svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

สตูลพบซากหินดึกดำบรรพ์ อายุกว่า 550 ล้านปี

18 มกราคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สตูลพบซากหินดึกดำบรรพ์กว่า 550 ล้านปี เตรียมผลักดันเป็นอุทยานฯธรณีระดับโลก

นายมนตรี เหลืองอิงตะสุต ผอ.สำนักธรณีวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่ จ.สตูลนักธรณีวิทยาได้ค้นพบแล้วว่า มีหินดึกดำบรรพ์ที่มีอายุมากถึง 550 ล้านปีแล้วในพื้นที่ อ.ละงู อ.ทุ่งหว้า และอำเภอมะนัง ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ถึง 69 แห่งทั้งจังหวัด หินพวกนี้ล้วนจะอยู่ตามเขา และในถ้ำ ที่มีกระจ่ายอยู่ทั้ง 69 แห่งที่นักธรณีวิทยาได้ค้นพบ และถือว่าเป็นจังหวัดแรกที่ได้รับการจัดตั้งเป็นธรณีวิทยาประดับประเทศ และหลังจากนี้จะผลักดันสู่ระดับโลกให้ได้ โดย การผลักดันนั้น จะต้อง ให้คนในพื้นที่ เข้าร่วมกันผลักดันและร่วมกันอนุรักษ์ไว้ไม่ให้เกิดการทำลาย เพราะหินพวกนี้มีอายุมากถึง 550 ล้านปี ดังนั้น พี่น้องประชาชนจะต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งความงดงามของหิน และหินถือว่าเป็นจุดกำเนินของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์ที่มีล่อยลอยอยู่ในหินพวกนี้ และหากเราสามารถที่จะอนุรักษ์ไว้ได้ ก็จะเป็นการต่อยอดของการท่องเที่ยวของสถานที่นั้น ๆ และสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่อย่างมหาศาล เช่นในพื้นที่ บริเวรเขาโต๊ะหงาย อุทยานฯเภตรา อ.ละงู จ.สตูล นั้นนักธรณีพบว่าเป็นเขตข้ามกาลเวลา คือ เขาโต๊ะหยายมียอดเขาสูงสุด 138 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีพื้นที่0.3 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินปูนที่แสดงลักษณะหน้าผาสูงชัน มีโพรงถ้ำ และมียอดเขาตะปุ่มตะป่ำ หรือที่เรียกว่าลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ลักษณะทางธรณีวิทยาของเขตข้ามกาลเวลาเป็นแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาประเภทธรณีโครงสร้างซึ่งเป็นบริเวรที่พบรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือหินทรายแดงยุคแคมเบรียนที่มีอายุ 541-485 ล้านปี และหินปูน ยุคออร์โดวิเซียน อายุประมาณ 485-444 ล้านปี โดยรอบสัมผัสของหินทั้งสองยุคดังกล่าว เป็นรอยสัมผัสที่เกิดจากรอยเลือนของเปลือกโลก ทีมีความชัดเจนมากและหาดูได้ยาก เสมือนหนึ่งว่าเราสามารถก้าวย่างข้ามกาลเวลาจากยุคแคมเบรียนไปสู่ยุคออร์โดวิเชียนได้เพียงก้าวเดียว 
ผอ.สำนักธรณีวิทยา กล่าวต่อไปว่า ที่พื้นที่บ้านบ่อหิน ต.กำแพง อ.งู จ.สตูล พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่นักธุรกิจขออนุญาติใช้พื้นที่เพื่อขุดเอาหินมาถมที่ หรือถนนหนทาง ก่อนที่จะทำการตัดถนน และนักธรณีวิทยาได้พบว่าพื้นที่แห่งนี้ มีซากหินดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์ อยู่เป็นจำนวนมาก ในพื้นที่แห่งนี้ ดังนั้นนักธรณีวิทยาจึงได้ขอให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นทีที่ควนค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ซากหินดึกดำบรรพ์ไทยโลไบต์เป็นซากหินสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์โบราณคล้ายแมงดาทะเลในปัจจุบันแต่คนละสายพันธุ์ เป็นฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของไทยมีอายุโดยประมาณ 550 ล้านปี พบในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตาและพื้นที่แห่งนี้สามารถบ่งบอกได้ว่าเคยเป็นทะเลดึกดำบรรพ์มาก่อนและน้ำทะเลค่อนข้างลึก เนื่องจากนักธรณียังพบหินดินดานสีดำซึ่งเป็นการตกตะกอนในทะเลน้ำลึก เท่านั้น ทำให้นักธรณีคาดว่าพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลน้ำลึกมาก่อน ดังนั้นเมื่อเราค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ จ.สตูล เป็นจำนวนมากและถือว่ามากที่สุดของประเทศไทยและสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อไป และประมาณสำคัญหลังจากนี้ จะร่วมกันผลักดันสู่อุทยานฯธรณีระดับโลก

logoline