svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

อีโบล่ากลับมา ครั้งที่ 34

10 เมษายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 รายจากไวรัสอีโบล่าที่กลับมาระบาดครั้งใหม่ในแอฟริกา โรคนี้เคยระบาดครั้งแรกในปี 2519 แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีวัคซีน หรือ ยาที่จะใช้รักษาโรคนี้ ติดตามเรื่องนี้ได้จากรายงานช่วงโลกเรา บ้านเรา

อีโบล่าคือโทษประหารสำหรับผู้ป่วยที่กรุงโคนาครี่ เมืองหลวงของกินี เชื้อไวรัสที่แต่ก่อนเรียกกันว่าเชื้อไข้เลือดออกอีโบล่า เป็นหนึ่งในโรคระบาดที่ร้ายกาจที่สุดที่มนุษย์เคยพบ องค์การอนามัยโลกประเมินว่าผู้ติดเชื้อมากถึง 90เปอร์เซ็นต์ จะเสียชีวิตแพทย์บอกว่าการแยกผู้ป่วยและการกักกันโรค ในปัจจุบันเป็นวิธีเดียวสำหรับการเอาชนะไวรัสตัวนี้ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า เมื่อถูกควบคุม ไวรัสก็จะค่อยๆตายไปเองไวรัสอีโบล่า ถูกนักวิทยาศาสตร์นำมาศึกษานานเป็นสิบปีแล้ว อย่างเช่นที่คณะสุขอนามัยและโรคเขตร้อนในกรุงลอนดอน ศาสตราจารย์เดวิด เฮย์มานน์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคติดเชื้อ  ก็เคยอยู่ในเหตุการณ์ตอนที่โรคนี้ระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2519 เขาบอกว่าไวรัสอีโบล่าสามารถเข้าไปในอวัยวะ และเซลล์แทบทุกส่วนของเรา ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดการติดเชื้อในหลายระบบ และหลายส่วนของร่างกาย และในบางกรณีก็จะเกิดการตกเลือด และเสียชีวิตการระบาดของโรคอาจจะเว้นช่วงห่างหลายปี จนถึงปัจจุบัน มีการระบาดของโรคแล้วราว 34 ครั้ง  แต่มีแค่ 3 ครั้งเท่านั้นที่มีผู้ติดเชื้อประมาณ 300 ราย สถานการณ์การระบาดที่กินี และไลบีเรียตอนนี้จึงถือว่าร้ายแรง เพราะมีผู้ติดเชื้อแล้ว 150 ราย ไวรัสสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งผ่านทางเลือด หรืออาจจะผ่านทางการกินเนื้อสัตว์ป่าที่ปรุงสุกๆดิบๆ ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนมากมายในแอฟริกา การระบาดครั้งแรกเกิดที่โรงพยาบาลยัมบูกู มิสชั่น ในซาอีร์ หรือที่ตอนนี้เรียกว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เมื่อครูใหญ่ของโรงเรียนแห่งหนึ่งป่วย หลังไปซื้อลิงมาจากตลาดในท้องถิ่นเพื่อนำมาทำเป็นอาหาร ในระหว่างนั้น เขาคงจะไปโดนกับเลือดของลิงที่ติดเชื้อ ทำให้ในอีก 5 วันต่อมาเขาก็ป่วย และได้ไปที่โรงพยาบาลซึ่งแพทย์ก็ได้ฉีดยาให้เพราะคิดว่าเขาเป็นมาลาเรีย แต่เนื่องจากโรงพยาบาลนี้มีเข็มฉีดยาแค่ 4 เข็ม เข็มนี้จึงถูกนำไปฉีดยาให้กับผู้ป่วยคนอื่นๆโดยไม่มีการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ทำให้คนอื่นๆติดเชื้อไปด้วย ต่อมาครูใหญ่ก็ตาย คนในครอบครัวก็ป่วย คนในโรงพยาบาลก็ป่วย ไปๆมาๆ พยาบาลเองก็ป่วย เรียกได้ว่าการระบาดของอีโบล่าเกิดจากระบบการทำงานที่ย่ำแย่ของโรงพยาบาลและนั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่า เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉิน ต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันจากการสัมผัสโดยตรง และเรื่องระบบความสะอาดในสถานที่ที่ดูแลผู้ป่วยตามปกติ กว่าที่ผู้คนจะรู้ว่าพวกเขาติดเชื้ออีโบล่า ทุกอย่างก็สายเกินแก้ขณะที่การระบาดก็ได้เริ่มต้นไปนานแล้ว เมื่อตอนติดเชื้อใหม่ๆ ผู้คนอาจจะคิดว่าเป็นมาลาเรีย ไข้หวัดใหญ่  หรืออื่นๆ ทำให้แพทย์พยาบาลที่ให้การรักษาติดเชื้อไปด้วย ความท้าทายตอนนี้ก็คือการดูแลรักษาโรคทำนองนี้ทั้งหมดในพื้นที่มีการระบาด ประหนึ่งว่ามันเป็นโรคอีโบล่า เมื่อนั้น จะไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นในอดีตเคยมีการวิจัยเรื่องการรักษาโรคอีโบล่าโดยใช้แอนตี้บอดี้จากคนที่เคยป่วยแต่รอดชีวิตจากโรค แต่การทดสอบในทางการแพทย์ สามารถทำได้ยาก เพราะขณะที่กำลังระบาดอยู่ จู่ๆการะบาดก็ค่อยๆหายไปเอง ดังนั้น ตลาดที่ต้องการยาตัวนี้จริงๆจึงไม่มี

logoline