svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

How to รู้เรื่อง ‘กัญชา’ กับ ‘สุขภาพเด็ก’

02 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิด 3 กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรใช้กัญชา และเรื่องที่ผู้ปกครองต้องรู้!! THC ในกัญชาส่งผลร้ายทำลายสุขภาพเด็ก ทั้งพิษระยะเฉียบพลันและผลกระทบในระยะยาวต่อสมอง

แม้ประเทศไทยจะได้ถอนกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษแล้ว แต่ควรระมัดระวังในการใช้กัญชาในจุดประสงค์อื่นๆ นอกจากทางการแพทย์ เนื่องจากใน "กัญชา" มีสาร THC (tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์มึนเมา หากใช้กัญชาเป็นประจำจะเพิ่มโอกาสเกิดโรคทางจิต และทำให้สติปัญญาลดลงได้

How to รู้เรื่อง ‘กัญชา’ กับ ‘สุขภาพเด็ก’

3 กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรใช้กัญชา ได้แก่

1. เด็กและวัยรุ่น

เนื่องจากสมองของเด็กและวัยรุ่นยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงเปราะบางต่อสารเสพติด ทำให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการที่ล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม ลดระดับสติปัญญา และเกิดความผิดปกติของสภาวะทางอารมณ์

2. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตใจอื่นๆ

สาร THC ในกัญชาเพิ่มโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า อาการโรคจิตและอาการวิตกกังวล และสามารถลดความสามารถของสมองในการคิดและควบคุมอารมณ์ได้

3. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

เพราะสาร THC ในกัญชา สามารถส่งผลกระทบทางลบต่อสมองของเด็กทารกในครรภ์ได้

How to รู้เรื่อง ‘กัญชา’ กับ ‘สุขภาพเด็ก’

กัญชากับสมองเด็ก

สารประกอบในพืชกัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง THC มีผลกระทบต่อสมองเด็ก สามารถเกิดพิษเฉียบพลัน และส่งผลระยะยาว ทำให้เกิดการเสพติดได้ เด็กและวัยรุ่นไม่ควรใช้ ยกเว้นเป็นการใช้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น ผู้ปกครองและเด็กควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา เช่น ขนม อาหาร อันอาจจะส่งผลให้มีอาการพิษเฉียบพลันได้ และให้สงสัยถ้าพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้

พิษระยะเฉียบพลัน

ระบบประสาท

  • เวียนศีรษะ
  • แขนขาอ่อนแรง
  • พูดไม่ชัด
  • ความรู้สึกตัวลดลง
  • สับสน เดินเซ ชัก
  • กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก
  • อารมณ์แปรปรวน
  • เห็นภาพหลอน

ระบบหัวใจ

  • หน้ามึด วูบหมดสติ
  • ใจสั้น แน่นหน้าอก
  • ชีพจรเต้นผิดจังหวะ
  • เหนื่อย หายใจไม่สะดวก
  • ความดันโลหิตสูง

ระบบทางเดินอาหาร

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง

ผลระยะยาวต่อสมองเด็ก

  • ความคิด ความจำ แย่ลง
  • มึนงง ปวดหัว สมาธิสั้น
  • อ่อนล้า เพลียง่าย ง่วงบ่อย
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ประสาทหลอน หูแว่ว
  • ซึมเศร้า พฤติกรรมเปลี่ยน
  • การตัดสินใจหรือการควบคุมสติลดลง

ทั้งนี้ กัญชาควรใช้ประโยชน์เพื่อการรักษาทางการแพทย์และเป็นการรักษาทางเลือกเท่านั้น ไม่สนับสนุนใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ในเด็กและวัยรุ่น

 

อ้างอิง : ผศ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันตร ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย / สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี / สถาบันประสาทวิทยา

logoline