เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
27 มกราคม 2566 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมแถลงผลวิจัยแปรรูป "กะหล่ำปลี" และ "โหระพา" เป็นอาหารเสริม ลดความเสี่ยงไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจ และโรคอ้วน
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นันทิพ ลิ้มเพียรชอบ กล่าวว่า ในปัจจุบัน ภาวะคอเลสเตอรอลสูง นับว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด คอเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมน และเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อบุเซลล์คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากตับ บางส่วนพบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน
“กะหล่ำปลีผง” ผลิตด้วยกรรมวิธี Freeze-dry โดย ผง ที่ได้จะมีลักษณะฟูละเอียด สีเขียวอ่อน มีกลิ่นอ่อนความคงตัวทางกายภาพดีหากเก็บที่อุณหภูมิที่เหมาะสม และแสดงฤทธิ์ในการจับกับกรดน้ำดี เนื่องจาก กรดน้ำดีมีความสัมพันธ์ กับระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
โดยการจับกรดน้ำดีในทางเดินอาหาร จะส่งผลให้มีการขับกรดน้ำดีทิ้ง ออกทางอุจจาระ และส่งผลต่อเนื่องให้ดับ คอเลสเตอรอล ไปใช้สร้างกรดน้ำดีเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลทำให้ระดับของ คอเลสเตอรอล ในเลือดลดลงได้ ถือว่า มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าว ได้จดอนุสิทธิบัตร เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งจะวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์ ให้มีการพัฒนาต่อไป
ชมคลิป >> ผลวิจัยแปรรูปกะหล่ำปลีและโหระพา ลดความเสี่ยงไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคอ้วน
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วรี ติยะบุญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กะหล่ำปลีผง สามารถเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบต่างๆ เช่น กะหล่ำปลีผงละลายน้ำดื่ม ซึ่งเป็นรูปแบบที่รับประทานง่าย มีรสชาติหวานกลมกล่อม มีกลิ่นอ่อนของกะหล่ำปลี
ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังคว้ารางวัล "เหรียญทองแดง" Bronze Prize จากงาน Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ทีมวิจัย ยังได้แปรรูป "โหระพา" เป็นอาหารเสริมชนิดเม็ด ด้วยเทคนิคแกรนูลแบบเปียก (Wet granulation) เนื่องจาก โบโหระพา มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ไลเปส จากตับอ่อน ซึ่ง เอนไซม์ นี้มีบทบาทในการช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน การที่ เอนไซม์ ทำงานได้ลดลงจะส่งผลให้การย่อยไขมันลดลง จึงส่งผลลดการดูดซึมไขมัน ทั้ง ไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอล เข้าสู่กระแสเลือดที่เป็นต้นเหตุหนึ่งของภาวะโรคอ้วนและไขมันในเลือดสูงได้
มหาวิทยาลัยนเรศวร กำหนดกลยุทธ์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อก้าวสู่ “การวิจัยระดับแนวหน้าของโลก” มุ่งตามวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ และพร้อมต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์