รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” เปิดงานวิจัยอาการ Long COVID รวม 151 ผลงาน จาก 32 ประเทศ พบความน่ากังวลจากภาวะ Long COVID ที่พุ่งสูง เกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุ และส่งผลต่อระบบประสาท มีข้อความระบุว่า..
7 มิถุนายน 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 290,481 คน ตายเพิ่ม 669 คน รวมแล้วติดไป 535,721,823 คน เสียชีวิตรวม 6,321,168 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน บราซิล สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับ
แรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 63.75
ของทั้งโลก
ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 62.63 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.54 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 34.9
สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อที่รายงานของไทยนั้นไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ เพราะหลัง 1 มิ.ย. มีการประกาศปรับมารายงานเพียงจำนวนคนป่วย ไม่ใช่รายงานการติดเชื้อใหม่ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 11.53% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย (อย่างไรก็ตามหากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะพบว่าคิดเป็น 15.85%
บทเรียนเรื่องวัคซีนในปี 2564 และสิ่งที่ควรทำ
วัคซีนที่ได้รับการเรียกร้องจากบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในสังคมให้จัดหามาตั้งแต่ต้น และหามาตั้งแต่เนิ่นๆ คือ วัคซีน mRNA ที่มีหลักฐานวิชาการพิสูจน์ชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพดีเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ
ในเวลาเดียวกัน ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง? อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้และจดจำให้ดี
ณ ปัจจุบัน ด้วยข้อมูลทางการแพทย์ที่มีนั้น สิ่งที่ควรทำเพื่อแก้ไขสถานการณ์ และรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดประเทศซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดมากขึ้น โดยการตรวจคัดกรองโรคลดลงไปนั้น คือ การเร่งรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย mRNA vaccines
“ ส่วนวัคซีนชนิดอื่นนั้น ความจำเป็นต้องใช้ลดลง ควรสำรองไว้สำหรับคนที่ไม่สามารถรับวัคซีน mRNA ได้ ”
อัพเดต Long COVID
Zeng N และคณะ จากประเทศจีน ได้เผยแพร่ผลการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบจากงานวิจัย 151 ชิ้นจาก 32 ประเทศ รวมกลุ่มตัวอย่าง 1,285,407 คน และวิเคราะห์อภิมานอย่างละเอียด เกี่ยวกับการ เกิดภาวะ Long COVID เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล Molecular Psychiatry ในเครือ Nature วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
สาระสำคัญคือ
“ งานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ ในขณะเดียวกัน คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็จำเป็นต้องหมั่นดูแล คอยสังเกตสถานะสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติ ควรไปตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะ ภาวะ Long COVID นั้นเป็นได้หลากหลายระบบในร่างกาย รวมถึงปัญหาทางอารมณ์และจิตใจด้วย
หมอธีระ ย้ำว่า การใส่หน้ากากเป็นหัวใจสำคัญ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในสังคมที่ยังมีการระบาดสูงกว่าประเทศอื่นๆ
หลายประเทศทั่วโลก และมีความเสี่ยงจากกิจกรรม และสถานที่ต่างๆ ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน
อ้างอิง :
Zeng, N., Zhao, YM., Yan, W. et al. A systematic review and meta-analysis of long term physical
and mental sequelae of COVID-19 pandemic: call for research priority and action. Mol
Psychiatry. 6 June 2022.