svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ไข้เด็งกี๋ในญี่ปุ่น สะท้อนโลกร้อนเร่งแพร่เชื่อไวรัส

08 กันยายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้เชี่ยวชาญวิตก ไข้เลือดออกเด็งกี่ที่ระบาดภายในญี่ปุ่นครั้งแรก ในรอบเกือบ 70 ปี และทำให้มีผู้ป่วยกว่า 70 คนอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาวะโลกร้อน อาจส่งผลให้เชื้อไวรัสไข้เลือดออก แพร่ระบาดไปในประเทศต่างๆมากขึ้น

ในการแถลงข่าวขององค์การอนามัยโลกเมื่อเร็วๆนี้ สรุปว่า ไข้เลือดออกเด็งกี่สามารถแพร่ระบาดได้มากขึ้นสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก และคาดว่าเชื้อจะแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวาง และอาจมีผู้ติดเชื้อได้ 50-100 ล้านคนต่อปี
ทาเคชิ คุโรซึ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของสถานบันวิจัยโรคติดเชื้อจุลินทรีย์ของมหาวิทยาลัยโอซาก้าในญี่ปุ่น ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของสหภาพอากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยุงที่ติดเชื้อไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น ขณะที่ภัยแล้ง ทำให้ยุงขาดแหล่งน้ำ ก็จะทำให้การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกลดลง และสาเหตุหลักของการระบาดของไข้เลือดออกเด็งกี่เกิดจากการเคลื่อนย้ายของประชากร และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนเมืองในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในเขตร้อนที่มีการระบาดของไข้เลือดออก 
ความตื่นตัวเรื่องไข้เลือดออกมีขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังประสบการระบาดของไข้เลือดออกสายพันธุ์เด็งกี่เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 70 ปี ที่่ทำให้มีผู้ป่วยกว่า 70 คนแต่ไม่มีใครมีอาการร้ายแรง และจากการตรวจสอบตัวอย่างยุงที่เก็บได้จากสวนสาธารณะโยโยหงิ ในกรุงโตเกียว ยืนยันได้ว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อไข้เลือดออกเด็งกี่ ทำให้ต้องปิดพื้นที่เกือบทั้งหมดของสวนแห่งนี้ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 
ล่าสุดมีการสั่งปิดสวนสาธารณะชินจูกุ เกียวเอน ในกรุงโตเกียวเมื่อวันอาทิตย์ แม้ยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่เคยเดินทางไปที่สวนแห่งนี้ก็ตาม และจะเก็บยุงไปตรวจสอบหาเชื้่อ ส่วนกรณที่พบผู้ป่วยที่ไม่ได้เดินทางไปสวนทั้งสองแห่ง ทำให้วิตกว่า เชื้ออาจแพร่กระจายทั่วกรุงโตเกียว

logoline