svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

‘ปวดหลังร้าวลงขา’ รู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

24 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แพทย์เตือน! เช็กร่างกายให้ดีหากมีอาการปวดหลังเสียวลงขา รักษาตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง ร่วมค้นหาที่มาของอาการปวดหลังร้าวลงขา พร้อมไขคำตอบ “กินยามานานแต่อาการไม่ดีขึ้น”

จากข่าวแพทย์โพสต์เตือน! กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจของอาการปวดเอวร้าวลงขา หลังพบคุณลุงวัย 50 ปี ปวดมานานจนไม่สามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ ตรวจพบก้อนเนื้อกดเบียดทับเส้นประสาท "เสี่ยงขาอ่อนแรง" ในเพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ระบุข้อความว่า

‘ปวดหลังร้าวลงขา’ รู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจ ผู้ป่วยชายอายุ 50 ปีเศษ ให้ประวัติปวดหลัง ปวดสะโพกด้านซ้าย เสียวลงไปขา กินยาแก้ปวด หาหมอบีบหมอนวด ไม่ดีขึ้น อาการเป็นมากขึ้นจนประกอบกิจวัตรประจำวันปกติไม่ได้ ถ้านั่งจะดีขึ้น เดินไปนานๆ จะปวดมาก จึงได้มาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ตรวจอาการเบื้องต้น สงสัยเส้นประสาทถูกกดทับ ระดับกระดูกสันหลังข้อที่ 4 ได้ส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) จากภาพรังสี เห็นเป็นก้อนเนื้อไปกดเบียดทับเส้นประสาทอย่างชัดเจน จึงแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดระบบประสาทสมอง ไขสันหลังต้องใช้ทักษะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อตัดเอาส่วนที่เป็นก้อนเนื้องอกออก โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง ใช้เวลาผ่าตัดกว่า 1 ชั่วโมง ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ติดตามอาการผู้ป่วยหลังผ่าตัด ดีขึ้นอย่างชัดเจน หากทิ้งไว้เนิ่นนาน อาการรุนแรง ทำให้ขาอ่อนแรงตามมาได้  ปวดเอว ปวดสะโพก ปวดร้าวไปขาอย่าละเลย รีบไปปรึกษาแพทย์”

‘ปวดหลังร้าวลงขา’ รู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

ปวดสะโพกร้าวลงขา

สำหรับ ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) เป็นอาการปวดที่เริ่มต้นบริเวณช่วงเอวหรือสะโพก และมีความปวดร้าวไปถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางรายอาจร้าวไปถึงน่องหรือเท้า ซึ่งอาการเช่นนี้วินิจฉัยได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการถูกกดทับบริเวณเส้นประสาท โดยอาจเป็นเรื่องของหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับ หรืออาจเป็นลักษณะของกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาทในคนสูงอายุ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือสาเหตุอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการปวดลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง น้อยรายที่จะมีอาการที่ขาทั้งสองข้าง

เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เราควรต้องทำความเข้าใจโครงสร้างภายในร่างกายกันก่อน โดยเส้นประสาทที่มักจะถูกกดทับมีชื่อว่า Sciatica Nerve ที่มีจุดเริ่มต้นออกมาจากบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างช่วงเอว พาดผ่านสะโพกด้านหลัง ต้นขาด้านหลัง น่อง ไปจนถึงเท้า เพราะฉะนั้นหากมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ผิดปกติและไปกดเบียดเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง หรือตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งผ่าน ก็อาจจะมีอาการปวดหลังร้าวลงขาไปตามแนวเส้นประสาทได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท มีดังต่อไปนี้

1.ชอบนั่งไขว้ห้าง หรือนั่งถ่ายน้ำหนักลงสะโพกข้างเดียว
2.นั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน
3.การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานาน
4.การออกกำลังกายที่หนักจกเกินไป เช่น การวิ่ง ,การเล่นกีฬา ฯลฯ

‘ปวดหลังร้าวลงขา’ รู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

รู้หรือไม่?

