svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

"ปอดอักเสบในเด็ก" โรคไม่เด็ก "ภัยเงียบ" ที่เสี่ยงถึงชีวิต

12 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมโรคติดเชื้อฯ เผยรายงาน พบเด็กไทยป่วยเป็นโรคปอดอักเสบกว่า 1 แสนคนต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1

โรคปอดอักเสบในเด็ก หรือ ปวดบวม อีกหนึ่งโรคที่มาพร้อมกับ ฤดูฝน และ ฤดูหนาว เป็นโรคที่อันตรายทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อปอด รวมทั้งเนื้อเยื้อรอบถุงลมและถุงลม ส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินหายใจลดลง เกิดความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลม ในเด็กบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้

 

“โรคปอดอักเสบ” เป็นโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ การตายอันดับหนึ่งในเด็ก อัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ เด็กอายุ 0-4 ปี กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศเตือนให้เฝ้าระวัง “โรคปอดอักเสบ” เป็นพิเศษในช่วงอากาศหนาวเย็นซึ่งโรคปอดอักเสบในเด็กเป็น 1 ใน 6 โรคที่พบจำนวนมาก

 

โดยพบประมาณร้อยละ 2 ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยพบความชุกประมาณ ร้อยละ 45-50 ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มา ด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และร้อยละ 7-13 มีอาการปอดอักเสบรุนแรง จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุการตายอันกับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เช่นเดียวกัน

เฝ้าระวัง"โรคปอดอักเสบ" ในเด็ก

วันที่ 12 พฤศจิกายนของทุกปี องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นวัน "โรคปอดบวมโลก" เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญและช่วยกันรณรงค์ลดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้โดยมากเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้สูงอายุ 50 ปี ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงที่สุดในโลกเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงเฉียบพลัน

สำหรับสถานการณ์ระดับโลกแต่ละปีมีคนป่วยปอดอักเสบประมาณ 400 ล้านคนต่อปี และเสียชีวิตปีละ 2.5 ล้านคน ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งอายุต่ำกว่า 15 ปี อีกครึ่งเกิน 15 ปี

"ปอดอักเสบในเด็ก" โรคไม่เด็ก "ภัยเงียบ" ที่เสี่ยงถึงชีวิต

เช็กสาเหตุโรคปอดอักเสบในเด็ก

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ  นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม หรือ นิวโมเนีย  เป็นภาวะที่มีการอักเสบในบริการเนื้อปอด บริเวณหลอดลมฝอยส่วนปลาย ถุงลมและเนื้อเยื่อรอบๆ ถุงลม อันเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียร่วมกัน


สำหรับสาเหตุของโรคปอดอักเสบในเด็ก เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ

1.ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การแพ้หรือการระคายเคืองจากสารที่สูดดมเข้าไป การสำลักอาหาร เป็นต้น

2.ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่วนเชื้อราและพยาธิพบได้น้อยเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae), Gr.A Streptococcus, เชื้อฮิบ (Haemophilus influenzae type B) หรือเชื้อไมโครพลาสม่า (Mycoplasma pneumoniae) ส่วนเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะ ได้แก่ RSV, ไข้หวัดใหญ่ และ hmpv เป็นต้น

เด็กกลุ่มใดเสี่ยงปอดอักเสบ?

เด็กที่เสี่ยงโรคปอดอักเสบ ได้แก่

  • ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย
  • เด็กตั้งแต่แรกคลอด - 5 ปี
  • เด็กมีความพิการทางสมอง มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • เด็กไม่ได้กินนมแม่ ไม่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด
  • มีภาวะทุพโภชนาการ
  • เด็กที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง


