7 มิถุนายน 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ “หมอยง” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” เปรียบเทียบข้อมูลการระบาดของ ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง ระหว่าง แอฟริกา กับ ยุโรป มีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในหัวข้อ “ฝีดาษวานร ข้อแตกต่างของการระบาดในแอฟริกา และในยุโรป 2022” รายละเอียดดังนี้..
ฝีดาษวานรเป็นโรคประจำถิ่นในแอฟริกา การระบาดในแอฟริกาแตกต่างกับการระบาดนอกแอฟริกาหรือในยุโรป 2022 มีความแตกต่างกันดังนี้..
1. อายุผู้ป่วย
2. เพศ
3. การติดต่อ
4. รอยโรค
ปัจจุบันการระบาดในยุโรป 2022 มีรายงานสนับสนุนการติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น ดังในวารสารต่อไปนี้
ก่อนหน้านี้ 5 มิถุนายน 22565 หมอยง ได้โพสต์ข้อความข้อสงสัย “ฝีดาษวานร จะพบในประเทศไทยไหม” ซึ่งเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกัน ระบุว่า ..
ฝีดาษวานร ที่กำลังระบาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือนมีผู้ป่วยที่ยืนยันในประเทศต่างๆเกือบ 30 ประเทศแล้ว การแพร่กระจายครั้งนี้เป็นการแพร่กระจายนอกทวีปแอฟริกาที่มากที่สุด
ผู้ป่วยเกือบทั้งหมด เป็นเพศชาย (98%) เป็นเพศหญิง (แท้) น้อยมาก ซึ่งต่างจากการระบาดในแอฟริกาจะเป็นเพศชายประมาณ 2 ใน 3 เป็นเพศหญิงประมาณ 1 ใน 3
อายุที่ระบาดในครั้งนี้จะอยู่ระหว่าง 20 ถึง 50 ปี ซึ่งต่างจากในแอฟริกา พบทั้งเด็กและผู้ใหญ่
การระบาดในครั้งนี้มีการแพร่กระจายมาก จาก การเฉลิมฉลอง ที่มีการจัดขึ้นที่สเปน และเบลเยียม และสถานซาวน่า ในสเปน และโปรตุเกส ประเทศที่พบโรคนี้มากที่สุดคือประเทศสเปน รองลงมาคืออังกฤษและโปรตุเกส
รอยโรคที่พบ จะพบอยู่ในร่มผ้า หรือบริเวณที่ลับ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยในแอฟริกา
การเฉลิมฉลองเทศกาลมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด จึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการสัมผัสและติดต่อโรค
จากข้อมูลทั้งหมด ประเทศไทยจึงเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่อำนาจการกระจายของโรคยังต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับโควิด โอกาสที่จะระบาดใหญ่แบบโควิดจึงไม่มี จะระบาดอยู่จำเพาะกลุ่ม
สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ คนกับสัตว์เลี้ยง ถ้าคนนำเชื้อฝีดาษวานรไปให้สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงจะเป็นพาหะและนำไปสู่สัตว์ประจำถิ่นโดยเฉพาะ หนู กระต่าย กระรอก แล้วเมื่อนั้นจะเป็นโรคประจำถิ่น