- 01 ธ.ค. 2564
- 79
จากอดีต จวบจนปัจจุบัน สถานีหัวลำโพง เป็นศูนย์รวมการเดินทางของชาวบ้าน นักท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้า จวบจนปัจจุบัน รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีนโยบายงดให้บริการผู้โดยสารที่สถานีรถไฟหัวลำโพง หลังจากสถานีกลางบางซื่อ เปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564
ขบวนรถไฟทั้งสายเหนือ สายใต้ สายอีสาน ล้วนต้องมาสิ้นสุดการเดินรถที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยคำว่า “หัวลำโพง” สันนิษฐานว่าตั้งตามทุ่งที่มีฝูงวัววิ่ง เรียกว่า ทุ่งวัวลำพอง ออกเสียงเพี้ยนมาเป็น หัวลำโพง
ย้อนไปในอดีต ช่วงปี 2541 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ต้องการปรับปรุงภาพลักษณ์รถไฟไทยให้ตอบรับกับปีอะเมซิ่งไทยแลนด์ และรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สถานีรถไฟหัวลำโพง จึงได้รับการปรับปรุงแบบพลิกโฉม โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอนุรักษ์และพัฒนาอาคารให้อยู่ในสภาพเดิม เนื่องจากเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์
ต่อมาในสมัยของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความคิดที่จะก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ จึงคิดต่อยอดปรับปรุงหัวลำโพงให้เป็นสถานที่สำคัญ เช่น ห้องโถงอาคาร เดิมเป็นเพียงที่นั่งคอยของผู้โดยสาร ปรับปรุงให้เป็นพื้นที่กิจกรรมหมุนเวียนสำหรับจัดงานเปิดตัวสินค้า หรือแสดงคอนเสิร์ต เพื่อสร้างรายได้แบบ 24 ชม. โดยคิดว่าเมื่อไม่มีการใช้เป็นจุดร่วมด้านขนส่งแล้ว แต่ศักยภาพของหัวลำโพงสามารถนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางธุรกิจได้ โดยผู้นำเสนอโครงการ คือ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ซึ่งอยู่เบื้องหลังนโยบายรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
ปัจจุบัน รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีนโยบายงดให้บริการผู้โดยสารที่สถานีรถไฟหัวลำโพง หลังจากสถานีกลางบางซื่อ เปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย จะเปลี่ยนผ่านผู้โดยสารจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมายังสถานีกลางบางซื่อ ตั้งเป้าในปี 2566 จะไม่มีรถไฟทางไกล เข้าไปในสถานีหัวลำโพง เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ต้องเจอปัญหาจราจรติดขัดในเส้นทางตัดผ่าน เนื่องจากมีรถไฟวิ่งในบริเวณดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง แต่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ที่ผูกพันกับหัวลำโพง ทั้ง พ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซต์ที่ต้องสูญสิ้นอาชีพที่เป็นเส้นเลือดหล่อคนครอบครัวหลายชีวิต
รัฐให้เหตุผลด้านการพัฒนา แต่รัฐต้องไปปฏิเสธว่าต้องแลกมาด้วยคราบน้ำตา ของผู้คนในระแวกนั้น
ขณะเดียวกันการรถไฟฯ ก็มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วิ่งในอุโมงค์ ซึ่งรถไฟดีเซลรางก็สามารถวิ่งได้ด้วย ทำให้ปัญหาจุดตัดระหว่างทางรถไฟ กับถนนได้ ไม่ต้องยกเลิกรถไฟวิ่งเข้าหัวลำโพง ตรงกันข้าม การยกเลิกสถานีหัวลำโพงยิ่งเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนโดยเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่ค่าแรงรายวัน กลับเท่าเดิม