"โรคปอดอักเสบในเด็ก" สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น หายใจเอาเชื้อเข้าปอดจากคนที่ไอ หรือจามใกล้กันแล้วไม่ได้ปิดปาก โดยฉพาะเมื่ออยู่ในที่แออัด โดยการสำลักเอาสารเคมีหรือเศษอาหารเข้าไปในปอด หรือแม้กระทั่งโดยการแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด จากที่มีการติดเชื้อที่บริเวณอื่นก่อนแล้วแพร่กระจายมาสู่ปอด เป็นต้น

"ปอดอักเสบในเด็ก" โรคไม่เด็ก "ภัยเงียบ" ที่เสี่ยงถึงชีวิต

สังเกตอาการ "โรคปอดอักเสบ"

เมื่อเป็นโรคปอดอักเสบอาการจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค อาการส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นทันที ได้แก่

  • มีไข้ ไอมีเสมหะ อาจพบหายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก มีปีกจมูกบาน ขณะหายใจมีชายโครง หรือหน้าอกบุ๋ม ปากเขียว หายใจดัง
  • บางรายอาจมีอาการร้องกวน งอแงกว่าปกติ กระสับกระส่าย
  • ในเด็กเล็กอาการส่วนใหญ่จะไม่มีลักษณะเฉพาะ อาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้ ไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ อาจมีอาการซึม หรืออาเจียน ร้องกวนกว่าปกติ
  • ในเด็กโตอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออกลึก ๆ ร่วมด้วย
  • โรคปอดบวมมักมีอาการเกิดขึ้นแบบฉับพลัน อาการแสดง จะขึ้นกับอายุและเชื้อที่ได้รับเป็นสำคัญ 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคปอดอักเสบ

ปัจจัยภายใน

  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากภาวะทุพโภชนาการ หริอขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในทารกที่ไม่ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ
  • ภาวะเจ็บป่วยทีมีอยู่ก่อน เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังอื่นๆ ติดเชื้อ HIV ภาวะคลอดก่อนกำหนด

ปัจจัยภายนอก

  • ชุมชนแออัด
  • มีฝุ่นละอองในอากาศ
  • ควันบุหรี่
  • ควันไฟ
  • การดูแลสุขอนามัยแก่เด็ก
  • กิจกรรมที่เด็กทำ

การวินิจฉัยโรคเป็นอย่างไร?

เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การเอ็กซเรย์ปอด รวมทั้งอาจจะใช้วิธีการการตรวจหาเชื้อก่อโรค ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเชื้อจากเสมหะ การตรวจแอนติเจนเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อในเสมหะหรือโพรงจมูก ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดีของร่างกายต่อเชื้อ

"ปอดอักเสบในเด็ก" โรคไม่เด็ก "ภัยเงียบ" ที่เสี่ยงถึงชีวิต

แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบ


แนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค โดยแบ่งการรักษาเป็น 2 ส่วนคือ

การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง
ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ในรายที่เป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้น ไข้หวัดใหญ่ที่มียาต้านเชื้อไวรัส ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ จะให้การรักษาตามอาการ

การรักษาแบบประคับประคอง

  • แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในรายที่มีอาการรุนแรง มีภาวะขาดน้ำ แพทย์พิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือด
  • ให้ออกซิเจนในรายที่มีหายใจเหนื่อย เขียว อกบุ๋ม การซับกระซ่าย ซึม หากกรณีที่มีระบบการหายใจล้มเหลวอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
  • ให้ยาขยายหลอดลม ในรายที่มีภาวะหลอดลมตีบ
  • การกายภาพบำบัดปอดเพื่อให้ขับเสมหะได้สะดวกและไม่อุดตั
  • รักษาภาวะอื่นๆ ตามอาการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ

 

แนะวิธีเลี้ยงลูกให้ห่างไกล “ปอดอักเสบ”

  • ควรดูแลสุขภาพลูกน้อยให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • ให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • อย่าลืมปลูกฝังสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด แยกของใช้กับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการรับเชื้อ หรือการอยู่ในสถานที่แออัด
  • คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กๆ ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ป้องกันเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ อาทิ วัคซีนป้องการเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Influenza Type B (Hib vaccine), วัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae (Invasive Pneumococcal Disease vaccine; IPD vaccine), โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza  vaccine)

