svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ตัวเลขคนว่างงาน ม.ค. กว่า 3.6 แสนคน

18 เมษายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดับฝันเด็กจบใหม่ไร้งานทำ ชี้อย่าเลือกงานเร่งเพิ่มทักษะ

เป็นเรื่องปกติของทุกปี ณ ช่วงเวลานี้ จะมีบัณฑิตจบใหม่เข้ามาสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยหลายแสนคน โดยปี 57 ทาง “กรมการจัดหางาน” มองว่า จะมีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานรวม 547,853 คน โดยส่วนใหญ่เป็นปริญญาตรี 336,879 คน คิดเป็นสัดส่วน 61.49% รองลงมา คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และอนุปริญญา 74,550 คน สัดส่วน 13.61% มัธยมศึกษาปีที่ 3 64,604 คน สัดส่วน 11.79% ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.ปีที่ 3) 48,884 คนสัดส่วน 8.92% มัธยมศึกษาปีที่ 6 22,936 คนสัดส่วน 4.19%แต่ปีนี้สัญญาณเตือนวิกฤติแรงงานไทย...จ่อตกงานเริ่มส่งสัญญาณดังถี่และชัดขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากสารพัดโพลของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหลายหน่วยงานสำคัญ ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจโดยตรงระบุชัดแล้วว่า ปีนี้นักศึกษาจบใหม่มีสิทธิตกงานหลักแสนคนจากเหตุใหญ่เศรษฐกิจชะลอทำให้ผู้ประกอบการเบรกเอี๊ยดแผนการลงทุนแทบจะทั้งหมดทำได้เพียงประคองกิจการและเมื่อลงทุนไม่เกิดการจ้างงานใหม่ ก็ย่อมไม่เกิดเช่นกันคาด ป.ตรีตกงาน 1.6 แสนคน ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาทางนักวิชา  การหลายสำนัก ได้ฟันธงแนวโน้มการจ้างงานในปี 57 ออกอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาตลอดโดย “ยงยุทธ แฉล้มวงษ์”  ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงานสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มองว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้นจากหลายปัจจัยทั้งการส่งออก การบริโภคในประเทศ การลงทุน และการใช้จ่ายของรัฐบาล ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลทำให้คาดการณ์ว่าปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวต่ำกว่า 3% โดยหลักการแล้วหากจีดีพีโตต่ำกว่า 4% อาจส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1% จากเดิมที่มีประมาณ 0.7-0.8% เท่านั้น ถ้าคิดเป็นจำนวนคนก็จะมีคนว่างงานโดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีขึ้นไปประมาณ 150,000–160,000 คนนักวิชาการทีดีอาร์ไอยังย้ำอีกว่า ถ้าหากสถานการณ์ยังยืดเยื้อลากยาวไปกลางปี หรือ 1 ปี ผลกระทบของภาคแรงงานจะปรากฏชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิตที่อ่อนไหวคือ อุตสาหกรรมและภาคบริการ ที่เป็นแหล่งดูดซับแรงงานแบบเข้มข้นในหลายสาขาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรับจ้างนำชิ้นส่วนมาประกอบจะถูกกระทบมากยิ่งขึ้นต่อเนื่องชี้เรียนคณะอะไรส่อตกงาน-ได้งานง่าย?  สำหรับภาควิชาของบัณฑิตจบใหม่ที่มีแนวโน้มว่างงานสูงสุด คือ คณะศิลปศาสตร์, บริหารธุรกิจ, มนุษยศาสตร์ ขณะที่คณะที่มีแนวโน้มได้งานทำสูงสุด คือ นิเทศศาสตร์ ซึ่งถือเป็นคณะมนุษย์ทองคำ เพื่อรองรับการเปิดทีวีดิจิตอล, ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในกลุ่มดังกล่าว ที่ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ “เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์” อธิการบดีมหา วิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าผลสำรวจของผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มีแผนที่จะไม่รับพนักงาน หรือปรับลดปริมาณการรับพนักงานใหม่ลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้นักศึกษาที่จบใหม่ทั้งในระดับปริญญาตรี ปวส. ปวช.ที่จบการศึกษาในปี 57 ประมาณ 50% มีแนวโน้มจะตกงาน ชี้บัณฑิต ป.ตรีจบล้นทุกปี ถ้าพูดถึงปัญหาใหญ่ของแรงงานจบใหม่ โดยเฉพาะแรงงานระดับบนที่จบปริญญาตรีขึ้นไปมักจะต้องว่างงานเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ ปีส่วนใหญ่เกิดจากปริมาณความต้องการในตลาดแรงงานต่ำกว่าปริมาณบัณฑิตที่จบมาอยู่แล้ว โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเคยประเมินความต้องการของตลาดแรงงานในปี 55-59 ว่ามีความต้องการแรงงานระดับบนประมาณ 150,000 คนต่อปีเท่านั้นสวนทางกับจำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีจบใหม่ที่คาดว่าจะมีปีละ 300,000-400,000 คน และยิ่งปีนี้เป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีผู้ประกอบการไม่มีการลงทุนใหม่ ๆ ความต้องการก็จะยิ่งลดลงปัญหาใหญ่ชอบเลือกงาน ที่สำคัญแรงงานระดับบนมักประสบปัญหาการเลือกงาน!!! มีการคาดหวังกับการเข้าทำงานสูงว่าจะต้องได้เงินเดือนดี ๆ สวัสดิ การดี อยู่ในองค์กรที่มีชื่อเสียงโดยที่ไม่ได้มองว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ส่วนปัญหาแรงงานระดับกลางถึงระดับล่าง หรือที่จบการศึกษาตั้งแต่ ปวส.