svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดแนวคิด สปท. เกาะติดปฏิรูปสานต่อ กปปส.

02 พฤศจิกายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ยอมรับว่า สปท.สืบเนื่องมาจากกปปส. นี่คือโจทย์สำคัญ คือ การรักษาความต่อเนื่องของพลังปฎิรูปที่เกิด ขึ้นในช่วงการชุมนุม"

เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา สำหรับสถาบันปฎิรูปประเทศ (สปท.) โดยนายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หนึ่งในแกนนำ กปปส. มาวันนี้ได้มาสวมบทบทเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของสปท. ว่า
ประเด็นของกระบวนการปฎิรูป ลมหายใจ คือ การมีส่วนร่วม เพื่อให้สังคมเป็นเจ้าภาพและรู้สึกร่วม ซึ่งจะเป็นหัวใจปฎิรูปที่ยั่งยืน เราให้ความสำคัญตรงนี้ เพราะเราคิดว่า ต่อให้รัฐธรรมนูญดีอย่างไรก็ตาม แต่สังคมไม่มีส่วนร่วมเลย สุดท้ายคนก็จะเพิกเฉยกับรัฐบาลใหม่ และไปเปลี่ยนไปรื้อ เหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 จะโยนบาปให้ระบบทักษิณทั้งหมดก็ไม่ได้หรือเป็นปัญหาของกลุ่มทุนธุรกิจการเมืองอย่างเดียวก็ไม่ถูก พลังปฎิรูปเองต้องทบทวนต้องยอมรับ เหมือนคิดว่า เขียนรัฐธรรมนูญดีแล้วจบ เขียนดีแล้วปฎิรูปได้ ทั้งๆที่หลังจากนั้น ต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก อื่นๆเต็มไปหมด ต้องมีกระบวนการต่อเนื่อง สปท. ก็ได้ถอดบทเรียนที่ผ่านมา เราจึงคิดว่าต้องทำงานกันยาวและต้องเป็นองค์กรที่ จะทำหน้าคอยตรวจสอบ
การทำงานของ สปท. จะแย่งเป็นสามระยะคือ ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว โดย ระยะสั้น จะทำเวทีสภากระจกเงา เพื่อสะท้อนความเห็นของสังคมให้กว้างที่สุด ระยะกลาง เช่น การติดตาม ตัวบทกฎหมาย กฎหมายลูก กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญอยู่ ระยะยาว สำคัญ คือ การรณรงค์ การปลูกฝังจิตสำนึก หรือยาวไปถึงขึ้นการปฎิรูปการศึกษา วัฒนธรรม ตนคิดว่า จิตสำนึกทางการเมืองสำคัญที่สุด รัฐธรรมนูญให้ดีอย่างไร แต่ถ้าสำนึกทางการเมืองของคนยังไม่ วิวัฒน์ไปด้วย ก็จะเป็นปัญหา
ส่วนคำว่า สภากระจก เราไม่อยากใช้คำว่าสภาคู่ขนาน เพราะจะเหมือนกับว่าคนละทาง ก็คือเอาความเห็นมาแล้วก็สะท้อนผ่านช่องทางสปช. ซึ่งต่อไปสปช. คงมีกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความเห็น และในขณะเดียวกันก็มีช่องทางผ่านสปช.ที่เรารู้จักเป็นส่วนตัว เพราะกรรมการของ สปท. 8 คนก็เป็นสมาชิก สปช.อยู่แล้ว แต่เราทาบทามก่อนการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. ซึ่งเป็นเรื่องดีที่มีสปช.อยู่ในสปท.ด้วย เพราะเราจะได้เชื่อมกัน บางประเด็นก็จัดร่วมกันได้ เราไม่ได้คิดว่าเราจะคิดต่างสปช.ทุกเรื่อง ไม่ได้ตั้งธงแบบนั้น แต่สะท้อนความเห็นให้กว้างที่สุดและน่าจะเป็นประโยชน์กับสปช.