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงนำเด็กเข้าไปในบริเสณสถานที่ที่คนแออัด
  • จัดสิ่งแวลด้อมให้สะอาดอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงฝุ่นและควัน เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ อยู่ใกล้ชิดกับผู้กำลังมีอาการหวัด หรือไอ
  • ให้โภชนาการที่เพียงพอแก่เด็ก โดยเริ่มจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
  • แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป
  • วัคซีน PCV ป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอสคัส (และยังป้องกันโรคIPD ด้วย)
  • วัคซีนไอกรน และฮิบ
  • วัคซีนหัด
  • วัคซีนโควิด-19


อีกหนึ่งบทความที่น่าอ่าน โดยทางด้านพญ. ธิดารัตน์ แก้วเงิน กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนครธน ได้เขียนบทความเรื่องนี้ ระบุว่า 

..
สาเหตุของโรคปอดอักเสบในเด็ก
โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ

  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การแพ้หรือการระคายเคืองจากสารที่สูดดมเข้าไป การสำลักอาหาร เป็นต้น
  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่วนเชื้อราและพยาธิพบได้น้อยเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae), Gr.A Streptococcus, เชื้อฮิบ (Haemophilus influenzae type B) หรือเชื้อไมโครพลาสม่า (Mycoplasma pneumoniae) ส่วนเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะ ได้แก่ RSV, ไข้หวัดใหญ่ และ hmpv เป็นต้น

เด็กกลุ่มใดเสี่ยงปอดอักเสบ?
เด็กที่เสี่ยงโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กตั้งแต่แรกคลอด - 5 ปี เด็กมีความพิการทางสมอง มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กไม่ได้กินนมแม่ ไม่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด มีภาวะทุพโภชนาการ เด็กที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง

ซึ่งโรคปอดอักเสบในเด็ก สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น หายใจเอาเชื้อเข้าปอดจากคนที่ไอ หรือจามใกล้กันแล้วไม่ได้ปิดปากโดยฉพาะเมื่ออยู่ในที่แออัด โดยการสำลักเอาสารเคมีหรือเศษอาหารเข้าไปในปอด หรือแม้กระทั่งโดยการแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด จากที่มีการติดเชื้อที่บริเวณอื่นก่อนแล้วแพร่กระจายมาสู่ปอด เป็นต้น

"ปอดอักเสบในเด็ก" โรคไม่เด็ก "ภัยเงียบ" ที่เสี่ยงถึงชีวิต
อาการปอดอักเสบ
เมื่อเป็นโรคปอดอักเสบอาการจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค อาการส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นทันที ได้แก่

  • มีไข้ ไอมีเสมหะ อาจพบหายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก มีปีกจมูกบาน ขณะหายใจมีชายโครง หรือหน้าอกบุ๋ม ปากเขียว หายใจดัง
  • บางรายอาจมีอาการร้องกวน งอแงกว่าปกติ กระสับกระส่าย
  • ในเด็กเล็กอาการส่วนใหญ่จะไม่มีลักษณะเฉพาะ อาจมีไข้ หรือไม่มีไข้ก็ได้ ไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ อาจมีอาการซึม หรืออาเจียน ร้องกวนกว่าปกติ
  • ในเด็กโตอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออกลึก ๆ ร่วมด้วย

การตรวจและวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดงข้างต้น หากแพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติของเสียงปอด ซึ่งอาจพิจารณาส่งตรวจรังสีวินิจฉัยเพื่อดูรอยโรคและความรุนแรงของโรค รวมถึงการตรวจเลือด และตรวจป้ายจมูก (nasal swab) เพื่อหาเชื้อสาเหตุร่วมด้วย เช่น ไวรัส