ลงมาถึง ป.6 ยังไม่ค่อยประสบปัญหาการว่างงานเนื่องจากยังเป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะที่จบจากสายวิชาชีพโดยเฉพาะ เช่น ปวช. ปวส. มักไม่ค่อยตกงานเพราะมีอุตสาหกรรมต่าง ๆ รองรับแล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่แรงงานระดับล่างยังเป็นที่ต้องการในตลาดเช่นกัน แม้ว่าจะใช้บริการแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมากแล้วก็ตามเพราะแรงงานคนไทยในกลุ่มนี้มักอยู่ไม่ทน เปลี่ยนแปลงงานบ่อยบางครั้งเพื่อนร่วมงานเป็นตัวแปรสำคัญในการโยกย้ายงานบ่อยและคนไทยหลาย ๆ คนมักจะเกี่ยงงานหรือเรียกว่าหนักไม่เอาเบาก็ไม่ค่อยสู้   เช่น ทำงานในร้านอาหาร คนไทยมักจะไม่ค่อยทำเพราะเห็นว่า งานหนักมักจะเลือกทำงานในโรงงานมากกว่า จึงทำให้แรงงานในระดับล่าง ยังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องเพราะมีการเคลื่อนย้ายเข้าออกแรงงานอยู่บ่อย ๆนักลงทุนหนีฉุดตกงานเพิ่ม อย่างไรก็ตาม “นักวิชาการทีดีอาร์ไอ” ยังระบุถึงปัญหาที่น่าวิตกและคาดว่าจะปรากฏชัดในครึ่งหลังของปี 57 และในปีถัดไป คือผลกระทบจากปัจจัยการเมืองที่ยังยืดเยื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก  ต่อนักลงทุนในการตัดสินใจชะลอการลงทุนหรือตัดสินใจไม่ลงทุนใหม่ หรือย้ายการลงทุนไปประเทศอื่น หรือทำให้ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตเร็วขึ้นตรงจุดนี้ จะมีผลกระทบกับแรงงานมากพอสมควร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบของอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรองรับแรงงานมากกว่า 300,000–400,000 คน เพราะหากนักลงทุนย้ายฐานการลงทุนไปแล้วก็จะทำให้แรงงานในประเทศตกงานเช่นกัน แต่บางส่วนอาจจะย้ายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะทำให้วิกฤติดังกล่าวไม่รุนแรงมากนักไม่เลือกงาน-สร้างจุดเด่น แม้หลายฝ่ายจะออกมาฟันธงไปในทิศทางเดียวกันว่าปีนี้โอกาสแรงงานจบใหม่จะวิจัยฝุ่นสูง แต่ใช่ว่าจะไม่มีแสงสว่าง โดยแรงงานจบใหม่ทุกคนควรท่องคาถาเดียวกันคือ“ต้องไม่เลือกงาน” เพื่อสะสมประสบการณ์ในภาวะเศรษฐกิจชะลอไปก่อน หรือถ้าใครพอมีกำลังทรัพย์ ไม่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนเกินไปนัก ก็อาจศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรืออาจจะไปเข้าโครงการอบรมเสริมสร้างทักษะโดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ ต้องมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ดีมาก เพราะต่อไปโลกกำลังเปิดกว้างภาษาต่างประเทศจึงสำคัญที่สุดโดยเฉพาะภาษาอังกฤษหรืออาจเสริมภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นด้วยก็ได้ จะได้เปรียบในเรื่องนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในการหางานคือ ถ้าคุณสมบัติของผู้หางานพร้อมเท่าไรหรือมีอะไรโดดเด่นก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ส่วนคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุดเห็นได้จากผลโพลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งสอบถามผู้ประกอบการถึงคุณสมบัติของบัณฑิตจบใหม่ที่ต้องการมากที่สุดคือ 1. มีความพร้อมในการทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องสอนเพิ่ม 2. เป็นเด็กที่มีความขยันและตั้งใจทำงาน 3. มีจริยธรรมและคุณธรรม 4. เก่งภาษาอังกฤษ 5. อดทนและรับแรงกดดัน 6. เก่งภาษาประเทศเพื่อนบ้าน 7. เก่งภาษาจีน 8. มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ฉะนั้น! การเตรียมความพร้อมของตัวเองให้เป็นที่ต้องการของตลาด ถือเป็นจุดใหญ่ที่นักเรียน นักศึกษา ควรให้ความใส่ใจอย่างเข้มข้นเพราะต่อไปยิ่งโลกเปิดการค้าเสรี การเคลื่อนย้ายแรงงานจะยิ่งทำได้สะดวกขึ้น สุดท้ายถ้าใครทำตัวเองไม่พร้อมก็มีสิทธิถูกแรงงานจากประเทศต่าง ๆ เข้ามาแย่งงานมากยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้วิกฤติแรงงานจบใหม่ของไทยรุนแรงมากขึ้นเป็นทวีคูณ.

logoline