ทั้งนี้ยอมรับว่า สปท.สืบเนื่องมาจากกปปส. นี่คือโจทย์สำคัญ คือ การรักษาความต่อเนื่องของพลังปฎิรูปที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุม ไม่อยากให้ถูกเว้นวรรคโดยสถานการณ์พิเศษ โดยรัฐบาลที่มาให้ความหวัง แต่ต้องเป็นพลังที่ตื่นตัวตาม เพราะในอดีตที่ผ่านมา ก็มี 30 องค์กรประชาธิปไตยสมัย 2540 พอปี 2550 ก็ทำ เพื่อตรวจสอบ สสร.2 แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มีการชุมนุม เราจึงไมได้ทำงานต่อ โดยกระแสสำนึกผู้คนจุดติดแต่ต้องไปตามสถานการณ์ ครั้งนี้ตนคิดว่า ไม่ว่าสถานการณ์ข้างหน้า จะมีการรัฐประหารอีกหรือไม่ ตนคิดว่าการสร้างสานความต่อเนื่องของพลังปฎิรูปอย่างมีระบบ และมียุทธศาสตร์ ตนว่าสำคัญที่สุด
ส่วนการปฎิรูปจะทำอย่างไร เพราะตั้งมาสุดท้ายก็ไม่ถูกหยิบมาใช้นั้น โจทย์ที่ประชุมคิดกัน แนวคิดเรื่องปฎิรูปทำกันมาเยอะ ศึกษามากมาก ตนคิดว่าไม่ถูกนำมาใช้เพราะ 1.เราได้ผลักดันกันอย่างจริงจังหรือไม่หรือเป็นแค่ข้อเสนอแล้วจบไป 2.ตนเชื่อว่ากระแสปฎิรูปที่ถูกจุดติดตอนเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชน ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยพันธมิตรฯ กระแสถูกเบี่ยงแบนทิศทาง โดยการเปลี่ยนตัวรัฐบาลหรือการเปลี่ยนผลัดอำนาจ ซึ่งไม่ว่าสปช.ไปแล้ว คสช.คืนอำนาจ มีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ พลังชีวิตของการปฎิรูปควรทำงานต่อ มีลมหายใจต่อ ไม่ควรถูกชะลอ ถูกเบรค โดยการรัฐประหารหรือเปลี่ยนรัฐบาล
การปฎิรูปต้องออกจากกับดักการปฎิรูปที่ต้องมีสถานการณ์พิเศษ รอผู้มีบารมี รออัศวินม้าขาว มันต้องสร้างกระบวนการปฎิรูปที่ เยียวยาตัวเองได้ ถ้าการปฎิรูปคือชีวิตหนึ่งของคน มันต้องรักษาตัวเองได้ จัดการกับปัญหานั้นๆได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องสถานการณ์พิเศษ รอพึ่งบารมี ถ้าทำนี้ได้ปฎิรูปจะกลายเป็นพลังของสังคมทำให้ฝ่ายการเมืองต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจ
หากถามถึงปัญหาการมีส่วนร่วมในการปฎิรูปครั้งนี้ รอบนี้ มีกฎอัยการศึก ถ้าปี 40 โมเดลในการปฎิรูปชัด เพราะสังคมเห็นว่าการปฎิรูปเป็นวาระแห่งชาติ ปี 50 ยังมีอัยการศึกบางพื้นที่ แต่ก็ดูเหมือนไม่เข้มงวดเหมือนครั้งนี้ รอบนี้เปิดตัวก็โดนเขม่นแล้ว โดนมองแล้ว ตนก็เห็นปัญหานี้อยู่ จึงคิดว่าเป็นประเด็นที่คสช. สปช.ต้องตอบให้ชัดว่า จะจัดกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วม ขนาดไหน อย่างไร โดยหลักการคสช.ไม่ควรเอากลุ่ม พลังทางสังคมที่เขาเสนอ เคลื่อนไหนเสนอแนะเรื่องปฎิรูป ไปรวมกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหรือไปรวมกับกลุ่มใต้ดิน ต้องจำแนกออกมาถ้าทุกเวทีเขาจัดคสช.ควรผ่อนปรน เช่น ให้เจ้าหน้าที่ไปฟัง ถ่ายทอด เอาสปช.ไปร่วมจัด แต่ต้องคำนึงถึงความหลากหลาย ไม่ใช่ไปตั้งธงโดย คสชหรือสปช. เพราะบางโจทย์ ประชาชนคิดเองเสนอเองได้ ไม่ใช่ไม่เข้าธงแล้วไม่ฟัง นั้นเป็นการปฎิรูปเชิงพฤติกรรมไปแล้ว
