้าเชียงใหม่ เผยมีการเผาพื้นที่ปลูกข้าวโพดนับ 5 ล้านไร่ในภาคเหนือ ส่งผลปัญหมอกควันทุกปี ประสานผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามารับผิดชอบต้นตอปัญหา ทสจ.เตรียมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมาตราการใหม่ คาดปี 59 ลดปัญหาหมอกควันได้

นายวิทยา ครองทรัพย์ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า า ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเผาในพื้นที่ชุมชน หรือจากปัญหาหมอกควันข้ามแดนเป็นหลัก แต่สาเหตุหลักๆจากการสำรวจของนักวิชาการที่ลงพื้นที่ที่จังหวัดเชียงรายพบว่า ค่าหมอกควันกว่า ร้อยละ 70 ส่งผลมาจากการเผาพื้นที่การปลูกข้าวโพด ซึ่งจังหวัดเชียงรายเป็นอันดับ 3 ที่มีพื้นที่การปลูกข้าวโพดมากที่สุดรองลงมาจาก จังหวัดตาก และจังหวัดน่าน โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพดในภาคเหนือมีจำนวนกว่า 5 ล้านไร่ ซึ่งปกติเกษตรกรจะทำการเผาเพื่อ เตรียมพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดในช่วงเดือน กุมภาพันธ์- มีนาคม เป็นประจำทุกปี ส่งผลให้ปัญหาหมอกควันเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ภาคเอกชน ไม่ได้ตำหนิบรรดาเกษตกรแต่อย่างใด เนื่องจากเกษตกรเป็นเพียงผู้ปลูก หากไม่ทำดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะหาเลี้ยงชีพให้ตนเองและครอบครัวได้ แต่อย่างไรก็ตามได้มีการเตรียมการที่จะประสานถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้มีการตรวจสอบดูแลและร้องขอให้บรรดาผู้รับซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์รายใหญ่ ได้เข้ามารับผิดชอบดูแลต้นตอของปัญหา รวมถึงให้มีการบอกกล่าวกับเกษตกรให้ทำการเผาในลักษณธหมุนเวียนกันไป ไม่ทำการเผาในลักษณะกระทำพร้อมกันเพื่อลดจำนวนการเกิดหมอกควัน

ผศ.ดร. ศุทธินี ดนตรี อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เกษตกรส่วนใหญ่ที่มีการปลูกข้าวโพด มักจะนิยมทำการเผาเพื่อทำลายซาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน รวมถึงภูมิประเทศของพื้นที่การปลูกในภาคเหนือที่เป็นพื้นที่เชิงเขาที่ยากลำบากต่อการใช้เครื่องจักร อีกทั้งส่วนใหญเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่มีกฎหมายห้ามใช้เครื่องจักรเข้าไปทำงาน จึงทำให้บรรดาเกษตกรนิยมเลือกวิธีการเผาเป็นวิธีหลัก

เหตุผลที่บรรดาเกษตรกรในภาคเหนือขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดมากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรบนพื้นที่สูงไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ และไม่มีที่ดินทำกิน การทำการเกษตรบนพื้นที่สูงจึงเอื้อต่อพืชที่ใช้น้ำน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะข้าวโพดที่ให้ผลผลิตดีและทำได้ง่ายที่สุด ใช้เวลาปลูกเพียง 3-4 เดือน ซึ่งจะมีการเผาในช่วงเดือน มกราคม -มีนาคม โดยจะมีบรรดาอุตสหากรรมรายใหญ่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจบรรดาเกษตกรพบว่า ปลูกข้าวโพดจะปลูกได้ดีเพียง 1-2 ปีแรกเท่านั้นหลังจากนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยมาบำรุงดินเป็นเงินจำนวนมาจึงต้องทำให้มีการกู้ยืมธนาคารเป็นหนี้สินและเมื่อขายได้ก็ต้องนำเงินมาชดใช้หนี้จนเกิดเป็นวงจรลูกโซ่หมุนเวียนในลักษณะนี้เรื่อยมา สำหรับปัญหาการเผาพื้นที่การปลูกข้าวโพดของเกษตกรที่มีความจำเป็นส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควันทำลายทรัพยากรธรรมชาตินั้นซึ่งเป็นเรื่องที่ยากต่อการแก้ไขเพราะเกษตกรมีความจำเป็นต้องหารายได้เลี้ยงชีพโดยรายได้แต่ละครั้งก็อาจจะไม่เพียงพอหรือได้ไม่มากเท่าที่ควร เมื่อเทียบเท่ากับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ได้รับผลประโยชน์การส่งขายจึงอยากให้บรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่ได้หันมารับผิดชอบเข้ามารับรู้ถึงปัญหาและเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งทางด้าน นายจงคล้าย วรพงศธร ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเขตเกษตกรรมที่มีการเผาพื้นที่การปลูกข้าวโพดที่มีมากในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเบื้องต้นได้มีการประเมินสถานการณ์วางแผนดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกมาตราการณ์จัดระเบียบการเผาใหม่ ให้มีการทะยอยการเผาหรือเผาในช่วงก่อนที่จะถึงช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี อีกทั้งเตรียมการประสานกับบรรดาผู้ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหรือผู้รับซื้อรายใหญ่ให้เข้ามารับผิดชอบดูแล สนับสนุนหาแนวทางให้เกษตกรเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเผาตอซังข้าวโพดโดยหาวิธีอื่นที่ทำให้เกิดประโยชน์เช่นสนับสนุนการทำปุ๋ย แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งคาดว่าในปี 2559 จะสามารถลดการเกิดปัญหาดังกล่าวได้

logoline