svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมโฮมซ็อปปิ้ง

29 ธันวาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กสทช. มีแนวคิดในการออกใบอนุญาติช่อง ทีวี โฮม ช็อปปิ้งในประเทศไทย แนวโน้มอุตสาหกรรมนี้มีโอกาสเติบโตขนาดไหน ไปติดตามจากคุณธนวรรณ ปันทะโชติ

ประเทศเกาหลีใต้ ถือเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรม ทีวี โฮมช็อปปิ้ง เพราะเป็นประเทศที่มีตลาดอุตสาหกรรมโฮมช็อปปิ้งใหญ่ที่สุดในโลก ตามมาด้วย ประเทศญี่ปุ่น ใต้หวันและสหรัฐอเมริกา  ในส่วนของเกาหลีใต้มีขนาดอุตสาหกรรมเติบโตถึง 4 แสนล้านบาทต่อปี สินค้าที่จำหน่ายมีหลากหลายชนิด ตั้งแต่อาหารสด ไปจนถึงสินค้าแบรนด์เนม 
โดยวิธีการสั่งซื้อสินค้า เริ่มต้นขึ้น จากผู้ประกอบการทีวีโฮมช็อปปิ้ง นำเสนอสินค้าผ่านทางรายการทีวี และมีช่องทางการสั่งซื้อสินค้าผ่านทาง call center เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าและชำระค่าสินค้าผ่านทางออนไลน์เกิดขึ้นแล้วแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงไปส่งตรงถึงหน้าประตูบ้านของลูกค้าไม่เกินภายใน 1 สัปดาห์ 
ปัจจุบัน ประเทศเกาหลีใต้ มีผู้ประกอบการทีวีโฮมชอปปิ้ง อยู่ 6 ราย ที่ได้รับใบอนุญาติ  แต่ในจำนวนนี้ มีช่องที่รัฐบาลสนับสนุน เพื่อเป็นช่องทางระบายสินค้าให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการขนาด SME ในเกาหลีด้วย   สำหรับผู้ประกอบการทีวีโฮมช็อปปิ้งรายใหญ่ในประเทศ มีอยู่ 2 ราย ที่มีขนาด market shere ไกล้เคียงกัน คือ บริษัท   CJ O Shopping และGS Home Shopping 
GS Home Shopping เริ่มทำธุรกิจเมื่อปี 2543 ปัจจุบันมียอดโทรศัพท์เข้ามาสอบถามสินค้าที่คอลเซ็นเตอร์เฉลี่ยวันละ 1 แสน 3 หมื่นสาย  และหากลูกค้าไม่พอใจสินค้าบริษัทจะคืนเงินให้ในทันที โดยบริษัทรายได้รวมในปีล่าสุดอยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ         ส่วน CJ O Shopping เริ่มเข้ามาในธุรกิจนี้พร้อมกับ GS Home Shopping นอกจากทำตลาดในประเทศเกาหลีใต้แล้ว ยังมีสาขาในต่างประเทศแถบเอเชียอีกหลายประเทศ โดยผู้บริหารของ Cj o shopping มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเติบโต จึงเข้ามาลงทุนร่วมกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อภายใต้ชื่อบริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด นำเสนอรายการผ่านทีวีดาวเทียมชื่อ O Shopping ดังนั้น หาก กสทช อนุมัติใบอนุญาติ tv home shopping ในประเทศไทยได้ในอนาคต ก็เชื่อว่าจะช่วยให้อุตสากรรมเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ผู้ประกอบการทีวีโฮมช็อปปิ้งในเกาหลีใต้  มีการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีให้กับหน่วยงานที่กำกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รัฐบาล ด้วยวิธีการหักอัตรากำไร 15% ในแต่ละปีเป็นค่าใบอนุญาติ ดังนั้นแต่ละบริษัทจึงจ่ายค่าธรรมเนียมไม่เท่ากัน แน่นอนว่าหากบริษัทไหนมีผลการดำเนินงานขาดทุน ในปีนั้นก็ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เป็นนโยบายที่เกาหลีใต้ อยากสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทีวีโฮมช็อปปิ้ง เติบโตให้ได้อย่างยั่งยืนจริงๆ  
สำหรับการพลักดัน ทีวีโฮมช็อปปิ้งในประเทศไทย พ.อ.นที ศุกลรัตน์  ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) บอกว่า ทีวี โฮมช็อปปิ้ง ถือเป็นดิจิทัลอีโคโนมี่ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตขึ้นได้จากการผสมผสานกันของอุตสาหกรรมบรอ์ดแคสติ่ง และอุตสาหกรรมค้าปลีก ผ่านช่องทางเอ็นเตอร์เทนเมนท์ โดยทาง กสท ได้ศึกษารายละเอียดในแง่ของกฏหมายการออกใบอนุญาติผู้ประกอบการโฮมช็อปปิ้งไว้แล้ว ซึ้งต้องศึกษารูปแบบจากหลายประเทศที่ทำธุรกิจด้านนี้จนประสบความสำเร็จ เพื่อนำข้อมูลมาประยุกต์ให้เหมาะสมต่อธุรกิจในประเทศไทย โดยเบื้องต้น อาจจะมีแนวคิดในการออกใบอนุญาติเป็น 2 รูปแบบ คือ เป็นช่องทีวีโฮมช็อปปิ้ง หรือเป็นประเภทรายการที่ไปแฝงอยู่ตามช่องทีวีดิจิทัล ด้านนายกสมาคมทีวีโฮม ชอปปิ้ง (ประเทศไทย) ทรงพล ชัญมาตรกิจ บอกว่า ปัจจุบันธุรกิจทีวี โฮม ชอปปิ้งในประเทศไทยมีมูลค่าตลาด 8,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องปีละ 20% หลายปีติดต่อกัน ด้วยหลายปัจจัย ทั้ง การเติบโตของทีวีดิจิทัล การออกใบอนุญาติของ กสทช และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทาง tv home shopping  และหากมีการอนุมัติใบอนุญาติการทำธุรกิจทีวี โฮม ชอปปิ้ง จะช่วยให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งหาก กสทช.สามารถส่งเสริมให้ทีวี โฮม ชอปปิ้ง ในประเทศไทยเกิดได้อย่างมีระบบ ภายใต้กฎ กติกาที่วางไว้ ก็จะเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งตามนโยบาย Digital Economy ของรัฐบาล และจะช่วยให้เอสเอ็มอีมีช่องทางในการขายสินค้ามากขึ้น ซึ่งถือเป็นการพลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นอีกทางด้วย ธนวรรณ ปันทะโชติ รายงานจากประเทศเกาหลีใต้      

logoline