การรักษาปอดอักเสบ
วิธีการดูแลรักษาโรคปอดอักเสบ หรือปอดบวมในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

การรักษาแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส และเชื้ออื่นๆ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะในกรณีที่เสมหะเหนียว อาจมีการให้ยาพ่นขยายหลอดลมในกรณีที่ได้ยินเสียงหลอดลมตีบจากภาวะหลอดลมหดเกร็ง หรือในกรณีที่มีภาวะหายใจลำบากหรือรุนแรง อาจพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจผ่านทางหน้ากากหรือพิจารณาใส่ท่อหลอดลม และทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อช่วยระบายเสมหะให้ถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น เป็นต้น
การรักษาแบบเฉพาะ โดยการให้ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสมต่อเชื้อโรคต้นเหตุของโรคปอดอักเสบปอดบวมนั้นๆ หรือ ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

ป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กได้อย่างไร?
ป้องกันโรคดังกล่าวได้ โดย การหลีกเลี่ยงพาเด็กไปในสถานที่ซึ่งมีคนแออัดหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ หรืออากาศที่หนาวเย็นเกินไป หมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อยๆ

ที่สำคัญ คือ เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) ไอกรน รวมถึงวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มนิวโมคอคคัสหรือฮิบ วัคซีนชนิดนี้จะป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวและช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น เด็กที่ไม่มีม้าม มีโรคไตชนิดเนโฟรติก หรือมีโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น ไตวาย โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

โรคปอดอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อย และในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้ หากสงสัยว่าบุตรหลานเริ่มมีอาการของโรคปอดอักเสบติดเชื้อก็ควรพามาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

รองศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ทวี  โชติพิทยสุนนท์  ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ  เปิดเผยว่า รายงานล่าสุด สถานการณ์โรคปอดอักเสบในเด็ก จากการศึกษาทั่วโลกผู้เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี  เมื่อป่วยแล้วอาการจะรุนแรงและเสียชีวิตได้  เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ รวมถึงเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วม 

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคปอดอักเสบนั้น มาจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งจากไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ "เชื้อนิวโมคอกคัส" ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณลำคอ เมื่อร่างกายอ่อนแอ เป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่  ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา  ก็จะทำให้เชื้อที่เกาะอยู่บริเวณลำคอลงไปที่ปอดได้ง่าย

ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดโรคอีกปัจจัยหนึ่ง คือปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่นละอองหรือมลพิษทางอากาศต่างๆ โดยกลุ่มที่ร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันไม่ดีอาจจะเสี่ยงในการกับเชื้อและทำให้เกิดปอดอักเสบได้  หรือในครอบครัวที่มีการสูบบุหรี่ควันจากบุหรี่ที่ได้มีการสูดดมเข้าไปอาจทำให้ไปกระทบต่อการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและทำให้เกิดปอดอักเสบได้ง่ายขึ้น

ขณะที่ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา  โชคไพบูลย์กิจ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย  ระบุว่า

โรคปอดอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในเด็ก อัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อ โดยไทยพบเด็กป่วยจากภาวะปอดอักเสบปีละกว่าแสนราย

ในช่วงอากาศหนาวเย็น เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากประมาณร้อยละ 2 ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีจะป่วยได้ง่าย  โดยพบความชุกของโรคประมาณร้อยละ 45- ร้อยละ50 ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มาด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง  และ ร้อยละ7-ร้อยละ13 มีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต

สำหรับการป้องกันหลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในสถานที่แออัดจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอหลีกเลี่ยงฝุ่นและควันให้โภชนาการที่เพียงพอแก่เด็กแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็ก วัคซีน pcv ป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อ นิวโมคอคคัส วัคซีนไอกรน วัคซีนโรคหัดและวัคซีนโควิด-19


ปอดอักเสบทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนทำงานได้ไม่ดี ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจอึดอัด หายใจลำบาก มีระดับความรุนแรงตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็กและรักษาตามขั้นตอน จะช่วยบรรเทาอาการให้หายได้ในเร็ววัน