นอกจากนี้สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุดคือ การปฎิรูปของนปช. วาระปฎิรูปไม่ควรถูกเว้นวรรคด้วยคำว่ารัฐบาลทหาร คำถามต่อนปช. คือรัฐบาลจากการเลือกตั้งเอาเรื่องปฎิรูปมาเป็นวาระจริงแค่ไหนอย่างไร นปช. ถ้าบอกว่าหัวใจชูเรื่องประชาธิปไตย ไม่ควรเอาเงื่อนไข เรื่องการัฐประหารมาเป็นข้ออ้าง ต้องเสนอพิมพ์เขียว เสนอร่าง ถ้าอยากจัดเวทีก็ขอคสช.คสช.ก็ไม่น่าจะตึงขนาดนั้น ไม่เข้าใจว่าทำไมกลัวเกินเหตุถ้าทำในประเด็นปฎิรูปมีวาระชัดเจน ไม่เห็นเป็นปัญหา
เอาเข้าจริงๆอุปสรรคของการปฎิรูปครั้งนี้คือ กฎอัยการศึก ถ้าคสช.ไม่ระวัง จะเป็นดาบ 2 คม ถ้าไม่แยกเยอะ ถ้าคสช.ฉลาด จะต้องใช้ สปช.ให้มากที่สุดในการทำปฎิรูป ให้อำนาจให้บทบท รับฟังความคิดเห็นกี่กลุ่ม จับคู่กับใครก็ปล่อยเขาไป แต่ถ้าส่งสัญญาณปราบตลอดเวลา คิดว่าสักวันสปช.จะอึดอัด
ตนก็เข้าใจสถานการณ์ แต่มันก็ควรมีข้อยกเว้นได้ กรณีการเคลื่อนไหวเรื่องการปฎิรูปตนคิดว่าน่าจะทำได้ ไม่ควรเหมารวมเพราะสุดท้ายจะกลายเป็นการปฎิรูปของสปช.สังคมไม่มีส่วนร่วม สุดท้ายเปลี่ยนรัฐบาลก็ไปเริ่มต้นใหม่
สิ่งที่สปช.ต้องปฎิรูปแค่รัฐธรรมนูญไม่พอ ต้องมองปัญหาที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญด้วย เช่น ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชน ภาคราชการยังไม่เคารพการมีส่วนร่วมของประชาชน ทัศนะคติของรัฐราชการและการเมืองไทย เป็นระบบแบบอำนาจนิยม เรื่องแบบนี้เขียนในรัฐธรรมนูญไม่ได้ จึงต้องใช้เวลา การบูชาวิธีคิดแบบอำนาจนิยมค่อยข้างชัดขึ้น เรามองคืออำนาจท้องถิ่น จังหวัดจัดการตัวเอง ถ้ารอให้มหาดไทยกระจายอำนาจ เขาคงไม่ยอม ถ้าเราทำเป็นโมเดลขึ้นมาจากข้างล่าง อำนาจท้องถิ่นจัดการตัวเองได้ ถึงจะตอบโจทย์ ซึ่ง 3 เรื่องเร่งด่วน ที่เราจะทำ คือ 1.ตำรวจ 2. พลังงาน 3. กระจายอำนาจ
ที่สังคมมองว่าสปท.คือกปปส.และกปปส.เหมือนเปิดประตูให้ทหารเข้ามาเองนั้น น่าจะดูกันที่สาระ มันล้าหลังไปถ้าคุยกันว่ารัฐประหารมาอย่างไร ตนจึงอยากเห็นว่าเสื้อแดง คิดอะไรไกลกว่าทักษิณได้ไหม คิดอะไรไกลกว่าพรรคเพื่อไทยเป็นใหญ่ได้ไหม พิมพ์เขียวเรื่องปฎิรูปที่บอกตนไม่เคยเห็น ตนอยากเห็นนปช.เสนอปฎิรูปสักที
ส่วนความเห็นของสปช.หรือคสช.หากต่างจากกลุ่มปฎิรูปจะมีปัญหาหรือไม่นั้น มีปัญหาแน่ แต่ไม่รู้ว่าจะลุกล่ามขยายตัวจนไปถึงความไม่พอใจรัฐบาลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการชี้แจงและข้อเท็จจริงของภาครัฐ ซึ่งตนไม่เชื่อว่าปฎิรูปจะราบเรียบ แต่สุดท้ายก็ต้องดู
สุดท้ายตนห่วง วิธีคิดให้กลไกรัฐมาเป็นพระเอก ฟื้นฟูกลไลรัฐราชการ หลังรัฐประหารถูกดึงกลับมาเป็นพระเอก สุดท้ายปฎิรูปจะกลายเป็นแค่พูด ไม่ประสบความสำเร็จอะไร รอบนี้กระบวนการปฎิรูปหนักหนากว่าที่ผ่านมา เพราะมีทั้งกฎอัยการศึก กลไลรัฐราชการ ซึ่งจะไปครอบงำทิศทางปฎิรูป ครอบงำแม่น้ำทั้ง 5 สาย สุดท้ายต้องถามไปยังสปช. รับปรากฎการณ์แบบนี้หรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นจุดหักเห ก็ได้

logoline