ในขณะที่เราอยู่ในอริยาบทต่างๆ ข้างต้น มีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่อยู่ลึกๆในก้นของเราต้องทำงานหนัก หดตัวซ้ำๆ จนเกิดการเกร็งตัวและบาดเจ็บขึ้นมา ซึ่งมักจะเกิดกับมัดกล้ามเนื้อที่เรียกว่า piriformis ซึ่งในมัดกล้ามเนื้อตัวนี้จะมีเส้นประสาทขนาดใหญ่ลอดผ่านกล้ามเนื้อมัดนี้ หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีความตึงตัวมากๆจะส่งผลให้เกิดแรงเบียดทับเส้นประสาทและเกิดอาการปวดขึ้นและจะทำให้มีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ปวดก้น
  • ปวดแก้มก้น
  • ปวดร่วมกับชาร้าวลงมาทางขา
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ บริเวณก้น

หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาทันทีไม่ควรปล่อยไว้นานเนื่องจากหากเป็นสะสมนานๆอาจมีอาการอ่อนแรงของขาร่วมด้วย เพราะตัวเส้นประสาทถูกบีบรัดจนไม่สามารถส่งกระแสประสาทไปสั่งงานกล้ามเนื้อได้จึงทำให้มีอาการอ่อนแรงของขาตามมาในส่วนของการรักษาการรักษาเบื้องต้น

ทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาลดอักเสบ จะได้ผลดีในช่วงแรกหากเริ่มมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อไม่มาก สามารถทานยาเพื่อลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อได้

‘ปวดหลังร้าวลงขา’ รู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

ทำไมบางคนทานยามานาน แต่อาการปวดก็ไม่ดีขึ้น

เพราะฤทธิ์ของยาจะช่วยบรรเทาอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้นหากแต่กล้ามเนื้อ piriformis ที่มีปัญหายังคงมีความตึงตัวบีบรัดเส้นประสาทอยู่ อย่างต่อเนื่องอาการปวดร้าวนี้จะยังไม่หายไป การรักษาทางกายภาพบำบัดกับเราจึงเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ

และที่ทางรีแฮปแคร์คลินิกของเรานั้นได้เลือกใช้เครื่องมือกายภาพนำเข้าจากยุโรปด้วยเทคโนโลยีลดปวดล่าสุด เพื่อแก้ปัญหาอาการปวดที่เกิดขึ้นโดยมีการใช้เครื่องมือต่างๆดังต่อไปนี้

  • เครื่องช๊อกเวฟแบบโฟกัสทั้งพลังงานคลื่นกระแทกแบบดอทและแบบเส้นตรง ลงบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว
  • เครื่องอัลตราซาวน์ความร้อนลึกลดปวด
  • เครื่องเลเซอร์พลังงานสูงเพื่อเติมพลังงานให้เซลล์และลดการอักเสบของเส้นประสาท
  • พร้อมการจัดโปรแกรมออกกำลังกายและปรับโครงสร้างร่างกายเพื่อให้หายอย่างถาวรไม่กลับมาบาดเจ็บซ้ำ

‘ปวดหลังร้าวลงขา’ รู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

ปวดหลังร้าวลงขา

จะเป็นอาการปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงมาบริเวณสะโพก และร้าวลงมาปวดขาข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยลักษณะจะเป็นการปวดอยู่ข้างใน ไม่มีจุดที่กดเจ็บชัดเจน อาจมีอาการปวดจนขาชา และปวดจนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ในระยะแรก อาการมักจะสัมพันธ์กับท่าทาง การใช้งาน เช่น ปวดเฉพาะเมื่อนั่งนาน ยืนนาน ขับรถนาน พอได้นอนพักอาการก็จะดีขึ้น เมื่อมีการกดทับมากขึ้น อาการปวดอาจเพิ่มมากขึ้นจนปวดตลอดเวลา ปวดหลัง ปวดขามากและไม่สามารถเหยียดขาให้ตรงได้

สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา

  • กล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้รับการบาดเจ็บจากการใช้งานในท่าทางซ้ำๆ หลายครั้ง หรือ อุบัติเหตุ จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดตึงร้าวลงไปที่สะโพก และปวดขาได้ แต่มักไม่มีอาการปวดขาจนขาชา หรือปวดขาจนขาอ่อนแรงร่วมด้วย
  • หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น ทำให้เกิดปัญหาการกดของเส้นประสาทที่ออกมาบริเวณรูกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกส่วนนี้ไปกดทับเส้นประสาทก็จะมีอาการปวดแปล๊บร้าวลงไปที่ปลายขา โดยอาจร้าวจากหลังหรือเอวลงมาปวดขาร่วมด้วย มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด โรคนี้พบมากในวัยทำงาน
  • กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ

ปวดแบบไหนอันตราย ควรมาพบแพทย์โดยด่วน

เมื่อเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา มีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าอาการปวดของคุณอาจอันตรายมากกว่าที่คิด และหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยให้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน เช่น ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา

สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

ด้านการรักษามีตั้งแต่ การรับประทานยา ฉีดยาและกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันอาการปวดหลังร้าวลงขาสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย จากกล้องเอ็นโดสโคปที่ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลงกว่าเดิม ผู้ป่วยจึงเสียเลือดน้อย และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดลงและฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม

 

 

logoline