svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

แพทย์แจงเหตุผลไทยยก"ฝีดาษลิง"โรคติดต่อเฝ้าระวัง พร้อมชี้อันตรายแค่ไหน

ไทยและอังกฤษเตรียมพร้อม ต่างประกาศให้ฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ขณะหมอเฉลิมชัย เปิดเผยเหตุผลความจำเป็นในการประกาศในครั้งนี้ พร้อมเผย"ฝีดาษลิง"อันตรายมากแค่ไหน

8 มิถุนายน 2565 น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ หรือ หมอเฉลิมชัย รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ Blockdit “ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย” ระบุถึงการประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังนั้นมีความจำเป็นอย่างไร และความอันตรายของโรคฝีดาษลิงมีมากน้อยแค่ไหน มีรายละเอียดดังนี้

 

หลังจากที่มีการระบาดของ ฝีดาษลิง นอกเขตทวีปแอฟริกา ซึ่งเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นมานั้น ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อไปแล้ว 43 ประเทศ จำนวน 990 ราย โดยพบในทวีปยุโรป 88% พบในทวีปอเมริกาเหนือ 10%

 

ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อ ฝีดาษลิง ไปแล้ว 43 ประเทศ จำนวน 990 ราย โดยพบในทวีปยุโรป 88% พบในทวีปอเมริกาเหนือ 10% ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจสำหรับการระบาดในครั้งนี้คือ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่ติดกันเองภายในแต่ละประเทศ โดยไม่มีประวัติการเดินทางไปแอฟริกาเหมือนการติดเชื้อในอดีต 

 

แพทย์แจงเหตุผลไทยยก\"ฝีดาษลิง\"โรคติดต่อเฝ้าระวัง พร้อมชี้อันตรายแค่ไหน

 

ตลอดจนพบว่า 98% ของผู้ติดเชื้อเป็นผู้ชาย และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่พบในกลุ่ม MSM : Men who have sex with men ทำให้วงการแพทย์ทั่วโลก โดยเฉพาะ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ต้องเรียกประชุมด่วน กำหนดให้มีการศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องฝีดาษลิงโดยเร่งด่วน เพราะมีลักษณะของการแพร่เชื้อที่แตกต่างไปจากเดิมมาก ออกมาระบาดนอกเขตทวีปแอฟริกาซึ่งถือว่าเป็นเขตโรคประจำถิ่นเดิม และมีสัดส่วนของผู้ติดเชื้อในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงอย่างชัดเจน

 

แพทย์แจงเหตุผลไทยยก\"ฝีดาษลิง\"โรคติดต่อเฝ้าระวัง พร้อมชี้อันตรายแค่ไหน

เมื่อวานนี้ (7 มิ.ย. 2565) ทางการอังกฤษ ได้ประกาศให้ ฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องรายงานทุกเคสแล้ว (Notifiable Disease) ส่งผลให้แพทย์และผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ต่างๆ จะต้องรายงานผู้ติดเชื้อทุกราย อยู่ในระดับเดียวกับการพบวัณโรค หรือ โรคหัดในประเทศอังกฤษ เนื่องจากขณะนี้ อังกฤษมีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากถึง 300 รายเศษ

 

สำหรับ ประเทศไทย เราเอง คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการวิชาการ ก็มีมติที่จะออกประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ให้โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยที่พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ได้แบ่งโรคติดต่อออกเป็น

 

  1. โรคติดต่ออันตรายคือ โรคที่มีความรุนแรงสูง แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ(Smallpox) ไข้เหลือง SARS MERS เป็นต้น
  2. โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เป็นโรคที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้น โดยโรคฝีดาษลิงที่ประกาศนี้ จะเป็นลำดับที่ 56

 

แพทย์แจงเหตุผลไทยยก\"ฝีดาษลิง\"โรคติดต่อเฝ้าระวัง พร้อมชี้อันตรายแค่ไหน

โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ที่ทางการไทยประกาศไว้ก่อนแล้ว อาทิเช่น โรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรo บาดทะยัก โรคพิษสุนัขบ้าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์ ซิฟิลิส หนองใน) โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก อหิวาตกโรค โรคมือเท้าปาก โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก เป็นต้น

 

ขณะนี้ (8 มิ.ย. 2565) ประเทศไทย ยังไม่พบเคส ฝีดาษลิง แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะมีฝีดาษลิงในประเทศไทยได้ เพราะขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อไปแล้วมากถึง 43 ประเทศ และประเทศไทยเริ่มเปิดประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่อนคลายลง 

 

แพทย์แจงเหตุผลไทยยก\"ฝีดาษลิง\"โรคติดต่อเฝ้าระวัง พร้อมชี้อันตรายแค่ไหน

 

แม้จะได้มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจเรื่องฝีดาษลิง และทำการคัดกรองนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจากกลุ่มเสี่ยง แต่เนื่องจากฝีดาษลิง เป็นโรคที่มีอาการอยู่ที่ผิวหนัง และบางส่วนอาจอยู่ใต้ร่มผ้า จึงเป็นการยากที่จะตรวจคัดกรองได้ทุกราย

 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งเรื่ององค์ความรู้ และการวางระบบสาธารณสุขเพื่อรองรับการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

 

“ การติดต่อของโรคฝีดาษลิง มักจะติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ ไม่ได้ติดต่อทางฝอยละอองขนาดเล็ก (Aerosal) เหมือนกับโควิด-19 จึงทำให้การติดต่อหรือการระบาดเป็นไปได้ไม่กว้างขวางและรวดเร็วนัก และประการสุดท้าย ฝีดาษลิงสายพันธุ์ที่ระบาดในขณะนี้ (West African Clade) เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อย มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ โดยที่ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิงเลย ” หมอเฉลิมชัย กล่าวในตอนท้าย

แพทย์แจงเหตุผลไทยยก\"ฝีดาษลิง\"โรคติดต่อเฝ้าระวัง พร้อมชี้อันตรายแค่ไหน

 

Reference : 
https://www.who.int/emergencies/disease-outbreak-news/item/2022-DON390
https://www.bbc.com/news/health-61723964
https://www.independent.co.uk/news/health/monkeypox-cases-uk-latest-vaccine-b2095811.html
https://www.aa.com.tr/en/europe/monkeypox-to-be-listed-as-notifiable-disease-in-uk/2607973
พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. 2558