svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เกาะลอยด้วยขวดเก่า

16 มกราคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชุมชนริมทะเลสาบในโบลิเวีย หาวิธีกำจัดขยะประเภทขวดพลาสติกโดยการนำไปใช้เป็นฐานของเกาะลอย ไปติดตามเรื่องนี้จากรายงานช่วงโลกเรา บ้านเรา

ทะเลสาบติติกาก้า อันสวยงามในเขตไฮแลนด์ของโบลิเวีย ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากมาย มันเป็นทะเลสาบใหญ่ที่สุดของอเมริกาใต้ ทะเลสาบนี้อยู่ในฝั่งของโบลิเวียและเปรู ที่ความสูง 3 พัน 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มันมีพื้นที่ 8 พัน 400 ตารางกิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงลาปาซ เมืองหลวงโบลิเวียใช้เวลาขับรถราว 1 กิโลเมตร
สิ่งที่นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่ต้องมาดูก็คือเกาะลอย ใกล้กับเมืองโคปาคาบาน่า ซึ่งสร้างโดยชุมชนคนพื้นเมือง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และยกระดับรายได้ของตัวเอง
แต่เดิม เกาะลอยเหล่านี้ สร้างมาจากต้นโตโตร่า พืชน้ำที่พบได้ทั่วไปในแถบนี้ แต่เมื่อเร็วๆนี้ คนในพื้นที่ตัดสินใจที่จะแก้ปัญหามลภาวะ โดยการนำขวดพลาสติกมาทำเป็นตัวที่ทำให้เกาะลอยน้ำได้  ซึ่งเป็นการช่วยลดขยะ และไม่ต้องไปตัดต้นโตโตร่ามาทำเป็นเกาะ ผู้สร้างเกาะคนหนึ่งบอกว่าเกาะขนาดใหญ่ใช้ขวด 3 หมื่นใบ ขนาดย่อมลงมาก็ 2 หมื่นใบ ส่วนขนาดเล็กก็ 1 หมื่นใบ ที่นี่พวกเขารีไซเคิลขวกพลาสติกกันอยู่เสมอ ที่นี่ชาวบ้านใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้คนจะไม่ทิ้งขวดพลาสติก เพราะมันสามารถนำไปซ่อมแซมเกาะได้ ชาวบ้านมักจะไปเก็บขวดมาจากในทะเลสาบ หรือตามที่ทิ้งขยะ ก่อนจะนำมันมามัดรวมกัน แล้วนำไปไว้ที่ใต้ฐานของเกาะ แต่ขวดเหล่านี้จะต้องมีฝาปิด เพื่อไม่ให้น้ำเข้า 
เกาะลอยจำเป็นต้องอยู่ใกล้ฝั่ง เพราะฐานของเกาะที่เป็นขวดเหล่านี้ มีความไม่มั่นคงมากพอสำหรับการไปยังบริเวณที่น้ำลึก
ระดับน้ำในทะเลสาบมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของปี เมื่อระดับน้ำลดต่ำลง มันก็ควรถูกย้ายไปที่อื่น เพื่อไม่ให้ฐานของมันชนกับพื้นทะเลสาบ ซึ่งอาจจะทำให้มันเสียหาย
ด้านผู้มาเยือนก็ดูเหมือนจะพอใจกับการรีไซเคิลขยะของชาวบ้าน บางคนบอกว่าแหล่งท่องเที่ยวที่อื่น มีแต่ขยะขวดพลาสติก การนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ เป็นการช่วยสิ่งแวดล้อม
แต่ก็ใช่ว่า ทุกคนจะเห็นด้วยว่าเรื่องนี้เป็นบทสรุปที่ดีที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม บางคนบอกว่า เมื่ออินทรีย์วัตถุมาเกาะกับวัสดุสารสังเคราะห์ มันต้องการออกซิเจนเพื่อการดำรงชีวิต แต่เมื่อมันไม่มีออกซิเจน มันก็จะตาย ทำให้น้ำในทะเลสาบเน่าเหม็น
ขณะที่ชาวบ้านบาคนก็หันไปใช้โฟมแทนขวด สำหรับใช้ทำฐานของเกาะลอย เพราะมองว่ามันทำให้เกาะมั่นคงมากกว่า และรับน้ำหนักได้ดีกว่า
ชาวบ้านบอกว่า ระดับน้ำในทะเลสาบลดลง เกาะของพวกเขาจึงไม่สามารถให้บริการกับนักท่องเที่ยวได้ การหันมาใช้โฟน ทำให้เกาะลอยได้ดีขึ้น และทำให้กลับมาใช้บริการนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งแม้ว่าโฟนจะแพงกว่าขวด  แต่ในระยะยาวก็น่าจะคุ้มกว่าการใช้ต้นโตโตร่า
แต่หลายคนก็ชูประเด็นว่า ไม่ว่าจะเป็นขวด หรือโฟม ต่างก็มาจากสารเคมี ทางที่ดี คนหันกลับไปใช้ต้นโตโตร่า น่าจะดีกว่า เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม  

logoline