รู้จักปอดอักเสบ
โรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวมเป็นการอักเสบของเนื้อปอดและหลอดลม โดยเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุหลักคือ

1) การติดเชื้อ ได้แก่

เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อนิวโมค็อกคัส (Pneumococcus)
เชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสซาร์ส (SARS Virus)
อื่น ๆ ได้แก่ เชื้อรา พยาธิ ฯลฯ

2) การไม่ติดเชื้อ ได้แก่

สำลักเศษอาหารเข้าไปในปอด
หายใจเอาควัน ฝุ่น เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก

3) การแพ้ภูมิตัวเอง ภูมิต้านทานต่ำ ได้แก่

ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี (SLE)
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแฝด เด็กขาดสารอาหาร
ผู้สูงอายุ 
ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง
ผู้ป่วยเอดส์
ผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ที่กินยาสเตียรอยด์นาน ๆ 
ฯลฯ
ในบางกรณีอาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใส ไอกรน เป็นต้น

อาการต้องสังเกต
อาการปอดอักเสบสามารถสังเกตได้ดังนี้

  • ไอ
  • มีเสมหะ
  • มีไข้สูง อาจตัวร้อนตลอดเวลา หนาวสั่นมาก
  • หายใจลำบาก หายใจหอบเร็ว
  • อาจเจ็บแปล๊บหน้าอกเวลาหายใจเข้า 
  • อาจไอแรงร้าวไปที่หัวไหล่หรือสีข้าง

"ปอดอักเสบในเด็ก" โรคไม่เด็ก "ภัยเงียบ" ที่เสี่ยงถึงชีวิต

ตรวจวินิจฉัยปอดอักเสบ
การตรวจวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยจะใช้เครื่องตรวจฟังเสียงปอด หลังจากนั้นหากต้องทำการตรวจพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเอกซเรย์ปอด ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ ตรวจเสมหะ RP33 (Respiratory Pathogen Panel 33) เป็นต้น ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

การรักษาปอดอักเสบ
การรักษาโรคปอดอักเสบแพทย์จะทำการพิจารณารักษาตามอาการและสาเหตุเป็นหลัก หากเป็นปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ แพทย์จะให้รับประทานยาฆ่าเชื้อตามชนิดของเชื้อที่พบและนัดติดตามอาการเป็นระยะ หากอาการไม่ดีขึ้นจำเป็นจะต้องตรวจหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ 

นอกจากนี้ หากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เหนื่อยหอบรุนแรง เจ็บหน้าอก และรับประทานอาหารลำบากอาจต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ

 

ป้องกันปอดอักเสบ
การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอช่วยให้ห่างไกลจากโรคปอดอักเสบ นอกจากนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบคืออีกหนึ่งทางเลือกของการป้องกัน แต่จำเป็นจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 

ปอดอักเสบเป็นโรคที่ไม่ควรละเลย เพราะการตรวจพบในระยะแรกเริ่มของโรคและทำการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น แต่ยังทำให้หายขาดได้โดยเร็ว 

 

วิธีการป้องกันโรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็ก

  • หมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย
  • ฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
  • หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  • ดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดในบ้านอยู่เสมอ


โปรแกรมวัคซีนไอพีดี (IPD)

สร้างภูมิคุ้มกันให้เจ้าตัวน้อย ป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคปอดอักเสบชนิดรุนแรง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยการฉีดวัคซีนไอพีดี ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ดื้อยาได้ดี

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : ศ. เกียรติคุณ นพ. สว่าง แสงหิรัญวัฒนา
ขอขอบคุณ บทความโดย : พญ. ธิดารัตน์ แก้วเงิน

ข้อมูลอ้างอิง: โรงพยาบาลพญาไท

ข้อมูลอ้างอิงจากโรงพยาบาลพญาไท:โรคปอดอักเสบ 

logoline