svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดผลสำรวจทช. พบปะการังเกาะตาชัยตายถึง 60-70%

12 มีนาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทช.เปิดผลสำรวจปะการังเกาะตาชัย หมู่เกาะสิมิลัน พบปะการังหน้าชายหาดอุทยานฯตาย 64% และด้านใต้อุทยานฯตาย 70 % สภาพแนวปะการังโดยรวมเสียหายถึงเสียหายมาก เผยเรือท่องเที่ยวทิ้งสมอในแนวปะการัง ห่วงน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านการบำบัดจากเรือลงทะเล ส่งผลกระทบในระยะยาว เสนอคุมจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสม



เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 นักวิชาการจากศูนย์วิจัยและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน และเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 สังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เข้าสำรวจสภาพการใช้พื้นที่และสภาพทรัพยากรปะการังบริเวณเกาะตาชัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา และมีการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว การดำน้ำ ดำเนินการสำรวจจำนวน 2 สถานี ได้แก่ แนวปะการังบริเวณหน้าชายหาด(ด้านตะวันออก) และบริเวณด้านใต้

โดยภาพรวมแนวปะการังบริเวณชายหาดหน้าอุทยาน เป็นแนวปะการังเป็นหย่อมๆ บนพื้นทรายปนเศษปะการัง ตลอดทั้งแนวหน้าชายหาด อยู่ในระดับความลึก 2-5 เมตร แนวปะการังมีสภาพเสียหาย โดยมีปะการังที่มีชีวิต 31.17% ปะการังตาย 64.06% พื้นทราย 3.00% และสาหร่าย 1.77% และชนิดปะการังที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังรังผึ้ง ปะการังโขด พบสาหร่ายใบมะกรูด ซึ่งชนิดที่มีหินปูนเป็นส่วนประกอบ เป็นสาหร่ายชนิดเด่นที่พบแทรกอยู่ทั่วไปในแนวปะการัง รวมทั้งสาหร่ายพวงองุ่นหรือสาหร่ายเม็ดพริกไทยสาหร่ายหนาม ขึ้นแทรกอยู่ระหว่างปะการัง ทั้งนี้ สาหร่ายที่พบเป็นชนิดที่พบทั่วไปในแนวปะการังธรรมชาติ

เปิดผลสำรวจทช. พบปะการังเกาะตาชัยตายถึง 60-70%


ผลสำรวจยังระบุว่า บริเวณชายหาดหน้าอุทยานฯ เป็นบริเวณที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่น โดยเฉพาะในระหว่างเวลา 10.30-15.30 น. การใช้ประโยชน์ของพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นการนั่งพักผ่อน เล่นน้ำ เดินชมเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะ รวมทั้งเป็นที่รับประทานอาหารกลางวัน เข้าห้องน้ำและอาบน้ำของนักท่องเที่ยว โดยบริษัททัวร์แต่ละแห่งจะจัดพื้นที่ไว้สาหรับให้บริการอาหารสาหรับนักท่องเที่ยว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯพบว่า อาหารเกือบทั้งหมดมาจากกิจกรรมสวัสดิการจากอุทยานฯ และเนื่องจากบริเวณหน้าหาดมีกระแสน้ำ และคลื่นลมค่อนข้างแรง จึงไม่พบการดำน้ำดูปะการังของนักท่องเที่ยว รวมทั้งการให้อาหารปลา
ขณะที่จำนวนเรือและจำนวนนักท่องเที่ยวจากการสำรวจของเจ้าหน้าที่ ระหว่างเวลา 11.50-15.30 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก และมีเรือสปีดโบ๊ทวิ่งเข้า-ออกสับเปลี่ยนในพื้นที่เป็นครั้งคราว โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีเรือสปีดโบ๊ท ขนาดที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 10-40 คน จอดบริเวณชายหาดเพื่อพานักท่องเที่ยวขึ้นเกาะ จำนวน 32 ลำ โดยมีเพียง 8 ลำที่ผูกทุ่นจอดเรืออยู่ด้านนอก เรือส่วนใหญ่ทิ้งสมอที่หัวเรือและให้ท้ายเรือเข้าชิดชายหาด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการขึ้น-ลงชายหาด
จากการดำน้าสำรวจพื้นที่ที่ใช้จอดเรือนั้น พบการทิ้งสมอบนแนวปะการังมีชีวิต และพบร่องรอยการแตกหักของปะการัง อันเนื่องมาจากการทิ้งสมออยู่ทั่วไป เรือส่วนใหญ่ทิ้งสมอลงในแนวปะการัง ทาให้แนวปะการังได้รับความเสียหายโดยตรง ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม จะทาให้แนวปะการังบริเวณนี้เสื่อมโทรมลงกว่าที่เป็นอยู่

เปิดผลสำรวจทช. พบปะการังเกาะตาชัยตายถึง 60-70%


ข้อเสนอแนะของนักวิชาการจากศูนย์วิจัยและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน และเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 มีดังนี้
1. เมื่อพิจารณาสภาพแนวปะการังบริเวณเกาะตาชัย พบว่าอยู่ในสภาพที่เป็นไปตามธรรมชาติของพื้นที่ และเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของคลื่นลม ทำให้มีการฟุ้งกระจายของทรายขึ้นมาบนซากปะการังบ้างในโซนปะการังน้ำตื้น ปะการังบางส่วนตายจากการฟอกขาว แต่พบว่าในบางพื้นที่เริ่มมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ พื้นที่เกาะตาชัย เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของธาตุอาหารจากมวลน้ำในที่ลึกในบางช่วงฤดูกาล ประกอบกับเป็นเกาะกลางทะเลลึกที่มี flushing rate ค่อนข้างสูง ดังนั้น การศึกษาผลกระทบจากนักท่องเที่ยวในแง่ของปริมาณธาตุอาหาร อาจทำได้ยาก
2. สิ่งที่น่าเป็นห่วงในพื้นที่บริเวณนี้ คือการบริหารจัดการพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมาก (จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่อุทยานฯ นักท่องเที่ยวในวันธรรมดามีประมาณ 300-400 คน และมีจานวนมากขึ้นในช่วงวันหยุด) แต่จากการคำนวณจากปริมาณเรือและจากการสังเกตจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงที่สำรวจ (ซึ่งเป็นวันธรรมดา) น่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 คน ทำให้เกิดน้ำทิ้งที่ไม่ได้รับการบำบัดลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมาก แม้บริเวณนี้จะมี flushing rate สูง แต่หากไม่มีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม อาจให้ให้สิ่งแวดล้อมบนบก และในทะเลอาจได้รับผลกระทบในระยะยาว ดังนั้น จึงควรพิจารณาเรื่องความเหมาะสมจองจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาใช้พื้นที่ในปัจจุบัน รวมทั้งการให้บริการอาหารแก่นักท่องเที่ยวของทางอุทยานฯ ซึ่งต้องใช้น้ำปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำทิ้งและการจัดการขยะในพื้นที่
3. เรือส่วนใหญ่ทิ้งสมอลงในแนวปะการัง ทำให้แนวปะการังได้รับความเสียหายโดยตรง ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้แนวปะการังบริเวณนี้เสื่อมโทรมลงกว่าที่เป็นอยู่

เปิดผลสำรวจทช. พบปะการังเกาะตาชัยตายถึง 60-70%

logoline